ข้ามไปเนื้อหา

เตรนตีโนวอลเลย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีตัส เตรนตีโน
ชื่อเต็มเตรนตีโน วอลเลย์
ก่อตั้งค.ศ. 2000
สนามปาลาเตรนโต
เตรนโต ประเทศอิตาลี
(ความจุ: 4,360)
ประธานอิตาลี ดีเอโก มอสนา
ผู้จัดการอิตาลี แองเจโล ลอเรนเซ็ตติ
หัวหน้าทีมบัลแกเรีย มาเตย์ คาซีย์สกี
ลีกอิตาเลียนวอลเลย์บอลลีก
เว็บไซต์โฮมเพจสโมสร
เครื่องแบบ
ทีมเหย้า
ทีมเยือน

เตรนตีโนวอลเลย์ (อิตาลี: Trentino Volley) เป็นทีมวอลเลย์บอลมืออาชีพในประเทศอิตาลีซึ่งตั้งอยู่ ณ ภาคเหนือของประเทศอิตาลี ทีมนี้เข้าแข่งขันในอิตาเลียวอลเลย์บอลลีก ซึ่งสโมสรแห่งนี้ได้รับการก่อตั้งใน ค.ศ. 2000

เตรนตีโนวอลเลย์ เป็นบริษัทร่วมทุนและประธานบริษัทคือ ดีเอโก มอสนา บริษัทมีงบประมาณ 4,500,000 ยูโรและพนักงานประมาณ 225 คน การปฏิบัติงานของบริษัท ได้รับรางวัลในระดับคอนติเนนและผ่านการรับรองของธุรกิจกีฬาที่ Ambitions Awards 2010 ทีมได้ผ่านเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้ายรายการซีอีวีแชมเปียนส์ลีก 2010–11 ที่จัดขึ้นที่ปาลาออนดา, โบลซาโน

ชื่อก่อนหน้า

[แก้]
ค.ศ. 2000 – ค.ศ. 2001 อีตัส กรุปโป ดีอาเตก เตรนตีโน (Itas Gruppo Diatec Trentino)
ค.ศ. 2001 – ค.ศ. 2013 อีตัส ดีอาเตก เตรนตีโน (Itas Diatec Trentino)
ค.ศ. 2013 – ค.ศ. 2014 ดีอาเตก เตรนตีโน (Diatec Trentino)
ค.ศ. 2014 – ค.ศ. 2015 เอแนร์จี ตี.อี. ดีอาเตก เตรนตีโน (Energy T.I. Diatec Trentino)
ค.ศ. 2015 – ค.ศ. 2018 ดีอาเตก เตรนตีโน (Diatec Trentino)
ค.ศ. 2018 – ปัจจุบัน อีตัส เตรนตีโน (Itas Trentino)

ประวัติ

[แก้]

เตรนตีโนวอลเลย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 และอีกสองวันต่อมา บริษัทได้ซื้อสิทธิ์ในการเล่นในเซเรียอา 1 (ดิวิชั่นแรกของอิตาลี) จากราเวนนา ซึ่งยุบทีมเนื่องจากปัญหาทางการเงิน สโมสรเล่นนัดแรกในเซเรีย อา 1 ที่ปาร์มาเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2000 กับมักซีโคโน ปาร์มา และแพ้ไป 3-0 นัดแรกในบ้านของเตรนตีโนวอลเลย์ และชนะการแข่งขันนัดแรกเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 2000 กับปาโดวา ทีมเจ้าบ้านได้รับชัยชนะด้วยผล 3–2 เตรนตีโนวอลเลย์ เป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลกโดยได้แชมป์ทั้งหมด 4 ครั้ง

ผู้เล่นที่ทีมได้มาในเซเรียอาอิตาลีปีแรกนั้น ได้แก่ ลอเรนโซ เบอร์นาร์ดี และ อันเดรอา ซาร์โตเร็ตติ ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2007 เตรนตีโนวอลเลย์ ได้บรรลุข้อตกลงกับนักกีฬาจำนวนมาก โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่จะมุ่งเน้นไปที่ทีมเยาวชนที่มีผู้เล่นที่มีความสามารถ เช่น ผู้เล่นชาวเซอร์เบีย นิโคลา เกอร์บิช ผู้เล่นชาวบัลแกเรีย วลาดิมีร์ นิโคลอฟ และมาเตย์ คาซีย์สกี และเอมานูเอล บีราเรลลี ผู้เล่นชาวอิตาลี เตรนตีโนวอลเลย์ จบฤดูกาลปกติด้วยอันดับที่หนึ่ง และเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 เตรนตีโนวอลเลย์เอาชนะปิอาเซนซา 3–0 สามารถคว้าแชมป์เซเรียอาเป็นครั้งแรก และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันซีอีวีแชมเปียนส์ลีก 2008–2009 อีกด้วย

