ข้ามไปเนื้อหา

เทอิจิ สึโบกามิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทอิจิ สึโบกามิ (ญี่ปุ่น: 坪上貞二; 1 มิถุนายน 1884 - 28 พฤษภาคม 1979) เป็นนักการทูตชาวญี่ปุ่น หลังจากดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เขาได้ลงนามในสนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลไทย ในฐานะเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มคนแรกประจำประเทศไทยในช่วงสงครามแปซิฟิก หลังสงครามโลก เขาถูกไล่ออกจากราชการ

ประวัติและการทำงาน

[แก้]

เขามาจากจังหวัดซางะ ในปี ค.ศ. 1909 เขาสำเร็จการศึกษาจาก Higher Commercial School (ต่อมาคือมหาวิทยาลัยฮิโตสึบาชิ) เขาสอบเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ ค.ศ. 1912 เขาได้เป็นผู้ช่วยทูตที่วลาดิวอสต็อก ภายหลังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองเอเชียที่ 2 สำนักกิจการเอเชีย กระทรวงการต่างประเทศ ผู้อำนวยการกองบัญชี สำนักเลขาธิการรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[1] ในปี ค.ศ. 1937 เขาได้กลายเป็นประธานของ Manchurian Colonization Corporation และในปี ค.ศ. 1940 เขาได้กลายเป็นสมาชิกสภาแมนจูกัว

เขาดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มคนแรกประจำประเทศไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1944 เมื่อสงครามแปซิฟิกเริ่มขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในระหว่างการทัพมาลายา รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อให้กองกำลังญี่ปุ่นผ่านเข้าพม่าไปได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 満洲日日新聞,1935年12月22日