เทศกาลดำขาว
เทศกาลดำขาว Carnaval de Negros y Blancos | |
---|---|
ขบวนพาเหรดในเทศกาลดำขาว เมืองปัสโต | |
ประเภท | เทศกาล |
วันที่ | 2–7 มกราคม |
ความถี่ | ทุกปี |
ที่ตั้ง | ปัสโต ประเทศโคลอมเบีย |
ประเดิม | ค.ศ. 1546 |
เว็บไซต์ | carnavaldepasto |
เทศกาลดำขาว (สเปน: Carnaval de Negros y Blancos) เป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดในพื้นที่โคลอมเบียตอนใต้ที่จัดขึ้นในวันที่ 2–7 มกราคมของทุกปี โดยมีจุดเด่นคือชุดโทนสีขาวดำออกของผู้ร่วมงานในขบวนพาเหรด ซึ่งเป็นการสื่อถึงสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวกันหรือความเท่าเทียม[1] เทศกาลจะมีการแบ่งเป็นสองช่วง คือ วันสีขาวที่มีขบวนแห่ซึ่งผู้เข้าร่วมแต่งกายชุดหลากสี และวันสีดำซึ่งผู้ร่วมงานต้องวาดใบหน้าเป็นสีดำ[2] เริ่มแรกเทศกาลนี้จัดขึ้นที่เมืองปัสโต แต่ต่อมาก็แพร่หลายมากขึ้น จนมีการจัดในหลาย ๆ เมืองในจังหวัดนาริญโญและทางตะวันตกเฉียงใต้ของโคลอมเบีย[3] เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2009 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเทศกาลดำขาวเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[4][5]
ประวัติ
[แก้]ต้นกำเนิด
[แก้]เทศกาลดำขาวมีต้นกำเนิดในสมัยอาณานิคม และมีจุดกำเนิดจากชาวเมสติโซ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างหลากหลายวัฒนธรรมที่พบในเมืองปัสโต คือ วัฒนธรรมในภูมิภาคแอนดีส แอมะซอน และแปซิฟิก รวมถึงความเชื่อพื้นเมืองในการเฉลิมฉลองพระจันทร์ (กิยา), พิธีกรรมเต้นรำบูชาพระจันทร์ในเวลาเก็บเกี่ยวของชาวปัสโตและชาวกิยาซิงกา, และพิธีกรรมบูชาพระอาทิตย์เพื่อให้คุ้มครองผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ได้เกิดการผสมผสานกับศาสนาคริสต์จากอิทธิพลจากชาวสเปน จนมาเป็นเทศกาลในเมืองปัสโตนี้ โดยได้มีจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1546
กิจกรรม ฮูเอโกเดเนกริโตส เป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของเทศกาลดำขาว มีจุดกำเนิดในช่วงวันก่อนวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ ณ เวลานั้นจะเล่นกันในหมู่ชาวผิวขาวและชาวเมสติโซ เดิมกิจกรรมนี้จัดเป็นวันหยุดสำหรับชาวผิวสีในกรันเกากา ภูมิภาคที่เมืองปัสโตตั้งอยู่ ในปี 1607 เกิดกบฏทาสในเรเมดิโอส จังหวัดอันติโอเกีย ซึ่งทำให้เกิดความแตกตื่นในหมู่ชาวผิวสี จึงมีการเรียกร้องให้วันที่ 5 มกราคมเป็นวันหยุดเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์และเป็นการรักษาสันติภาพในสังคม โดยชาวผิวสีในเกากาจะออกมาเต้นรำกับเพลงแอฟริกาและทาสีกำแพงสีขาวอันโด่งดังของเมืองเป็นสีดำ ซึ่งกิจกรรมนี้ได้แพร่กระจายจนถึงตอนใต้ของประเทศ
ฮูเอโกเดบลังโกส อีกส่วนสำคัญของเทศกาล มีจุดกำเนิดในช่วงเช้ามืดของวันสมโภชพระคริสต์แสดงองค์ (6 มกราคม) ในปี 1912 โดยได้สร้างกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ การละเล่น ความสัมพันธ์ และความสนุกสนานในชีวิตประจำวัน โดยมีเรื่องเล่าว่า
ที่ซ่องโสเภณีแห่งหนึ่งที่ตั้งอยูในกาเยเรอัล ซึ่งเป็นที่อยู่ของหญิงร็อบบี มีกลุ่มช่างตัดเสื้อจากร้านตัดเสื้อชื่อดังของดอนอังเฮล ซารามา ซึ่งในกลุ่มนั้นก็มีอังเฮล มาริอา โลเปซ และมักซิโม เอราโซ ด้วย ทั้งสองคนพาหญิงร็อบบี้เหล่านั้นไปหยิบเครื่องสำอางฝรั่งเศสของหญิงที่เป็นที่ต้องการตัวมากที่สุด และเกลี่ยแป้งพร้อมน้ำหอมบนใบหน้าของหญิงเหล่านั้นท่ามกลางเสียงร้องว่า บิบันโลสบลังกิโตส! (¡Vivan los Blanquitos!)