มาเตย์ คาซีย์สกี กัปตันทีม

เตรนตีโนวอลเลย์ ชนะรวดในรอบแบ่งกลุ่ม โดยจบอันดับที่ 1 ในกลุ่ม E เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2009 ที่ O2 อารีน่า ในกรุงปราก,สาธารณรัฐเช็ก เตรนตีโนวอลเลย์ เอาชนะ อิราคลิส เทสซาโลนิกิ ทีมจากกรีซ 3-1 ในรอบชิงชนะเลิศ ในปี 2009 เตรนตีโนวอลเลย์ได้สิทธิ์แข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรโลกชาย ที่เมืองโดฮาประเทศกาตาร์ ในวันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน เตรนตีโนวอลเลย์ ชนะ สกราแบวคาตุฟ ทีมจากโปแลนด์ ในรอบชิงชนะเลิศ 3–0 และเป็นแชมป์วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลกในปี 2010 สโมสรสามรถคว้าแชมป์อิตาเลียนคัพและป้องกันแชมป์วอลเลย์บอลชายชิงแชมป์สโมสรโลกในปีต่อมาได้สำเร็จ ด้วยการชนะ ไดนาโม มอสโกว ทีมจากรัสเซีย 3–0 (25–12, 25–20, 25–21)

สัญลักษณ์

[แก้]
โลโก้สโมสรในอาคาร เตรนตีโน
ธงของสโมสร

โลโก้สโมสรและชื่อประกอบด้วยลูกบอลสีแดง นกอินทรีเป็นสัญลักษณ์ของสโมสร และธงของสโมสรใช้เป็นธงของเขตปกครองตนเองของเตรนโต

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]

รายชื่อผู้เล่นฤดูกาล 2021–2022[1]

No. ชื่อ วันเกิด ส่วนสูง (cm) ตำแหน่ง
1 บัลแกเรีย มาเตย์ คาซีย์สกี (1984-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1984 (40 ปี) 203 ตัวตบหัวเสา
3 เบลเยียม เวาท์ด เทีย (2001-04-26) 26 เมษายน ค.ศ. 2001 (23 ปี) 203 ตัวบล็อกกลาง
5 อิตาลี อาเลสซันโดร มีคีเยเลตโต (2001-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 2001 (23 ปี) 207 ตัวตบหัวเสา
6 อิตาลี ริกการ์โด สแบร์โตลี (1998-05-23) 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 (26 ปี) 185 ตัวเซต
7 อิตาลี โอเรสเต กาวูโต (1996-12-05) 5 ธันวาคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 196 ตัวตบหัวเสา
10 อิตาลี จูลีโอ ปีนาลี (1997-04-02) 2 เมษายน ค.ศ. 1997 (27 ปี) 199 ตัวตบตรงข้ามหัวเสา
12 อิตาลี ดานีเอเล อัลเบอร์กาตี (1993-06-21) 21 มิถุนายน ค.ศ. 1993 (31 ปี) 200 ตัวตบตรงข้ามหัวเสา
15 อิตาลี ดานีเอเล ลาเวีย (1999-11-04) 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 198 ตัวตบหัวเสา
16 เยอรมนี ยูเลียน เซเงอร์ (1997-08-26) 26 สิงหาคม ค.ศ. 1997 (27 ปี) 190 ตัวรับอิสระ
18 เซอร์เบีย มาร์โก พอดราสคานิน (1987-08-29) 29 สิงหาคม ค.ศ. 1987 (37 ปี) 204 ตัวบล็อกกลาง
20 เซอร์เบีย ซเรคโก ลิซินัค (1992-05-17) 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 (32 ปี) 205 ตัวบล็อกกลาง
22 อิตาลี โลเรนโซ สเปรอตโต (1999-04-28) 28 เมษายน ค.ศ. 1999 (25 ปี) 184 ตัวเซต
24 อิตาลี คาร์โล เดอ แองเจลิส (1996-01-10) 10 มกราคม ค.ศ. 1996 (28 ปี) 190 ตัวรับอิสระ

