ข้ามไปเนื้อหา

เดอะฟอกออฟวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะฟอกออฟวอร์
Theatrical release poster
กำกับเออร์โรล มอร์ริส
อำนวยการสร้างเออร์โรล มอร์ริส
Michael Williams
Julie Ahlberg
นักแสดงนำโรเบิร์ต แม็กนามารา
กำกับภาพRobert Chappell (ผู้สัมภาษณ์)
Peter Donahue
ดนตรีประกอบPhilip Glass
ผู้จัดจำหน่ายSony Pictures Classics
วันฉายฝรั่งเศส 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2003 (เทศกาลหนังเมืองคานส์ ค.ศ. 2003)
สหรัฐอเมริกา 19 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (limited)
แคนาดา 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (limited)
ออสเตรเลีย 18 มีนาคม ค.ศ. 2004
สหราชอาณาจักร 2 เมษายน 2004
ความยาว95 นาที
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาษาอังกฤษ

เดอะฟอกออฟวอร์: อีเลฟเวนเลสเซินส์ฟรอมเดอะไลฟ์ออฟโรเบิร์ต แม็กนามารา (อังกฤษ: The Fog of War: Eleven Lessons from the Life of Robert S. McNamara) (พ.ศ. 2546) คือภาพยนตร์สารคดีจากสหรัฐอเมริกาที่กำกับโดย เออร์โรล มอร์ริส เกี่ยวกับชีวิตและช่วงเวลาของโรเบิร์ต แม็กนามารา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา

เดอะ ฟอก ออฟ วอร์นำเสนอถึงความไม่แน่นอนในสนามรบระหว่างสงคราม ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์ ประเภทภาพยนตร์สารดคียอดเยี่ยม และ Independent Spirit Award for Best Documentary Feature[1]

หลักการ

[แก้]

เดอะ ฟอก ออฟ วอร์ ใช้การตัดต่อภาพระหว่างเทปบันทึกการสนทนาของคณะรัฐมนตรีแห่งสหรัฐอเมริกา และการสัมภาษณ์โรเบิร์ต แม็กนามารา วัยแปดสิบห้าปี นำเสนอชีวิตของเขาตั้งแต่ช่วงที่ทำงานในกองทัพระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประธานบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ในรัฐบาลของประธานาธิบดีเคนเนดี และจอห์นสัน เพื่ออำนวยการสงครามเวียดนาม เนื้อหาในช่วงการทำงานในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนี้เน้นถึงความป่าเถื่อนของสงครามในช่วงเวลาของมัน และสาเหตุที่เขาถูกเชิญขึ้นรับตำแหน่งรัฐมนตรีทั้ง ๆ ที่เขาแทบจะไม่มีประสบการณ์ด้านการทหาร

แรงบันดาลใจในการสร้าง

[แก้]

จากการปรากฏตัวของเออร์โรล มอร์ริส ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ใน พ.ศ. 2547 เขากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือสารคดีของแม็คนามารา (เขียนร่วมกับเจมส์ ไบรท์) Wilson's Ghost: Reducing the Risk of Conflict, Killing, and Catastrophe in the 21st Century (พ.ศ. 2544) [2] มอร์ริสใช้เวลาสัมภาษณ์แม็คนามารายี่สิบชั่วโมง ซึ่งตัวสารคดีสองชั่วโมงนี้สรุปเนื้อหาสิบเอ็ดบทจาก In Retrospect: The Tragedy and Lessons of Vietnam (พ.ศ. 2538) เขาแนะนำและกล่าวถึงบทเรียนจากการสัมภาษณ์ว่า "เมฆหมอกแห่งสงคราม" (The fog of war) เนื่องจากแม็คนามาราไม่เห็นด้วยกับการตีความหมายของมอร์ริส ในเหตุการณ์ที่เบิร์กลีย์ เขาจึงเพิ่มเติมให้ภาพยนตร์นี้สมบูรณ์ด้วยการเพิ่มเติมสิบบทเรียนในรุ่นดีวีดี

แต่เมื่อถูกถามถึงการประยุกต์ใช้สิบเอ็ดบทเรียนจาก In Retrospect ในการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546 แม็คนามาราปฏิเสธที่จะตอบและให้เหตุผลว่าอดีตรัฐมนตรีจะต้องไม่วิจารณ์นโยบายของรัฐมนตรีที่ยังดำรงตำแหน่ง เขากล่าวว่าคนอื่นสามารถประยุกต์ใช้สิบเอ็ดบทเรียนในสงครามอิรักได้ แต่เขาจะไม่ทำ อีกทั้งยังกล่าวว่าบทเรียนของเขานั้นเป็นมุมมองทั่วไปของสงคราม มิได้มีความจำเพาะเจาะจง[2]