โดย บิบันโลสบลังกิโตส! เป็นการตอบสนองต่อ ฮูเอโกเดเนกริโตส ที่ได้รับการคิดค้นก่อนหน้า เรื่องเล่านี้จะถูกนำไปเล่าต่อเป็นมุกตลกขำขัน โดยมีกลุ่มคนที่จะออกไปเล่นมุกนี้ให้กับผู้ที่เดินทางกลับจากโบสถ์หลังเข้าร่วมพิธีในวันสมโภช พร้อมกับพูดว่า ดำและขาวจงเจริญ! (Long live the Blacks and long live the Whites!)[6] พฤติการณ์เกลี่ยแป้งพร้อมน้ำหอมบนใบหน้าจะถูกนำไปปรับใช้ในเทศกาลต่อไป
การก่อตั้ง
[แก้]ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 เทศกาลดำขาวได้มีการปรับปรุงรูปแบบเทศกาลให้มีความเหมาะสมและสวยงามยิ่งขึ้น โดยมีการคำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ที่จัดงาน ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1926 เป็นครั้งแรกที่มีการจัดขบวนพาเหรด โดยมีนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยนาริญโญเป็นผู้จัด และได้เลือกโรเมเลีย มาร์ติเนซ เป็นราชินีผู้นำขบวนในครั้งนี้ ผู้ร่วมงานได้แต่งกายด้วยชุดงานรื่นเริงและเต้นรำไปกับดนตรีท้องถิ่น พาเหรดครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเทศกาล ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวันสมโภช
ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1929 ได้มีขบวนแห่ของนักขี่ม้ากว่าร้อยคนเข้ามาเชียร์เกมของคนผิวดำและคนผิวขาว เนื่องด้วยสถานที่จัดกิจกรรมนี้ตั้งอยู่ใกล้กับกองพันโบยากา ในเวลาบ่ายสามโมง เมื่อคนขี่ม้าเตรียมตัวแห่ ก็ได้มีอีกขบวนแห่ของครอบครัวกัสตัญเญดามาร่วมขบวนแห่ด้วย ครอบครัวนี้เดิมมีถิ่นฐานในอันติโอเกีย แต่เดินทางมาร่วมขบวนแห่ที่ปัสโต ซึ่งหลังจากใช้เวลาหลายปีเดินทางในปูตูมาโย ในขบวนแห่ของครอบครัวนี้มีพ่อ แม่ เด็กผู้หญิงสองคน เด็กชายสองคน และชายหนุ่มอีกสามคน พร้อมคนงานคอยต้อนล่อ หมูและแกะ อีกทั้งยังมีกรงลากที่มีนกแก้วและลิหลายตัว จากนั้นได้มีเสียงตะโกนแห่งประวัติศาสตร์ว่า "บิบาลาฟามิเลียกัสตัญเญดา" ("ครอบครัวกัสตัญเญดาจงเจริญ") ของตอร์เรส อาเรยาโน ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นธรรมเนียมสำคัญของเทศกาล
ครอบครัวกัสตัญเญดาได้รับการตีความเป็นหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นภาพการ์ตูนที่ปรากฏในวันที่ 4 มกราคม โดยภาพวาดนี้ยังเป็นภาพล้อเลียนครอบครัวบูเชลิ อาเยร์เบ ซึ่งมีดอนฮูเลียน บูเชลิ อาเยร์เบ ที่ต่อมาจะเป็นผู้ว่าการคนแรกของจังหวัดนาริญโญ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ขบวนพาเหรดของครอบครัวกัสตัญเญดาได้รับการนำมาเป็นกิจกรรมเปิดเทศกาลจนกระทั่งเริ่มมีกิจกรรม การ์นาบาลิโต ("คาร์นิวัลเด็ก")
ในคริสต์ทศวรรษ 1930–1940 มีการปรับโครงสร้างเทศกาลให้มีความชัดเจน ให้มีความโดดเด่นของศิลปะพื้นบ้าน ผ่านการสร้างงานประติมากรรมและรถแห่
การพัฒนาและการฟื้นฟูเทศกาล
[แก้]ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้มีการปรับปรุงขบวนแห่ โดยรถแห่จะมีหุ่นที่สามารถขยับได้ ซึ่งสร้างครั้งแรกโดยศิลปินอัลฟอนโซ ซัมบราโน ในช่วงเวลาเดียวนายกเทศมนตรีเมืองปัสโต (บางครั้งพร้อมกับผู้ว่าการจังหวัดนาริญโญ) ได้เข้ามาควบคุมการจัดงานเทศกาล โดยได้มีการสนับสนุนทุนในการจัดทำรถแห่และจัดตั้งรางวัลรถแห่ยอดเยี่ยม
ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 มีการจัดหาวงดนตรีเชิงพาณิชย์ระดับชาติและนานาชาติเพื่อ วงที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Los Melódicos ของเวเนซุเอลา, Billo's Caracas Boys และ Ecuadorian Medardo ในช่วงเวลานั้นได้มีลุยส์ เกงกวน เป็นตากล้องคนแรกที่สร้างสถิติด้วยการถ่ายวีดิทัศน์ด้วยฟิล์ม (ขาวดำ) ขนาด 8 มม., ซูเปอร์ 8 และ 16 มม. ในงานคาร์นิวัล ใน ค.ศ. 1966 ดอนมาริโอ เฟร์นันโด โรดริเกซ ที่เกิดขึ้นในย่านโบลิบาร์ การ์นาบาลิโตหรือคาร์นิวัลสำหรับเด็ก งานฉลองที่เป็นอิสระนี้จะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งทศวรรษในการเข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการ
การเข้ามาของทางหลวงสายแพนอเมริกันในคริสต์ทศวรรษ 1970 และรวมเมืองปัสโตในแผนเศรษฐกิจของโคลอมเบีย ส่งผลให้มีการปรับปรุงเทศกาล โดยได้มีรูปแบบการจัดงานที่แตกต่างจากเดิม มีเพลงใหม่และกระแสวัฒนธรรมที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยกระแสวัฒนธรรมนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ และจำนวนประชากรในปัสโตที่เพิ่มขึ้น ทำให้จำเป็นต้องมีการสร้างกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และรูปแบบการจัดงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถรักษาขนบธรรมเนียมเดิมไว้ โดยได้สร้างให้ครอบคลุมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทศกาล โดยจะมีถูกบังคับใช้ในเมืองปัสโตและเมืองใกล้เคียง
ศตวรรษที่ 21
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2001 ตามกฎหมายฉบับที่ 706 เทศกาลดำขาวได้รับการระบุเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศโดยพรรคคองเกรสโคลอมเบีย[3] พร้อมกันนั้นได้มีการจัดสร้าง "จัตุรัสเทศกาลและวัฒนธรรม" เป็นสถานที่จัดเทศกาลโดยเฉพาะ นอกจากนี้แล้วเทศกาลยังได้รับการบรรจุเข้าในแผนรัฐบาลสำหรับปัสโต เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2009 เทศกาลดำขาวได้รับการยกย่องโดยยูเนสโกให้เป็นผลงานชิ้นเอกด้านมุขปาฐะและมรดกที่ไม่เป็นกายภาพของมนุษยชาติซึ่งต่อมาจะพัฒนามาเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[4][5]
ลำดับเทศกาล
[แก้]เทศกาลดำขาวจะประกอบด้วยสี่ช่วงหลัก ได้แก่ การ์นาบาลิโต ("คาร์นิวัลเด็ก"), การมาถึงของครอบครัวกัสตัญเญดา, วันสีดำ, และวันสีขาว โดยช่วงสุดท้ายถือเป็นช่วงที่ความสำคัญที่สุดเนื่องจากมีขบวนพาเหรดใหญ่ นิกจากนี้แล้วยังมีกิจกรรมก่อนเทศกาลอีกด้วย โดยมักจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วันที่ 7 มกราคมถือเป็นวันสุดท้ายของเทศกาล โดยมีการเฉลิมฉลอง "วันหนูตะเภา" ซึ่งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับอาหารประจำภูมิภาค[7]
ช่วงก่อนเทศกาล
[แก้]ในโคลอมเบีย จะมีการขยายระยะเวลาเทศกาลส่งท้ายปี โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคมด้วยการเฉลิมฉลองก่อนวันฉลองแม่พระปฏิสนธินิรมลหรือ "วันแห่งเทียนน้อย" ต่อด้วยการเฉลิมฉลองโนวีนา (16–24 ธันวาคม) และคริสต์มาส (25 ธันวาคม)
ในช่วงเวลานี้จะมีการเฉลิมฉลองวันหน้าโง่ในวันที่ 28 ธันวาคม และวันส่งท้ายปีเก่าในวันที่ 31 ธันวาคม ถือเป็นการนำเข้าสู่เทศกาลดำขาว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เทศกาลสำคัญในโคลอมเบีย | CheapTickets.co.th™". www.cheaptickets.co.th.
- ↑ "เทศกาลแบล็คส์ แอนด์ ไวท์ส Black and White Festival colombia | derechoambientalcolombiano" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 3.0 3.1 Colombian Senate (26 November 2001). "Law 706 of 2001" (ภาษาสเปน). Colombian Senate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 September 2009.
- ↑ 4.0 4.1 UNESCOPRESS (30 September 2009). "Press Release No. 2009-105". UNESCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 September 2009.
- ↑ 5.0 5.1 "UNESCO - Carnaval de Negros y Blancos". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ More in Zarama de la Espriella, Germán; Muñoz Cordero Lydia Inés, "Carnival of Blacks and Whites", Pasto, Autonomous Corporation of the Carnivals of the Municipality of Pasto, 1992.
- ↑ Corpocarnaval (2007). "Blacks and Whites' Press Kit" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 25 September 2009. [ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Carnaval de Negros y Blancos de San Juan de Pasto (ภาษาสเปน) – เว็บไซต์ทางการ
- Blacks and Whites' Carnival in Pasto: The Largest Meeting of the Races in Colombia – การท่องเที่ยวแห่งโคลอมเบีย
- Los Carnavales de Pasto (ภาษาสเปน)