เทอเรนซ์ เต๋า
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เทอเรนซ์ เต๋า FAA FRS (จีนตัวย่อ: 陶哲轩; จีนตัวเต็ม: 陶哲軒; พินอิน: Táo Zhéxuān; เกิด 17 กรกฎาคม 1975 ในเมืองแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวจีน-ออสเตรเลียน-อเมริกันที่มีผลงานทางคณิตศาสตร์หลายแขนง ปัจจุบันเขากำลังให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ฮาร์มอนิก, สมการเชิงอนุพันธ์, คณิตศาสตร์เชิงการจัดพีชคณิต, คณิตศาสตร์เชิงการจัดเลขคณิต, คณิตศาสตร์เชิงการจัดเรขาคณิต, compressed sensing และ ทฤษฎีจำนวนวิเคราะห์ในปี 2015 เขาได้รับต่ำแหน่งประธานสาขาศาสตราภิชานคณิตศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยของแคลิฟอร์เนียลอสแอนเจลิส เต๋ายังเป็นผู้ร่วมรับเหรียญฟิลด์สในปี 2006 และรางวัล Breakthrough Prize in Mathematics ในปี 2014
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ครอบครัว
[แก้]บิดาของเทอเรนซ์ เต๋าตือ บิลลี่ เต๋า (จีน: 陶象國; พินอิน: Táo Xiàngguó) เป็นกุมารแพทย์ เกิดในเซี่ยงไฮ้ และได้ MBBS ที่ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ในปี 1969[1] มารดาของเต๋า เกรซ (จีน: 梁蕙蘭; พินอิน: Leung Wai-lan) เป็นชาวฮ่องกง เกรซได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเช่นกัน[2] เธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมในฮ่องกง[3] ทั้งสองพบกันที่มหาวิทยาลัยในขณะที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่[4] พ่อแม่ของเทอเรนซ์อพยพจากฮ่องกงสู่ออสเตรเลีย[5]
เต๋ามีพี่น้องชายสองคนอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ทั้งสองเป็นตัวแทนออสเตรเลียในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
- ไนเจล เต๋าเป็นสมาชิกของทีมกูเกิลออสเตรเลียที่สร้างอะแพชี เวฟ[6] ปัจจุบันเขากำลังทำงานด้านGo programming language
- เทรเวอร์ เต๋าจบหลักสูตรสองปริญญาด้านคณิตศาสตร์และดนตรี และป่วยเป็นกลุ่มอาการซาวองก์[6]
ลอร่า ภรรยาของเขาที่เป็นวิศวกรของนาซาในห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน[7] และลูกชายและลูกสาวของพวกเขาอาศัยอยู่ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
งานวิจัยและรางวัล
[แก้]ผลงานทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักอย่างโด่งดังของเทอเรนซ์ เต๋า คือ ทฤษฎีบทกรีน-เต๋า โดยพิสูจน์ร่วมกับเบน กรีนจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทฤษฎีบทดังกล่าวพิสูจน์ว่า ในลำดับของจำนวนเฉพาะ จะมีลำดับย่อยที่เป็นลำดับเลขคณิตที่มีความยาว k เสมอ ไม่ว่า k จะเป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ ทฤษฎีบทดังกล่าวเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2004[8]
ในปีค.ศ. 2006 มีรายงานว่าเต๋าได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานรวมกว่า 30 คน[9] จนกระทั่งได้ผู้เขียนร่วมถึง 68 คนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dr Billy Tao, Healthshare.
- ↑ Terence Tao: the Mozart of maths, March 7, 2015, Stephanie Wood, The Sydney Morning Herald.
- ↑ Oriental Daily, Page A29, 24 August 2006.
- ↑ Terence Chi-Shen Tao, MacTutor History of Mathematics archive, School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews, Scotland.
- ↑ Wen Wei Po, Page A4, 24 August 2006.
- ↑ 6.0 6.1 Nigel makes Waves: Google's bid to overthrow email, Asher Moses, Sydney Morning Herald, 2009-10-02
- ↑ "History, Travel, Arts, Science, People, Places - Smithsonian". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-10. สืบค้นเมื่อ 5 September 2015.
- ↑ Green, Ben; Tao, Terence. "The primes contain arbitrarily long arithmetic progressions". Annals of Mathematics. 2008 (167): 481-547. doi:10.4007/annals.2008.167.481.
- ↑ The Singular Mind of Terry Tao