ข้ามไปเนื้อหา

เทียนจู๋

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทียนจู๋
ชื่อภาษาจีน
ภาษาจีน天竺
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
천축[1]
ฮันจา
天竺
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ天竺
ฮิรางานะてんじく
การถอดเสียง
โรมาจิtenjiku
แผนที่ประวัติศาสตร์ที่อิงตามคำอธิบายใน บันทึกภูมิภาคตะวันตกแห่งต้าถัง โดยเสวียนจั้ง (รวมอยู่ในหนังสือ "The Ancient Geography of India" (1871) ของ อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม) C, N, E, S และ W ในแผนภาพแสดงพื้นที่โดยประมาณของอินเดียตอนกลาง อินเดียตอนเหนือ อินเดียตะวันออก อินเดียตอนใต้ และอินเดียตะวันตก โดยเส้นสีแดงระบุเส้นทางการเดินทางของเสวียนจั้ง

เทียนจู๋ หรือ เท็นจิกุ (จีน: 天竺; พินอิน: tiānzhú, ญี่ปุ่น: てんじくโรมาจิtenjiku) เป็นชื่อเรียกเก่าของอินเดีย ที่ใช้ในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เช่น จีน และ ญี่ปุ่น[1][2] อย่างไรก็ตาม คำนี้ที่ใช้ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นอาจไม่ได้หมายความถึงอินเดียหรือพื้นที่โดยรอบเสมอไป แต่บางครั้งใช้เรียกพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลกว่าจีนอย่างคลุมเครือ และบางครั้งก็หมายถึงโลกในตำนานหรือในจินตนาการอีกด้วย

ความเป็นมา

[แก้]

ชาวจีนเริ่มได้รับความรู้เกี่ยวกับอินเดียผ่านบันทึกการสำรวจเอเชียกลางของ จาง เชียน และในบันทึกประวัติศาสตร์ สื่อจี้ ของซือหม่า เชียน นั้นอินเดียถูกเรียกว่า 身毒 ซึ่งปัจจุบันอาจอ่านว่า เจวียนตู๋ (Juāndú) หรือ เยวียนตู๋ (Yuāndú) ส่วนชื่อเทียนจู๋ (天竺) ได้ปรากฏใน โฮ่วฮั่นซู นอกจากนี้ยังมีการเขียนชื่อเรียกว่า เทียนตู่ (天篤) ด้วย[3][4]

ที่มาของชื่อเรียกนี้ไม่เป็นที่สรุปแน่ชัดแต่คาดว่าน่าจะถอดเสียงมาจากชื่อแม่น้ำสินธุ เช่นเดียวกับที่มาของคำว่า "อินเดีย"[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "천축(天竺)의 유래와 역사". 동북아역사재단. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27.
  2. "天竺". 精選版 日本国語大辞典. สืบค้นเมื่อ 2022-07-31.
  3. 3.0 3.1 "天竺". 改訂新版 世界大百科事典. สืบค้นเมื่อ 2024-05-27.
  4. 『漢書』張騫・李広利伝「吾賈人往市之身毒国。」注「李奇曰:一名天篤、則浮屠胡是也。」