เทศบาลตำบลอุ้มผาง
เทศบาลตำบลอุ้มผาง | |
---|---|
ด้านเหนือของเขตเทศบาลตำบลอุ้มผาง บริเวณสะพานข้ามลำห้วยมูเล่อ (ใช้ลำห้วยเป็นเขตของเทศบาล) | |
พิกัด: 16°01′04.8″N 98°51′54.7″E / 16.018000°N 98.865194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ตาก |
อำเภอ | อุ้มผาง |
จัดตั้ง | • 28 ธันวาคม 2499 (สุขาภิบาลอุ้มผาง) • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.อุ้มผาง) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สเดชชัย สุวรรณจันทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 0.537 ตร.กม. (0.207 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนมกราคม 2567)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,619 คน |
• ความหนาแน่น | 8,601.48 คน/ตร.กม. (22,277.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 05630801 |
ที่อยู่ สำนักงาน | หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวัฒนะ ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 63170 |
เว็บไซต์ | www |
อุ้มผาง เป็นเทศบาลตำบลซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 ของตำบลอุ้มผาง ในอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลอุ้มผางที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2499[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เขตเทศบาลมีประชากร 4,619 คน[4] และเป็นเขตเทศบาลในจังหวัดตากที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด เป็นเทศบาลตำบลที่มีพื้นที่น้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และเป็นเทศบาลที่มีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดตาก
พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการต่าง ๆ ในอำเภออุ้มผาง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดตากประมาณ 247 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 741 กิโลเมตรโดยเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 จนถึงทางแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 ไปอำเภอแม่สอดระยะทาง 84 กิโลเมตร ถึงทางแยกเข้าสู่ตัวอำเภอแม่สอด เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1090 ไปจนถึงอำเภออุ้มผางระยะทาง 164 กิโลเมตร มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 0.537 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 336 ไร่ ด้านทิศใต้ของเขตเทศบาลมีลำห้วยอุ้มผาง และลำห้วยนาไหลผ่านเป็นแหล่งน้ำสำคัญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลอุ้มผาง กิ่งอำเภออุ้มผาง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 20-21. วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2500
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2566. สืบค้น 24 มกราคม 2566.