เทเลคอมอีตาเลีย
ประเภท | จดทะเบียน |
---|---|
การซื้อขาย | BIT: TIT NYSE: TI |
ISIN | IT0003497168 |
อุตสาหกรรม | โทรคมนาคม |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1925 ในชื่อสตีเปล ค.ศ. 1964 ในชื่อเอสไอพี ค.ศ. 1994 ในชื่อเทเลคอมอีตาเลีย ค.ศ. 2015 ในชื่อติม (เครื่องหมายการค้า) |
ผู้ก่อตั้ง | Istituto per la Ricostruzione Industriale |
สำนักงานใหญ่ | , |
บุคลากรหลัก | ลุยจี กูบีโตซี (ซีอีโอ), ซัลวาโตเร โรสซี (ประธาน)[1] |
ผลิตภัณฑ์ | โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงข่ายโทรคมนาคม โทรทัศน์ระบบดิจิทัล |
รายได้ | 17.97 พันล้านยูโร (2019)[2] |
รายได้สุทธิ | 1.22 พันล้านยูโร (2019)[2] |
สินทรัพย์ | 70.10 พันล้านยูโร (2019)[2] |
เจ้าของ | วีว็องดี (23.94%) Cassa Depositi e Prestiti (9.89%)[3] |
พนักงาน | 51,917 คน (2019)[2] |
บริษัทในเครือ | ติมบราซิล INWIT Olivetti Wind Hellas |
เว็บไซต์ | www |
ติม เอส.พี.เอ. (อิตาลี: TIM S.p.A.) หรือ เทเลคอมอีตาเลีย (อิตาลี: Telecom Italia) เป็นบริษัทโทรคมนาคมของอิตาลี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โรมและมิลาน ให้บริการโทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และข้อมูลดิจิทัล ติมเป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลีในแง่ของรายได้และผู้ใช้บริการ บริษัทก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1994 โดยเกิดจากการควบรวมของบริษัทรัฐวิสาหกิจย่อยหลายบริษัท บริษัทเดิมที่ใหญ่ที่สุดคือ โซชีเอตาอีตาเลียนาเปอร์เลเซอร์ซิซีโอเทเลโฟนีโก พี.เอ. (อิตาลี: Società Italiana per l'Esercizio Telefonico p.A.; SIP) ซึ่งเคยเป็นผู้ให้บริการที่รัฐผูกขาด[4]
หลักทรัพย์ของบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อิตาลี โดยใน ค.ศ. 2017 รัฐอิตาลีได้ใช้ "โกลเดนเพาเวอร์" ซึ่งอนุญาตในรัฐบาลเข้าใช้มาตรการกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองดอกเบี้ยภายในประเทศ[5]
เทเลคอมอีตาเลียมีเครื่องหมายการค้าชื่อว่า ติม ซึ่งเดิมก่อตั้งใน ค.ศ. 1995 ในฐานะบริษัทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต่อมาใน ค.ศ. 2015 ได้เปลี่นมาเป็นเครื่องหมายการค้าที่ให้บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ติมยังเป็นผู้สนับสนุนเซเรียอา[6] ติมมีสาขาย่อยในประเทศบราซิล ชื่อว่า ติมบราซิล ซึ่งมีผู้ใช้บริการ 72.6 ล้านคน[7] ส่วนผู้ใช้บริการติมทั่วโลกอยู่ที่ 114 ล้านคน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Salvatore Rossi - Presidente Telecom Italia | Gruppo TIM". Telecomitalia.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-22.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Annual report" (PDF). www.telecomitalia.com. 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
- ↑ "Telecom Italia's Shareholders". www.telecomitalia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-13. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
- ↑ "History of Telecom Italia Mobile S.p.A. – FundingUniverse". www.fundinguniverse.com.
- ↑ "Italy votes to exercise 'golden power' to protect Telecom Italia". Financial Times. 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 30 August 2018.
- ↑ "TIM and Serie A League: sponsorship agreement renewed until 2018". Telecom Italia Corporate.
- ↑ Scott Bicheno (January 14, 2016). "Telecom Italia formally unifies brands under TIM name". telecoms.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-28. สืบค้นเมื่อ January 24, 2018.
- ↑ "Breaking Barriers to Transform TIM's Brand and Business". Interbrand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ January 24, 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทเลคอมอีตาเลีย
- เว็บไซต์ทางการ