เจ้าหน้าที่

[แก้]
ตำแหน่ง ชื่อ
หัวหน้าผู้ฝึกสอน อิตาลี แองเจโล โลเรนเซ็ตติ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อิตาลี เปเตรลา ฟรานเชสโก
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน อิตาลี ลอเรนโซ บาร์บีเอรี
นักสถิติ อิตาลี ฟาบิโอ ดัลลา ฟินา
นักกายภาพบำบัด อิตาลี ลูกา ปีรานี
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา อิตาลี เมาโร แบร์โตลุซซา
ผู้จัดการทีม อิตาลี ริกการ์โด มีคีเยเลตโต

กัปตันทีม

[แก้]

รายชื่อกัปตันทีมที่ผ่านมา

สมัย ชื่อ
ค.ศ. 2000–2001 อิตาลี ฟรานเชสโก ลาโวราโต
ค.ศ. 2001–2003 อิตาลี เปาโล โทโฟลี
ค.ศ. 2003–2004 อิตาลี ลอเรนโซ เบอร์นาร์ดี
ค.ศ. 2004–2005 อิตาลี อันเดรอา ซาร์โตเร็ตติ
ค.ศ. 2005–2007 อิตาลี มาร์โก เมโอนี
ค.ศ. 2007–2009 เซอร์เบีย นิโคลา เกอร์บิช
ค.ศ. 2009–2013 บัลแกเรีย มาเตย์ คาซีย์สกี
ค.ศ. 2013–2015 อิตาลี เอมานูเอล บีราเรลลี
ค.ศ. 2015–2018 อิตาลี ฟิลิปโป ลานซา
ค.ศ. 2018–2021 อิตาลี ซีโมเน เจียนเนลลี
ค.ศ. 2021–ปัจจุบัน บัลแกเรีย มาเตย์ คาซีย์สกี

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

[แก้]

รายชื่อหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมที่ผ่านมา

สมัย ชื่อ
ค.ศ. 2000–2003 อิตาลี บรูโน บาโญลี
ค.ศ. 2003–2005 อิตาลี ซิลวาโน ปรันดี
ค.ศ. 2005–2007 บราซิล ราดาเมส ลัตตารี
ค.ศ. 2007–2013 บัลแกเรีย ราดอสติน สตอยเชฟ
ค.ศ. 2013–2014 อิตาลี โรแบร์โต เซอร์นิออตติ
ค.ศ. 2014–2016 บัลแกเรีย ราดอสติน สตอยเชฟ
ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน อิตาลี แองเจโล โลเรนเซ็ตติ

สนามกีฬา

[แก้]
สนามกีฬา ปาลาเตรนโต

สนามกีฬา ปาลาเตรนโต เป็นสถานที่ที่มีแข่งขันเกมเหย้าในบ้านของสโมสรมาโดยตลอด นับตั้งแต่เปิดในปี 2000 สนามกีฬาตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองเตรนโตบนสนามกีฬากีอาเอ ซึ่งรวมถึงปาลากีอาเอซิโอ สนามฟุตบอล และสนามเบสบอล

ผู้ให้บริการชุดอุปกรณ์

[แก้]

ตารางด้านล่างแสดงผู้ผลิตชุดอุปกรณ์สำหรับทีมเตรนตีโนวอลเลย์

ระยะเวลา ผู้ให้บริการชุดอุปกรณ์
2000–2001
2001–2006
2006–ปัจจุบัน
เวอร์มา(Virma)
มิกาซ่า(Mikasa)
เออร์เรีย(Erreà)
เครื่องแบบในฤดูกาล 2009

เกียรติประวัติ

[แก้]
ถ้วยรางวัลแรก ของเตรนตีโนวอลเลย์
Scudetto เซเรียอา (4)
  • แชมป์: 2008, 2011, 2013, 2015
  • รองชนะเลิศ: 2009, 2010, 2012, 2017
อิตาเลียคัพ (3)
  • แชมป์: 2010, 2012, 2013
  • รองชนะเลิศ: 2011, 2015, 2016, 2017
อิตาเลียซูเปอร์คัพ (2)
  • แชมป์: 2011, 2013
  • รองชนะเลิศ: 2008, 2010, 2012, 2015, 2018
European Union ซีอีวีแชมเปียนส์ลีก (3)
  • แชมป์: 2009, 2010, 2011
  • รองชนะเลิศ: 2016, 2021
ซีอีวีคัพ
  • แชมป์: 2019
  • รองชนะเลิศ: 2015, 2017
Gold medal ชิงแชมป์สโมสรโลก (5)
  • แชมป์: 2009, 2010, 2011, 2012, 2018
  • รองชนะเลิศ: 2013, 2016

อ้างอิง

[แก้]
  1. "2021–22 team". trentino volley (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 25 October 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]