เทศบาลตำบลเกษไชโย
เทศบาลตำบลเกษไชโย | |
---|---|
วัดไชโยวรวิหาร (เกษไชโย) เทศบาลตำบลเกษไชโย | |
พิกัด: 14°43′06.3″N 100°26′11.8″E / 14.718417°N 100.436611°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อ่างทอง |
อำเภอ | ไชโย |
จัดตั้ง | • 29 พฤศจิกายน 2506 (สุขาภิบาลเกษไชโย) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.เกษไชโย) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6.499 ตร.กม. (2.509 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,765 คน |
• ความหนาแน่น | 425.45 คน/ตร.กม. (1,101.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05150201 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ที่ 3 ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง 14140 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลตำบลเกษไชโย เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลไชโย ในอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดไชโยวรวิหาร เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเกษไชโยที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2506[2] ก่อนที่ต่อมาจะยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ใน พ.ศ. 2564 เขตเทศบาลตำบลเกษไชโยมีประชากรทั้งหมด 2,765 คน
ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 สภาตำบลไชโยได้ยุบรวมกับพื้นที่เทศบาลตำบลเกษไชโย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน จึงรับพื้นที่สภาตำบลไชโยมาทั้งหมด 5.749 ตารางกิโลเมตร[4] จากพื้นที่สุขาภิบาลเดิมมีพื้นที่ 0.750 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันจึงมีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 6.499 ตารางกิโลเมตร
เทศบาลตำบลเกษไชโยเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญในจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยใน พ.ศ. 2430[5] สภาพสังคมมีโรงเรียนทั้งหมดสองแห่งและมีโรงพยาบาลหนึ่งแห่ง คือ โรงพยาบาลไชโย[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเกษไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกษไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (121 ง): 2744–2745. วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2506
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-01-18 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 10–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
- ↑ "เรื่องพระพุทธรูปใหญ่วัดไชโย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 4 (11): 82–83. วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2430
- ↑ "ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลพื้นฐาน ของเทศบาลตำบลเกษไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)สืบค้นวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563