บทเรียนชีวิตสิบเอ็ดบทของโรเบิร์ต แม็คนามารา

[แก้]
  1. เรียนรู้ศัตรูของคุณ
  2. ความมีเหตุผลจะไม่ช่วยอะไรเรา
  3. มันมีอะไรมากไปกว่าเรื่องของบุคคลคนเดียว
  4. ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  5. หลักแห่งความได้สัดส่วน[note 1]ควรจะเป็นแนวทางของสงคราม
  6. เอาข้อมูลมา
  7. ความเชื่อและสิ่งที่เห็นมักจะผิดทั้งคู่
  8. จงมีความพร้อมที่จะตรวจสอบเหตุผลของคุณอีกครั้ง
  9. เพื่อการทำสิ่งดี คุณอาจจะต้องยุ่งเกี่ยวกับความเลว
  10. อย่าพูดว่าไม่เคย
  11. คุณไม่มีทางเปลี่ยนธรรมชาติของมนุษย์

สิบบทเรียนเพิ่มเติมจากแม็คนามารา

[แก้]

ส่วนเสริมนี้ปรากฏในส่วนพิเศษของรุ่นดีวีดี

  1. มนุษยชาติจะไม่กำจัดสงครามในศัตวรรษนี้ แต่เราสามารถลดความป่าเถื่อนของสงคราม ระดับการสังหาร ด้วยการใช้หลักการ "Just War," โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "หลักแห่งความได้สัดส่วน"
  2. การรวมกันอย่างไร้ขีดจำกัดของความล้มเหลวของมนุษย์และอาวุธนิวเคลียร์จะนำไปสู่การทำลายล้างประเทศชาติ
  3. พวกเรา (สหรัฐอเมริกา) คือชาติที่มีอำนาจสูงสุดทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร และจะเป็นเช่นนี้ไปในอีกหลายทศวรรตข้างหน้า แต่เราไม่ใช่ผู้รอบรู้ ถ้าเราไม่สามารถโน้มน้าวชาติอื่นที่มีความสนใจและมีค่านิยมในการใช้อำนาจเพื่อความชอบธรรมเหมือนกันได้แล้วไซร้ เราก็ไม่ควรจะฉายเดี่ยวยกเว้นการป้องกันทวีปอเมริกา อลาสกา และฮาวายโดยตรง ซึ่งดูเหมือนจะไม่เป็นที่ต้องการ
  4. หลักการทางศีลธรรมมักจะชี้นำนโยบายการต่างประเทศและการป้องกันประเทศได้หลายรูปแบบ แต่แน่นอนว่าเราควรจะตั้งเป้าหมายหลักในนโยบายต่างประเทศของอเมริกา และมันต้องเป็นนโยบายระดับโลกคือการทำลายล้างชีวิตผู้คนที่เกิดขึ้นในศัตวรรตนี้ การทำลายชีวิต 160 ล้านที่เกิดขึ้นในศัตวรรษที่ยี่สิบ
  5. เรา ชาติที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ล้มเหลวในการรับผิดชอบต่อคนยากจนของเราและคนจนในโลก ล้มเหลวที่จะช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่คนจนในแง่ของสิ่งมูลฐานอันประกอบด้วยสารอาหาร การอ่านเขียน สุขภาพและการจ้างงาน
  6. ผู้บริหารบริษัมจะต้องรู้ว่ามันไม่มีข้อขัดแย้งอะไรเลยระหว่างใจอ่อนและใจแข็ง แน่นอนว่าพวกเขามีภาระที่ต้องรับผิดชอบผุ้ถือหุ้น แต่พวกเขาก็มีภาระที่ต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้าง ลูกค้า และสังคมของบริษัทเช่นกัน
  7. ประธานีธิบดีเคนเนดีเชื่อในความรับผิดชอบชั้นต้นของประธานาธิบดี แน่นอนว่าความรับผิดชอบชั้นต้นของประธานาธิบดีนั้นคือการนำพาประเทศให้พ้นจากสงครามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  8. สงครามนั้นเป็นเครื่องมือโดยการสร้างความไม่ลงรอยระหว่าง/ภายในประเทศ และการแทรกแทรงทางเศรษฐกิจนั้นยากนักที่จะมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เราควรจะสร้างระบบศาลนานาชาติที่อิงหลักนิติศาสตร์ ที่ซึ่งอเมริกาปฏิเสธที่จะสนับสนุน ที่จะมารับผิดชอบต่ออาชญากรรมต่อมนุษยชน
  9. ถ้าเราต้องยุ่งเกี่ยวกับอาชญากรในโลกนี้อย่างมีประสอทธิภาพ เราจะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ฉัน (แม็คนามารา) ไม่ได้หมายถึงความเห็นอกเห็นใจนะ แต่หมายถึงความเข้าใจเพื่อที่จะตอบโต้การโจมตีต่อเราและโลกตะวันตก
  10. หนึ่งในอันตรายที่ใหญ่หลวงที่สุดที่เรากำลังเผชิญในทุกวันนี้คือความเสี่ยงที่ผู้ก่อการร้ายจะมืออาวุธทำลายล้างสูงไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นผลมาจากความล้มเหลวของการดูแลปกครองที่จำกัด เราในอเมริกากำลังสร้างความล้มเหลวนั่น

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. หมายถึงหลักการที่ว่าการกระทำใด ๆ ไม่ควรจะกระทำมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามและการลงโทษอาชญากร

เชิงอรรถอ้างอิง

[แก้]
  1. "NY Times: The Fog of War". NY Times. สืบค้นเมื่อ 2008-11-23.
  2. 2.0 2.1 UC Berkeley News
[แก้]