ข้ามไปเนื้อหา

เดอะเกม (เกมทางจิต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะเกม
อายุของเกมไม่ปรากฏ (ดู จุดกำเนิด)
ระยะเวลาเล่นไม่มีที่สิ้นสุด (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
โอกาสสุ่มบางส่วน
ทักษะที่จำเป็นการระงับความคิด, กลยุทธ์

เดอะเกม (อังกฤษ: The Game) เป็นเกมทางจิต (mental game) ที่มีเป้าหมายในการหลีกเลี่ยงการนึกถึงเดอะเกมเอง ผู้เล่นถือว่าแพ้เมื่อนึกถึงเดอะเกม และต้องประกาศทุกครั้งที่แพ้ รูปแบบของเดอะเกมส่วนใหญ่ไม่มีการชนะ อาจถือว่าคนทั้งโลกหรือคนที่รู้เกี่ยวกับเดอะเกมทั้งหมดกำลังเล่นเกมนี้อยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับแต่ละแบบของเดอะเกม มักมีการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเพิ่มจำนวนคนที่รู้เกี่ยวกับเดอะเกมและเพิ่มจำนวนการแพ้

แม้จะไม่มีใครรู้ต้นกำเนิดของเดอะเกมเลโอ ตอลสตอยได้เล่นเกมที่ใช้กระบวนการประชดใน ค.ศ. 1840

วีธีการเล่น

[แก้]

มีกฎหลักสามข้อที่มักถูกใช้ในเดอะเกม:[1][2][3][4]

  1. ทุกคนบนโลกกำลังเล่นเดอะเกม (บางครั้งอาจมีการจำกัดความเป็น "ทุกคนในโลกที่รู้เกี่ยวกับเดอะเกมกำลังเล่นเดอะเกม" หรือ "คุณกำลังเล่นเดอะเกม" คนไม่สามารถเลือกที่จะไม่เล่นเดอะเกม การเล่นเกมไม่ต้องการคำอนุญาตและผู้เล่นไม่สามารถหยุดเล่นได้
  2. ผู้เล่นแพ้เดอะเกมเมื่อนึกถึงเดอะเกม
  3. ผู้แพ้ต้องประกาศการแพ้ของตน สามารถทำได้โดยการพูดประโยค เช่น "ฉันพึ่งแพ้เดอะเกม" หรืออาจประกาศในรูปแบบอื่น เช่น ผ่านทางเฟซบุ๊ก บางคนอาจส่งสัญญาณหรือแสดงท่าทางที่ทำให้คนอื่นนึกถึงเดอะเกม

ความหมายของการนึกถึงเดอะเกมไม่ชัดเจนนัก หากผู้เล่นพูดเกี่ยวกับเดอะเกมโดยที่ไม่รู้ตัวว่าพวกเขาได้แพ้ แบบนี้อาจถือว่าแพ้หรือไม่แพ้ก็ได้ หากคนพูดว่า "เดอะเกมคืออะไร" ก่อนจะรู้กฎของเกมจะนับว่าแพ้หรือไม่ก็แล้วแต่จะตีความ บางครั้งมีการตีความว่าผู้เล่นไม่ถือว่าแพ้หากคนอื่นประกาศการพ่ายแพ้ แม้กฎข้อที่สองจะสื่อว่าผู้เล่นแพ้ไม่ว่าจะนึกถึงเดอะเกมจากอะไรก็ตาม หลังผู้เล่นประกาศการพ่ายแพ้ของตน หรือหลังผู้เล่นนึกถึงเดอะเกม บางครั้งมีการอนุญาตให้มีระยะผ่อนผันระหว่าง 3 วินาที จนถึง 30 นาที เพื่อลืมเกี่ยวกับเดอะเกม ในระหว่างนั้นผู้เล่นไม่สามารถแพ้เดอะเกมได้อีกครั้ง[5][6]

A yellow post-it note reading "You lose" stuck on the underside of a toilet.
กลยุทธ์ทั่วไปคือการซ่อนกระดาษโน้ตเพื่อให้คนอื่นแพ้เดอะเกม

