เทศบาลตำบลโคกมะกอก
เทศบาลตำบลโคกมะกอก | |
---|---|
พิกัด: 14°04′10.1″N 101°27′44.7″E / 14.069472°N 101.462417°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปราจีนบุรี |
อำเภอ | เมืองปราจีนบุรี |
จัดตั้ง |
|
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 15.50 ตร.กม. (5.98 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,220 คน |
• ความหนาแน่น | 143.22 คน/ตร.กม. (370.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05250103 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ 1 ถนนปราจีนบุรี–ประจันตคาม ตำบลโนนห้อม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25000 |
เว็บไซต์ | www |
โคกมะกอก เป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของหมู่ 1–3, 11 กับพื้นที่บางส่วนของหมู่ 4, 7 ในตำบลโนนห้อม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลโคกมะกอกที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517[2] และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลในปี พ.ศ. 2542[3] เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 เขตเทศบาลตำบลมีประชากรทั้งหมด 2,220 คน[4]
พื้นที่เทศบาลตำบลตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของตัวจังหวัด อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองปราจีนบุรีประมาณ 12.2 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรีประมาณ 18.9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 148 กิโลเมตรตามทางรถยนต์และประมาณ 131 กิโลเมตรตามทางรถไฟ เทศบาลมีพื้นที่รับผิดชอบ 15.5 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 9,687.5 ไร่ พื้นที่เป็นทางผ่านในทางรถไฟสายกรุงเทพ–อรัญประเทศ–ปอยเปต[5][6] โดยมีสถานีรถไฟโคกมะกอกคอยให้บริการด้านการเดินทางกับประชาชนในพื้นที่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกมะกอก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกมะกอก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (53 ง): 755–756. วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-04-28 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ สุนันทา เจริญปัญญายิ่ง. "ทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน". สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.
- ↑ "บันทึกประวัติศาสตร์.. เขมรเปิดหวูดเดินรถไฟชายแดนไทย-ศรีโสภณครั้งแรกในรอบ 30 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 5 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.[ลิงก์เสีย]