เทศบาลตำบลเทพารักษ์
เทศบาลตำบลเทพารักษ์ | |
---|---|
![]() | |
พิกัด: 13°36′31.2″N 100°39′06.8″E / 13.608667°N 100.651889°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | สมุทรปราการ |
อำเภอ | เมืองสมุทรปราการ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | วชิรเชษฐ์ รุ่งธวัฒน์วงศ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 4.3 ตร.กม. (1.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 21,901 คน |
• ความหนาแน่น | 5,093.26 คน/ตร.กม. (13,191.5 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05110110 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 หมู่ที่ 9 ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทพารักษ์ เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพารักษ์ เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 9 อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการประมาณ 13 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 37 กิโลเมตร มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3268 (ถนนเทพารักษ์)
เทศบาลตำบลเทพารักษ์แต่เดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลเทพารักษ์ ก่อนที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลใน พ.ศ. 2538[2] แล้วจึงได้รับการการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2562 [3] ปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 21,901 คน[1]
ที่มาของชื่อตำบลเทพารักษ์
[แก้]ที่มาของชื่อตำบลเทพารักษ์ไม่ปรากฎแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า มาจากการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ บริเวณคลองสำโรงรอยต่อไปยังคลองทับนาง ซึ่งบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียนความว่า "ขะณะนั้นคลองสำโรงที่จะไปคลองศีศะจรเข้คลองทับนางจะไปปาก น้ำเจ้าพญาตื้นเรือใหญ่ จะเดีรไปมาขัดสนจึงให้ชำระขุด ได้รูปเทพารักษ์ ๒ องค์ หล่อด้วยทองสำฤทธิ จำฤกองค์หนึ่งชื่อ พญาแสนตา องคหนึ่งชื่อบาทสังกร ในที่ร่วมคลองสำโรงกับคลองทับนางต่อกัน จึงให้พลีกรรม์บวงสวงแล้วรับออกมาปลูกศาลเชิญขึ้นประดิศถานไว้ ณ เมืองประแดง[4]"
ซึ่งในปัจจุบันบริเวณที่ขุดพบรูปเทพารักษ์ อยู่ในบริเวณตำบลเทพารักษ์และถนนเทพารักษ์ จึงสันนิษฐานได้ว่า ที่มาของชื่อตำบลและถนนเทพารักษ์นั้นมาจากการขุดค้นพบรูปเทพารักษ์ตามบันทึกของพระราชพงศาวดารข้างต้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลตำบลเทพารักษ์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบางแก้ว (อำเภอบางพลี) มีคลองสำโรงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลีใหญ่ (อำเภอบางพลี) มีคลองทับนางเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่และเขตเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่กับเทศบาลตำบลเทพารักษ์ คลองสันดร แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการกับเทศบาลตำบลเทพารักษ์ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลบางเมือง (อำเภอเมืองสมุทรปราการ) มีคลองบางปิ้งเป็นเส้นแบ่งเขต
หมู่บ้านและประชากร
[แก้]พื้นที่เทศบาลตำบลเทพารักษ์มีประชากรทั้งหมด 21,901 คน โดยแบ่งเป็นประชากรชายทั้งหมด 10,203 คน และประชากรหญิงทั้งหมด 11,698 คน (เดือนธันวาคม 2564) แบ่งการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ดังนี้
ประชากรในเทศบาลตำบลเทพารักษ์จำแนกตามหมู่บ้าน[1] | |||
ชื่อหมู่บ้าน | ประชากรชาย | ประชากรหญิง | รวม |
---|---|---|---|
หมู่ที่ 1 บ้านมังกร | 3,331 | 3,880 | 7,211 |
หมู่ที่ 6 บ้านศรีเจริญ | 3,090 | 3,469 | 6,559 |
หมู่ที่ 8 บ้านขันดี | 1,837 | 2,023 | 3,860 |
หมู่ที่ 2 บ้านสยามนิเวศน์ | 1,570 | 1,868 | 3,438 |
หมู่ที่ 9 บ้านปู่เจ้าสำโรง | 375 | 458 | 833 |
รวม | 10,203 | 11,698 | 21,901 |
สถานที่สำคัญ
[แก้]- สำนักงานเทศบาลตำบลเทพารักษ์
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลเทพารักษ์
- สวนสาธารณะเทศบาลตำบลเทพารักษ์
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเทพารักษ์
- ศูนย์สุขภาพชุมชนเทพารักษ์
- ศาลเทพารักษ์
- โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์
- โรงเรียนสุขเจริญผล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth. สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (ตอนพิเศษ 6 ง): 1–63. March 23, 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
- ↑ "ประวัติเทศบาลตำบลเทพารักษ์". เทศบาลตำบลเทพารักษ์. จังหวัดสมุทรปราการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-01. สืบค้นเมื่อ 2022-03-01.
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงษ์ (จาด) (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2533). แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒. หน้า ๓๑.