กฎทั่วไปไม่ได้ระบุว่าเดอะเกมจะจบลงเมื่อไหร่ อย่างไรก็ตามผู้เล่นบางคนกล่าวว่าเดอะเกมจะจบต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรประกาศออกโทรทัศน์ว่า "เดอะเกมได้ยุติลงแล้ว"[3]

กลยุทธ์

[แก้]

กลยุทธ์มุ่งไปที่การทำให้คนอื่นแพ้เดอะเกม วิธีที่มักถูกใช้ได้แก่การพูดว่า "เดอะเกม" หรือการเขียนเกี่ยวกับเดอะเกมบนกระดาษโน้ตและซ่อนไว้ บนรอยขูดขีดเขียน หรือบนธนบัตร[2][7]

เมื่อเวลาผ่านไปมักมีการเชื่อมโยงอย่างอื่นเข้ากับเดอะเกมทำให้ผู้เล่นแพ้ ผู้เล่นบางคนมีความสุขในการคิดหาวิธีกลั่นแกล้งให้คนอื่นแพ้เดอะเกม[8]

กลยุทธ์อื่นได้แก่การใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื้อยืด ปุ่มกด แก้วน้ำ โปสเตอร์ และสติกเกอร์ติดรถ เพื่อโฆษณาเดอะเกม นอกจากนี้เดอะเกมยังแผร่กระจายทางเว็บไซต์สังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์[8]

จุดกำเนิด

[แก้]
ผู้หญิงถือป้ายเขียนว่า คุณแพ้เดอะเกม

ต้นกำเนิดของเดอะเกมนั้นไม่แน่นอน บนบทความข่าว ค.ศ.​ 2008 Justine Wettschreck กล่าวว่าน่าจะมีการเล่นเดอะเกมตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 และอาจเริ่มขึ้นในประเทศออสเตรเลียหรืออักฤษ[9] ทฤษฎีหนึ่งมีว่าเดอะเกมอาจถูกคิดต้นในเมืองลอนดอนเมื่อ ค.ศ.​1996 หลังวิศวกรชาวอังกฤษสองคนตกรถไฟเที่ยวสุดท้ายและต้องรอที่สถานีรถไฟทั้งคืน พวกเขาพยายามไม่นึกถึงสถานการณ์ของพวกเขาและใครก็ตามที่นึกถึงมันก่อนถือว่าแพ้[6][7] อีกทฤษฎีหนึ่งเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1996 เช่นกัน โดยกล่าวว่าเดอะเกมถูกคิดค้นโดย Jamie Miller เพื่อสร้างความรำคาญแก่คนอื่น[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Boyle, Andy (19 March 2007). "Mind game enlivens students across U.S." The Daily Nebraskan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 May 2008.
  2. 2.0 2.1 Rooseboom, Sanne (15 December 2008). "Nederland gaat nu ook verliezen". De Pers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2008.
  3. 3.0 3.1 "Three rules of The Game". Metro. 2008-12-03. สืบค้นเมื่อ 2017-05-20.
  4. "Don't think about the game". Rutland Herald. 3 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-04-01.
  5. 5.0 5.1 Montgomery, Shannon (17 January 2008). "Teens around the world are playing 'the game'". The Canadian Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-04-01.
  6. 6.0 6.1 Kaniewski, Katie (1 March 2009). "You just lost the Game". Los Angeles Loyolan. สืบค้นเมื่อ 27 March 2009.
  7. 7.0 7.1 "If you read this you've lost The Game". Metro. 3 December 2008. สืบค้นเมื่อ 6 July 2014.
  8. 8.0 8.1 Fussell, James (21 July 2009). "'The Game' is a fad that will get you every time". The Kansas City Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2009.
  9. Wettschreck, Justine (31 May 2008). "Playing 'The Game' with the other kids". Daily Globe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-14. สืบค้นเมื่อ 11 November 2014.