เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด SET:MINT |
---|---|
อุตสาหกรรม | Food Service |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2523 |
ผู้ก่อตั้ง | William E. Heinecke |
สำนักงานใหญ่ | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พื้นที่ให้บริการ | 27 ประเทศในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก, ตะวันออกกลาง, ยุโรป, ออสเตรเลีย, อเมริกาเหนือ |
บุคลากรหลัก | William E. Heinecke (Chairman & Group Chief Executive Officer) Paul Charles Kenny (Chief Executive Officer) Patamawalai Ratanapol (Chief People Officer) Kanya Ruengprateepsang (Chief Financial Officer) Lerssak Boonsongsup (Chief Supply Chain Officer) John Heinecke (Chief Operating Officer – Hot Chain) Choompot Tantisoonthorn (Chief Operating Officer - Cold Chain) Arth Prakhunhungsit (Chief Operating Officer Global Thai Concepts) |
ผลิตภัณฑ์ | Casual Dining Restaurant Quick Service Restaurant (QSR) Food Food Service Food Delivery |
รายได้ | ฿ 44.2 พันล้าน (2018)[1] |
พนักงาน | 37,972 |
บริษัทแม่ | ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) |
บริษัทในเครือ | เดอะ พิซซ่า คอมปะนี สเวนเซ่นส์ Sizzler Dairy Queen เบอร์เกอร์คิง The Coffee Club Riverside Grilled Fish Basil ThaiXpress Benihana |
เว็บไซต์ | www.minorfood.com |
บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: The Minor Food Group; ย่อ MFG) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ซึ่งเปิดดำเนินการร้านอาหาร เดอะ พิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์, ซิซซ์เลอร์, แดรี่ ควีน, เบอร์เกอร์ คิง, เดอะ คอฟฟี่ คลับ และไทยเอ็กซ์เพรส โดย ณ สิ้นปี 2561 มีร้านอาหารทั้งหมดราว 1,500 ร้าน[2]
ประวัติ
[แก้]ไมเนอร์ ฟู้ดก่อตั้งขึ้นโดย วิลเลี่ยม เอ็ลล์วู๊ด ไฮเน็ค (บิล ไฮเน็ค) ในปี พ.ศ. 2523 ด้วยการเปิดตัวร้านพิซซ่าแห่งแรกของบริษัทในประเทศไทย
ในปี 2523 ไมเนอร์ ฟู้ดได้รับสิทธิบริหารจัดการแฟรนไชส์ร้านไอศกรีมชื่อดังอย่างสเวนเซ่นส์จากซาน ฟรานซิสโก โดยในปัจจุบันสเวนเซ่นส์มีสาขาในประเทศไทยถึง 330 สาขาด้วยกัน[3]
ต่อมาในปี 2535 ไมเนอร์ ฟู้ดได้ก่อตั้งบริษัท ไมเนอร์ ชีส จำกัด และ บริษัท ไมเนอร์ แดรี่ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมต้นทุนการผลิต และคุณภาพวัตถุดิบหลักสำหรับร้านอาหารในเครือไมเนอร์ ฟู้ด อีกทั้งได้เปิดตัวซิซซ์เล่อร์ ร้านอาหารที่คัดสรรเมนูพร้อมเสิร์ฟ เนื้อย่างสไตล์ตะวันตก สาขาแรกที่ถนนทองหล่อ
ในปี 2539 ไมเนอร์ ฟู้ดจึงได้เปิดตัว แดรี่ ควีน และต่อมาได้เปิดตัวเบอร์เกอร์ คิง แบรนด์เบอร์เกอร์เมื่อปี 2543
หลังจากนั้นในปี 2544 ไมเนอร์ ฟู้ดจึงได้เริ่มสร้างแบรนด์ของตัวเอง โดยเปิดตัวแบรนด์ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี ต่อมาในปี 2551 ไมเนอร์ ฟู้ดได้ลงทุนเพิ่มเติมในแบรนด์ร้านอาหารต่างชาติ ซึ่งเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ในแบรนด์ร้านอาหารระดับนานาชาติ เดอะ คอฟฟี่ คลับ ร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย ด้วยจำนวนสาขากว่า 450 สาขาใน 10 ประเทศ และมีผู้บริโภคมากกว่า 40 ล้านคนในปัจจุบัน
ในปี 2555 ไมเนอร์ ฟู้ดประสบความสำเร็จในการเปิดตัวธุรกิจร้านอาหารในประเทศจีน ด้วยการลงทุนในธุรกิจร้านอาหาร ริเวอร์ไซด์ แอนด์ คอร์ทยาร์ด แบรนด์ร้านอาหารจานปลาสไตล์เสฉวนบาร์บีคิว รสชาติแบบดั้งเดิม ผสมผสานเข้ากับวิธีการปรุงแบบสไตล์คันทรี่ ต่อมาในปี 2558 บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามข้อตกลงร่วมในการก่อตั้งบริษัทร่วมทุน Patara Fine Thai Cuisine (PFTC) ในสหราชอาณาจักร โดยจะถือหุ้นฝ่ายละ 50% โดยได้สิทธิ์ในสินทรัพย์ในการพัฒนาร้านอาหารไทย 2 ร้านคือ ภัทราและสุดา
ปี 2561 ไมเนอร์ ฟู้ดเข้าซื้อหุ้นกว่า 75% ในบริษัท Benihana Holdings จำกัด ซึ่งเปิดดำเนินการร้านอาหารเบนิฮานากว่า 20 สาขาใน 12 ประเทศทั่วยุโรป เอเชีย ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ
ในปี 2562 ไมเนอร์ ฟู้ดเปิดตัวบริการเดลิเวอรี่ 1112 สำหรับแบรนด์ทั้ง 7 แบรนด์ภายใต้การดูแลของไมเนอร์ ฟู้ด ประเทศไทย ประกอบด้วยเดอะ พิซซ่า คอมปะนี, สเวนเซ่นส์, ซิซซ์เล่อร์, เบอร์เกอร์คิง, แดรี่ควีน, เดอะ คอฟฟี่ คลับ และไทยเอ็กซ์เพรส ผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร ทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และโทรศัพท์สายด่วน
ธุรกิจในเครือไมเนอร์ ฟู้ด
[แก้]ธุรกิจร้านอาหาร
[แก้]- The Pizza Company
- Swensen’s
- Sizzler
- Dairy Queen
- Burger King
- The Coffee Club
- Reverside Grilled Fish
- Basil
- ThaiXpress
- Benihana
- Bonchon
ธุรกิจอื่น ๆ
[แก้]- Minor Daily Limited (MDL)
- Minor Cheese Limited (MCL)
- SSP Thailand
นโยบายสวัสดิภาพสัตว์
[แก้]หลังจากการเจรจากับซิเนอร์เจีย แอนิมอล องค์กรพิทักษ์สัตว์ เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์แต่เพียงผู้เดียวของเบอร์เกอร์คิงในประเทศไทย ก็ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะสั่งซื้อไข่ไก่จากฟาร์มปลอดกรงเท่านั้น (cage-free) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับสาขาของเบอร์เกอร์คิงทุกแห่งในประเทศไทยรวมถึงสาขาที่จะเปิดในอนาคต และจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน พ.ศ. 2570[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Annual Report 2018, p. 55.
- ↑ "รายงานประจำปี 2561".
- ↑ ""กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน สเวนเซ่นส์"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-29. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
- ↑ Burger King commits to cage-free eggs in Thailand