เติงกูฮัซซานัล อิบราฮิม อาลัม ชะฮ์
เตงกู ฮัสซานัล อิบราฮิม อาลัม ชาห์ อิบนี สุลต่าน อับดุลลาห์ ริ‘อายาตุดดิน อัล-มุสตาฟา บิลลาห์ ชาห์ (ประสูติเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลเตงกู อัมปวนอัฟซาน เมืองกวนตัน รัฐปะหัง)ทรงเป็นมกุฎราชกุมารและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐปะหังใน สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหังและสมเด็จพระราชินีตุนกู อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์.[1]
เตงกู ฮัสซานัล อิบราฮิม อลัม ชาห์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
มกุฎราชกุมารแห่งรัฐปะหัง | |||||
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐปะหัง | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 31 มกราคม 2019 - 30 มกราคม 2024 | ||||
แต่งตั้ง | 29 มกราคม 2019 | ||||
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง | ||||
มกุฎราชกุมารแห่งรัฐปะหัง | |||||
ดำรงพระยศ | 22 มกราคม 2019 - ปัจจุบัน | ||||
แต่งตั้ง | 29 มกราคม 2019 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง | ||||
ผู้บัญชาการแห่งรัฐปะหัง | |||||
ดำรงตำแหน่ง | 18 มิถุนายน 2018 - 22 มกราคม 2019 | ||||
แต่งตั้ง | 18 มิถุนายน 2018 | ||||
ก่อนหน้า | เตงกู อิบราฮิม | ||||
ถัดไป | เตงกู อัซลาน | ||||
ประสูติ | 17 กันยายน ค.ศ. 1995 โรงพยาบาล เตงกู อัมปวน อัฟซาน, กวนตัน, ปะหัง, มาเลเซีย เตงกู ฮัสซานัล อิบราฮิม อลัม ชาห์ บินติ เตงกู อับดุลลาห์ | (Umur 29 ปี 1 เดือน 27 วัน||||
| |||||
ราชวงศ์ | เบินดาฮารา | ||||
พระบิดา | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์แห่งปะหัง | ||||
พระมารดา | ตุนกู อาซีซะฮ์ อามีนะฮ์ ไมมูนะฮ์ อิสกันดารียะฮ์ | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนีย์ | ||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
รับใช้ | แม่แบบ:กองทัพบก | ||||
แผนก/ | กองทัพบกมาเลเซีย | ||||
ประจำการ | 2019–ปัจจุบัน | ||||
ชั้นยศ | 21px ร้อยเอก | ||||
หน่วย | กองทัพมลายู | ||||
Instagram Profile | |||||
การศึกษา
[แก้]เตงกู ฮัสซานัล ชาห์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนประถมเซนต์ โทมัส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง 2547 จากนั้นทรงศึกษาต่อยังต่างประเทศที่โรงเรียนประถมเชอร์เบิร์น ประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2548 ถึง 2550 ก่อนจะเสด็จไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมเซนต์โทมัสในปี พ.ศ. 2550 ถึง 2555 และหลังจากนั้นทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮมหลังจากนั้น
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เตงกู ฮัสซานัล ทรงสำเร็จสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากโรงเรียนการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ (Geneva School of Diplomacy and International Relations).[2] อีกทั้งพระองค์ยังทรงสำเร็จการศึกษาการฝึกวิชาทหารที่ โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร เป็นระยะเวลา 44 สัปดาห์
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565 พระองค์ทรงศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาที่สำนักนโยบายสาธารณะ ลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew School of Public Policy)มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore: NUS)
ราชตระกูล
[แก้]เตงกู ฮัสซานัล ชาห์ สืบเชื้อสายในตระกูลซึ่งมีราชวงศ์ปะหัง (พระราชบิดา) และราชวงศ์ยะโฮร์ (พระราชมารดา) พระองค์เป็นพระราชนัดดาของสุลต่านองค์ที่ 5 แห่งรัฐปะหัง สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ และเติงกู อัมปวน เติงกู ฮัจจะฮ์ อัฟซัน ในด้านพระราชมารดา พระองค์เป็นพระราชนัดดาของสุลต่านองค์ที่ 4 แห่งยะโฮร์ สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ และเอนเช เบซาร์ ฮาจาห์ คัลซัม (โจเซฟีน รูบี เรวอร์โรว)
เติงกู ฮัสซานัลยังเป็นพระภาดา(ลูกพี่ลูกน้อง)และพระราชนัดดาของสุลต่านอิบราฮิม อิสกันดาร์ และสุลต่านอิบราฮิม อิสมาอิล สุลต่านแห่งยะโฮร์องค์ปัจจุบัน
รัชทายาท
[แก้]เตงกู ฮัสซานัล ทรงเป็นรัชทายาทของสุลต่านแห่งรัฐปะหัง
เตงกู ฮัสซานัล ทรงได้รับการประกาศให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของรัฐปะหัง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2561.[3]
หลังจากพระราชบิดาของพระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะสุลต่านปะหังองค์ที่ 6 เตงกู ฮัสซัานัลได้รับแต่งตั้งให้เป็นมกุฎราชกุมารแห่งรัฐปะหัง ซึ่งได้ทรงขึ้นมาดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562.[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Tugas isteri, ibu jadi keutamaan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ 2017-07-29.
- ↑ "Tengku Hassanal Bergelar Graduan, Peroleh Ijazah Bidang Hubungan Antarabangsa". Portal Diraja Pahang. 1 Julai 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-07. สืบค้นเมื่อ 28 Januari 2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ http://www.utusan.com.my/berita/nasional/tengku-hasanal-diisytihar-tengku-panglima-besar-pahang-1.704110#ixzz5KUvojZtR เก็บถาวร 2019-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน © Utusan Melayu (M) Bhd
- ↑ Ishak, Amin Ridzuan (22 Januari 2019). "Tunku Azizah Aminah Maimunah dimasyhurkan Tengku Ampuan Pahang". BHarian. สืบค้นเมื่อ 22 Januari 2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help) - ↑ http://www.utusan.com.my/berita/nasional/tengku-hasanal-diisytihar-tengku-panglima-besar-pahang-1.704110#ixzz5KUvojZtR Diarkibkan2019-01-29 di Wayback Machine © Utusan Melayu (M) Bhd
Cite has empty unknown parameter:
|dead-url=
(bantuan)