ข้ามไปเนื้อหา

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลแข่งเรือมังกร
เทศกาลแข่งเรือมังกร (ศตวรรษที่ 18)
จัดขึ้นโดยชาวจีน
ประเภทวัฒนธรรม
การถือปฏิบัติแข่งเรือมังกร, การบริโภคเหล้าสงหวง และบ๊ะจ่าง
วันที่ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ
วันที่ในปี พ.ศ. 256710 มิถุนายน
วันที่ในปี พ.ศ. 256831 พฤษภาคม
วันที่ในปี พ.ศ. 256919 มิถุนายน
วันที่ในปี พ.ศ. 25709 มิถุนายน
ความถี่ทุกปี
เทศกาลแข่งเรือมังกร *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
การแข่งเรือมังกรที่มาเก๊า
ประเทศ จีน
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00225
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2009/2552 (คณะกรรมการสมัยที่ 4)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง, เทศกาลตฺวานอู่ หรือ เทศกาลตฺว่านหงอ (จีนตัวย่อ: 端午节; จีนตัวเต็ม: 端午節; พินอิน: duānwǔ jié) ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ "โหงวเหว่ยโจ่ว" เป็นการระลึกถึงวันที่คุดก้วนหรือชฺวี ยฺเหวียน (จีน: 屈原; พินอิน: Qū Yuán; 340–278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

นอกจากนี้ ในจีนบริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวันยังมี เทศกาลแข่งเรือมังกร (龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันกวีจีนอีกด้วย เนื่องจากชฺวี ยฺเหวียน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน

ประวัติ

[แก้]

ในสมัยเลียดก๊ก มีบุคคลหนึ่งนามว่า ชฺวี ยฺเหวียน เป็นผู้ที่มีความรอบรู้และความสามารถรอบด้าน เป็นนักปราชญ์ราชกวีคนหนึ่ง รวมทั้งรู้จักหลักการบริหารปกครองเป็นอย่างดี ชฺวี ยฺเหวียน เป็นเชื้อสายของกษัตริย์ผู้ครองแคว้นฉู่ เขาได้รับราชการเป็นขุนนางในสมัยพระเจ้าฉู่หวายอ๋อ เป็นที่ปรึกษา และดูแลเหล่าเชื้อพระวงศ์ ชฺวี ยฺเหวียน เป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ และเปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถอันสูงยิ่ง เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเป็นอันมาก

เมื่อมีคนรัก แน่นอนย่อมต้องมีคนชังเป็นเรื่องธรรมดา เหล่าขุนนางกังฉินทั้งหลายต่างก็ไม่พอใจชฺวี ยฺเหวียน ด้วยความที่เขาเป็นคนที่ซื่อตรง ทำงานอย่างตรงไปตรงมา จึงมีหลายครั้งที่การทำงานของชฺวี ยฺเหวียน เป็นไปเพื่อการขัดขวางการโกงกินบ้านเมืองของขุนนางกังฉินเหล่านั้น พวกเขาจึงรวมหัวกันพยายามใส่ร้ายเขาต่าง ๆ นานาจนพระเจ้าฉู่หวายอ๋องเองก็ชักเริ่มที่จะเชื่ออยู่บ้าง ชฺวี ยฺเหวียน รู้สึกทุกข์ใจมาก จึงได้แต่งกลอนขึ้นเพื่อคลายความทุกข์ใจ กลอนบทนั้นมีชื่อว่า "หลีเซา" หมายถึงความเศร้าโศก หลังจากที่พระเจ้าฉู่หวายอ๋องได้สินใจไปก็มีการเเต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้ทรงหลงเชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางกังฉินพวกนั้น ในที่สุดจึงได้มีพระบรมราชโองการให้เนรเทศชฺวี ยฺเหวียน ออกจากแคว้นฉู่ไป

ชฺวี ยฺเหวียน เศร้าโศกเสียใจมาก หลังจากเดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) เขาจึงตัดสินใจกระโดดน้ำตายในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นั้นเอง

พวกชาวบ้านที่รู้เรื่องการตายของชฺวี ยฺเหวียน พวกเขาต่างก็รักและอาลัยถึงชฺวี ยฺเหวียน จึงได้ออกเรือเพื่อตามหาศพขอเขา ในขณะที่ค้นหาศพ พวกเขาก็เตรียมข้าวปลาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำด้วย เพื่อล่อให้สัตว์น้ำมากิน จะได้ไม่ไปกัดกินซากศพของชฺวี ยฺเหวียน หลังจากนั้นทุกปีเมื่อถึงวันครบรอบวันตายของชฺวี ยฺเหวียน ชาวบ้านจะนำเอาอาหารไปโปรยลงแม่น้ำหลังจากนั้นก็มีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชฺวี ยฺเหวียน ที่มาในชุดอันสวยงามกล่าวขอบคุณเหล่าชาวบ้าน แต่เขาบอกว่าอาหารโดนสัตว์น้ำกินไปเสียเกือบหมด เเละเขาได้บอกไว้ว่าให้ใช้ใบใผ่ห่อบ๊ะจ่างไว้

หลังจากนั้นในปีต่อมา ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชฺวี ยฺเหวียน แนะนำ คือนำอาหารห่อด้วยใบไผ่ไปโยนลงน้ำเพื่อเซ่นให้แก่เขา หลังจากวันนั้นชฺวี ยฺเหวียน ก็ได้มาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่าคราวนี้ได้กินมากหน่อย แต่ก็ยังคงโดนสัตว์น้ำแย่งไปกินได้ ชาวบ้านต้องการให้ชฺวี ยฺเหวียน ได้กินอาหารที่พวกเขาเซ่นให้อย่างอิ่มหนำสำราญจึงได้ถามชฺวี ยฺเหวียน ว่าควรทำเช่นไรดี ชฺวี ยฺเหวียน จึงแนะนำอีกว่าเวลาที่จะนำอาหารไปโยนลงแม่น้ำให้ตกแต่งเรือเป็นรูปมังกรไป เมื่อสัตว์น้ำทั้งหลายได้เห็นก็จะนึกว่าเป็นเครื่องเซ่นของพญามังกร จะได้ไม่กล้าเข้ามากิน

ความเชื่อ

[แก้]
บ๊ะจ่าง
ใช้เฮียเฮียะและว่านน้ำแขวนที่ประตูในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเพื่อปัดเป่าวิญญาณร้าย

นอกจากการไหว้บ๊ะจ่างแล้ว ปัจจุบันในฮ่องกงและเกาลูนก็ยังคงมีผู้จัดประเพณีแข่งเรือมังกรอยู่ รวมทั้งในเทศกาลตวงโหงวนี้ คนจีนโบราณยังเชื่อว่าการทำความสะอาดบ้านให้ดูมีความสดชื่นภูตผีปิศาจจะได้ไม่กล้าเข้ามากล้ำกราย ในวันนี้สัตว์มีพิษทั้ง 4 ชนิด อันได้แก่ แมงป่องแมงมุมตะขาบและงูจะพากันหลบซ่อนตัว จึงเป็นโอกาสที่เจ้าบ้านจะต้องอบบ้านด้วยการจุดกำมะถัน เพื่อไม่ให้สัตว์มีพิษเหล่านี้กลับเข้ามาอาศัยได้อีก นอกจากนี้ยังมีการดื่มเหล้ายาที่ผสมด้วยผงกำมะถันด้วย โดยเชื่อกันว่าจะสามารถป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]