ข้ามไปเนื้อหา

เทือกเขาเกรตดิไวดิง

พิกัด: 25°S 147°E / 25°S 147°E / -25; 147
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกรตดิไวดิง
  • Great Dividing
  • Eastern Highlands
  • Great Divide
จุดสูงสุด
ยอดยอดเขาคอสซีอัสโก (Snowy Mountains)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,228 เมตร (7,310 ฟุต)
พิกัด36°27′S 148°16′E / 36.450°S 148.267°E / -36.450; 148.267
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว3,500 กม. (2,175 ไมล์) เหนือ–ใต้
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ประเทศ ออสเตรเลีย[1]
รัฐนิวเซาท์เวลส์, ควีนส์แลนด์ และ วิกทอเรีย
เขต/อำเภอออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
พิกัดเทือกเขา25°S 147°E / 25°S 147°E / -25; 147
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหินคาร์บอนิเฟอรัส

เทือกเขาเกรตดิไวดิง (อังกฤษ: Great Dividing Range) หรือ อีสเทิร์นไฮแลนส์ (อังกฤษ: Eastern Highlands) เป็นเทือกเขาที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย วางตัวตามแนวชายฝั่ง พาดตามรัฐควีนส์แลนด์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐวิกตอเรีย เป็นระยะทาง 3,700 กิโลเมตร (2,300 ไมล์) ถือว่าเป็นเทือกเขาที่มีความยาวเป็นอันดับสามของโลก มันเป็นแนวสันปันน้ำ มีแม่น้ำที่ไหลด้านตะวันออกจากที่ราบสูงกับมหาสมุทรแปซิฟิก มียอดเขาคอสซีอัสโก เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขานี้และประเทศออสเตรเลีย โดยมีความสูง 2,230 เมตร (7,316 ฟุต )[2] การสำรวจเทือกเขานี้ครั้งแรกนั้น สำรวจโดยชาวยุโรปที่ย้ายเข้าไปอยู่ในประเทศออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1813 โดยภูมิศาสตร์ของที่นี่เหมาะสำหรับการเกษตรกรรม และการทำเหมืองแร่ นอกจากนี้มันยังมีสถานที่ท่องเที่ยว เช่น อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์[3]

ประวัติ

[แก้]

การสำรวจครั้งแรก

[แก้]

การสำรวจเทือกเขาเกรตดิไวดิงครั้งแรกเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1813 โดยชาวยุโรปชื่อ Gregory Blaxland, William Charles Wentworth และ William Lawson. T การสำรวจในครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการอพยพชาวยุโรปจากชายฝั่งตะวันออกเข้าไปภายในของประเทศออสเตรเลียหรือในชนบท ที่ก่อนหน้านี้จะถูกกั้นโดยที่ราบสูงของเทือเขานี้[4]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ในช่วงฤดูหนาวบางภูเขาและยอดเขาในเทือกเขาเกรตดิไวดิงอาจมีหิมะตกและมีอุณหภูมิที่หนาวเย็น

ภูมิอากาศของเทือกเขาเกรตดิไวดิงมีลักษณะที่แตกต่างกันตามตำแหน่งที่ตั้ง แถบชายฝั่ง ไหล่เขาด้านตะวันตก และแนวเขาทางทิศตะวันตกแถบชายฝั่งจะมีภูมิอากาศอบอุ่น พื้นที่แถบภูเขาจะหนาวเย็น และหิมะตกในช่วงฤดูหนาว และแนวเขาทางทิศตะวันตกมีปริมาณหิมะน้อยลงกว่าพื้นที่แถบภูเขา นอกจากนี้เทือกเขานี้ยังมีผลกระทบต่อภูมิอากาศของประเทศออสเตรเลีย เพราะมันสามารถกั้นทิศทางและความชื้นจากทะเลมายังประเทศออสเตรเลียได้ ทำให้ทางตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศออสเตรเลียมีอากาศแห้งแล้งและเป็นพื้นที่เงาฝน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Australia.gov. "Australian Rocks and Mountains". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2012.
  2. Mountain Professor. "The Great Dividing Range". สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Merriam Webster. "Great Dividing Range". สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ENCYCLOPÆDIA BRITANNICA. "Great Dividing Range". สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Ask. "What Is the Climate of the Great Dividing Range?". สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]