เดเมียน
ปกหนังสือ เดเมียน ประพันธ์โดยแฮร์มัน เฮ็สเซอ | |
ผู้ประพันธ์ | แฮร์มัน เฮ็สเซอ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Die Geschichte von Emil Sinclairs Jugend |
ผู้แปล | ฮิลดา รอสเนอร์ |
ประเทศ | เยอรมัน |
ภาษา | เยอรมัน |
ประเภท | นวนิยาย |
สำนักพิมพ์ | ฮาร์เปอร์คลาสสิก (แปลอังกฤษ) |
วันที่พิมพ์ | ค.ศ. 1919 |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | ค.ศ. 1923[1] |
ชนิดสื่อ | พิมพ์ (ปกแข็งและปกอ่อน) |
หน้า | 390 หน้า (ฉบับภาษาอังกฤษ ค.ศ. 1962, ปกอ่อน) |
ISBN | 0-06-093191-4 (ฉบับแรกภาษาอังกฤษ, ปกอ่อน) |
OCLC | 40739012 |
833/.912 21 | |
LC Class | PT2617.E85 D413 1999 |
เดเมียน (เยอรมัน: Demian) เป็นนวนิยายที่มุ่งเน้นไปยังการเจริญเติบโตทางจิตใจและคุณธรรมของตัวเอก ที่เขียนโดยแฮร์มัน เฮ็สเซอ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1919 โดยมีคำขึ้นต้นเพิ่มขึ้นใน ค.ศ. 1960 เดเมียน ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกภายใต้นามแฝง "เอมิล ซินแคลร์" ซึ่งเป็นชื่อผู้บรรยายเรื่องราวต่าง ๆ แต่ได้มีการเปิดเผยภายหลังว่าเฮ็สเซอเป็นผู้เขียน
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึง เอมิล ซินแคลร์ ที่ถูกเลี้ยงดูในบ้านที่มีฐานะระดับกระฎุมพี ซึ่งเคร่งศาสนาตั้งแต่สมัยยังเด็ก และได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกในสองแง่มุม นั่นคือทางด้านความดีจากศาสนาคริสต์ที่ใสสว่าง กับด้านแห่งความชั่วที่มืดมน กระทั่งเข้าสู่วัยรุ่นเขาได้พยายามแสวงหาวิถีชีวิตของตนเองโดยปราศจากครอบครัว และมิตรสหาย เมื่อเติบโตขึ้น เขาได้ค้นพบตนเอง และพยายามระงับความขัดแย้งทางจิตที่สะสมมาตั้งแต่สมัยยังเด็กที่นำมาซึ่งความเจ็บปวด โดยมีเดเมียนซึ่งเป็นเพื่อนทางจิตวิญญาณ คอยใช้วิธีต่าง ๆ ให้เขาได้ตระหนักถึงความหมายของชีวิตกับจิตวิญญาณของตนเอง
ตัวละครหลัก
[แก้]- เอมิล ซินแคลร์ เป็นตัวละครสำคัญของนวนิยาย โดยซินแคลร์ได้มีความสับสนกับบางอย่างในชีวิต และสิ่งที่เป็นไป อันเป็นสิ่งที่นำเสนอในนวนิยายโดยตลอด
- พ่อกับแม่ของซินแคลร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แรกของซินแคลร์ในการพึ่งพิง แต่ก็เป็นผู้ที่เขาทำการขัดขืนในตอนท้าย
- แมกซ์ เดเมียน เป็นเพื่อนในวัยเด็กและเป็นที่ปรึกษาของซินแคลร์ เดเมียนได้ชักนำให้ซินแคลร์ ได้ค้นพบการใช้ความสามารถของตนเองในช่วงท้าย
รูปแบบ
[แก้]นิยายชุดดังกล่าวได้นำเสนอแนวคิดแบบไญยนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทพอบราซัส ซึ่งได้แสดงอิทธิพลทางจิตวิทยาของคาร์ล ยุง กล่าวคือ สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในนิยายชุดนี้มาจากการที่เอสเสได้ศึกษาถึงจิตวิเคราะห์จากคาร์ล ยุง กับฟรีดริช นีทเชอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่องานประพันธ์ดังกล่าว
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hermann Hesse, Stanley Appelbaum. Demian: A Dual-Language Book.Courier Dover Publications, 2002, p.xiv.
The first English translation by N. H. Priday was published in 1923 in New York by Boni & Liveright; it was re-issued in 1948 by Henry Holt.
ปฐมภูมิ
- Hermann Hesse: Demian. Die Geschichte von Emil Sinclairs Jugend. Suhrkamp, Frankfurt am Main, 2000, ISBN 3-518-36706-4
ทุติยภูมิ
- Maria-Felicitas Herforth: Hermann Hesse: Demian – Siddhartha – Der Steppenwolf. Königs Erläuterungen und Materialien (Bd. 138). Hollfeld: Bange Verlag 2000. ISBN 978-3-8044-1699-4
- Helga Esselborn-Krumbiegel: Hermann Hesse Demian. Erläuterungen und Dokumente. Philipp Reclam jun., Stuttgart, 1991.
- Lothar Bluhm: "ein paar Bände Nietzsche". Ein Nietzsche-Rekurs in Hermann Hesses "Demian" im Spannungsfeld von Wirkungsgeschichte und zeitgenössischer Topik. In: L.B.: Begegnungen. Studien zur Literatur der Klassischen Moderne. University of Oulu, Oulu 2002, S. 85-98.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- A short Demian guide and discussion questions
- A short reference to Demian เก็บถาวร 2007-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Full text as eBook (German) เก็บถาวร 2012-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เดเมียน...ทูตสวรรค์ของฉัน เก็บถาวร 2010-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Demian Sparknotes
- วิจารณ์วรรณกรรมเดเมียน เก็บถาวร 2022-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน