เดอะซูเปอร์ลีก
ก่อตั้ง | 18 เมษายน 2021 |
---|---|
ภูมิภาค | ยุโรป |
จำนวนทีม | 20 |
คำขวัญ | The best clubs. The best players. Everyweek.[1] |
เว็บไซต์ | thesuperleague |
เดอะซูเปอร์ลีก (อังกฤษ: The Super League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลตามฤดูกาลสำหรับทีมสโมสรในยุโรป เริ่มต้นลีกมี 20 ทีม โดย 15 ทีมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของการแข่งขัน[2] ลีกถูกสร้างขึ้นโดยองค์กรการค้าที่เรียกว่า European Super League Company บริษัทนี้มีเป้าหมายที่จะแข่งขันกับการแข่งขันของยูฟ่า เช่น แชมเปียนส์ลีก ซึ่งปัจจุบันเป็นทัวร์นาเมนต์ของสโมสรชั้นนำของยุโรป[2]
ผู้นำที่อยู่เบื้องหลังอีเอสแอลได้แก่ โฟลเรนติโน เปเรซ (ประธานสโมสรเรอัลมาดริด), อันเดรีย อันเญลลี (ประธานสโมสรยูเวนตุสในขณะนั้น), โจเอล เกลเซอร์ (เจ้าของร่วมของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด), จอห์น ดับเบิลยู. เฮนรี (เจ้าของสโมสรลิเวอร์พูล) และสแตน โครเอนเก (เจ้าของสโมสรอาร์เซนอล) ภายในปี 2023 เปเรซและฌูอัน ลาปอร์ตา ประธานบาร์เซโลนายังคงเป็นผู้สนับสนุนอีเอสแอล[3]
การประกาศจัดตั้งยูโรเปียนซูเปอร์ลีก ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ได้รับเสียงคัดค้านอย่างกว้างขวางจากแฟนบอล ผู้เล่น ผู้จัดการทีม นักการเมือง และสโมสรอื่นๆ ในอังกฤษ[4] ซึ่งเป็นประเทศที่มีตัวแทนเข้าร่วมโปรเจ็กต์มากที่สุดคือ 6 ทีม ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แมนเชสเตอร์ซิตี ลิเวอร์พูล ทอตนัมฮอตสเปอร์ เชลซี และอาร์เซนอล นอกจากนี้ยังได้รับการคัดค้านจากยูฟ่าและฟีฟ่าและรัฐบาลบางประเทศ[5] คำวิจารณ์ส่วนใหญ่ที่ต่อต้านอีเอสแอลนั้นเกิดจากความกังวลเกี่ยวกับการขาดความสามารถในการแข่งขัน หากประกอบด้วยทีมระดับชั้นนำจากประเทศในยุโรปไม่กี่ประเทศเท่านั้น[6][7]
การต่อต้านการประกาศการจัดตั้งลีกทำให้ 9 สโมสรที่เกี่ยวข้องรวมถึงสโมสรในอังกฤษทั้ง 6 สโมสรประกาศความตั้งใจที่จะถอนตัว[8] สมาชิกที่เหลือของอีเอสแอลได้ประกาศในภายหลังว่าพวกเขาจะปรับโฉมโครงการให้เป็นรูปแบบที่เปิดกว้างมากขึ้น[9] 3 วันต่อมา อีเอสแอลประกาศว่ากำลังระงับการดำเนินการ[10] ในขณะที่มีข้อพิพาททางกฎหมายเกิดขึ้น[11]
สโมสรผู้ก่อตั้ง
[แก้]อาร์เซนอล
เชลซี
ทอตนัมฮอตสเปอร์
ทีมจากมาดริด
แอตเลติโกมาดริด
เรอัลมาดริด
ทีมจากแมนเชสเตอร์
แมนเชสเตอร์ซิตี้
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ทีมจากมิลาน
อินเตอร์มิลาน
มิลาน
สิบสองสโมสรได้รับการประกาศให้เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง โดยมีอีกสามสโมสรที่จะเข้าร่วมก่อนเปิดฤดูกาล ประกอบด้วย บิกซิกซ์จากอังกฤษ สามสโมสรจากสเปน และสามสโมสรจากอิตาลี โดยสโมสรผู้ก่อตั้งทั้งสิบห้าทีมจะเป็นทีมที่เข้าร่วมแข่งขันถาวร มีหลายสโมสร รวมไปถึง ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง และไบเอิร์นมิวนิก ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมแข่งขัน[12]
สโมสรผู้ก่อตั้งดั้งเดิม
- อาร์เซนอล (ถอนตัวเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021)[13]
- เชลซี (ถอนตัวเมื่อ 21 เมษายน ค.ศ. 2021)[14]
- ลิเวอร์พูล (ถอนตัวเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021)[15]
- แมนเชสเตอร์ซิตี (ถอนตัวเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021)[16]
- แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ถอนตัวเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021)[17]
- ทอตนัมฮอตสเปอร์ (ถอนตัวเมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021)[18]
- อินเตอร์มิลาน
- ยูเวนตุส
- มิลาน
- อัตเลติโกเดมาดริด
- บาร์เซโลนา
- เรอัลมาดริด
การถอนตัวและการตอบสนองของซูเปอร์ลีก
[แก้]เมื่อ 20 เมษายน ค.ศ. 2021 แมนเชสเตอร์ซิตียืนยันว่าพวกเขาเริ่มขั้นตอนการขอถอนตัวจากซูเปอร์ลีกอย่างเป็นทางการ[16] อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานยูฟ่า ออกแถลงการณ์ต้อนรับพวกเขากลับสู่ "ครอบครัวฟุตบอลยุโรป"
อาร์เซนอล,[13] ลิเวอร์พูล,[15] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด,[17] และทอตนัมฮอตสเปอร์[18] ประกาศถอนตัวในวันรุ่งขึ้น โดยเชลซีถอนตัวในช่วงหัวค่ำของวันถัดมา[14] ในขณะเดียวกัน อินเตอร์มิลาน สโมสรของอิตาลีบอกกับสำนักข่าวANSAว่า "ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการนี้อีกต่อไป"[19] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันการถอนตัวอย่างเป็นทางการก็ตาม ข่าวลือมากมายยังระบุว่ามิลานคู่แข่งร่วมเมืองกำลังพิจารณาที่จะถอนตัวจากซูเปอร์ลีกเช่นเดียวกัน โดยเหลือเพียงยูเวนตุส, อัตเลติโกเดมาดริด, เรอัลมาดริด และบาร์เซโลนาเท่านั้นที่เข้าร่วมการแข่งขัน
หลังจากการถอนตัวของสโมสรอังกฤษเมื่อ 21 เมษายน ซูเปอร์ลีกแถลงว่า "ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน เรากำลังจะพิจารณาขั้นตอนที่เหมาะสมที่สุดในการปรับโครงสร้างโครงการใหม่ โดยคำนึงถึงเป้าหมายของเราในการนำเสนอประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับแฟน ๆ ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของแฟนบอลทั้งหมด"[20]
ผลตอบรับ
[แก้]หน่วยงานฟุตบอล
[แก้]อาร์แซน แวงแกร์ อดีตผู้จัดการทีม[21]
การประกาศดังกล่าวทำให้เกิดเสียงประณามอย่างกว้างขวางจากยูฟ่า, สมาคมฟุตบอล และพรีเมียร์ลีกจากอังกฤษ, สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี และเซเรียอาจากอิตาลี, ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปน และลาลิกาจากสเปน ซึ่งมาจากประเทศของสโมสรผู้ก่อตั้ง พวกเขาออกแถลงการณ์ร่วมระบุว่าพวกเขาจะ "พิจารณามาตรการทั้งหมดทั้งในด้านการพิจารณาคดีและการกีฬา" เพื่อป้องกันไม่ให้ซูเปอร์ลีกดำเนินการต่อไป ยูฟ่าและสามชาติเตือนว่าสโมสรใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับซูเปอร์ลีก จะถูกแบนจากการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ ฟุตบอลยุโรป และการแข่งขันฟุตบอลทั้งหมด[22] พวกเขายังขู่ว่า ผู้เล่นที่เกี่ยวข้องอาจถูกตัดสินในการเป็นตัวแทนทีมชาติในการแข่งขันระดับนานาชาติด้วย[22][23] สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส และสันนิบาตฟุตบอลอาชีพจากฝรั่งเศส รวมถึงสมาคมฟุตบอลเยอรมัน และด็อยท์เชอฟุสส์บัลล์ลีกาจากเยอรมนี ซึ่งยังไม่มีสโมสรใดเข้าร่วม ก็ออกแถลงการณ์คัดค้านซูเปอร์ลีก[24][25][26] นอกจากนี้ยังมีคำวิจารณ์ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า อาร์เซนอล, แมนเชสเตอร์ซิตี และทอตนัมฮอตสเปอร์ ต่างไม่เคยชนะการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยเฉพาะสโมสรหลังที่ไม่เคยชนะในการแข่งขันลีกสูงสุดในประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1961[27]
สมาคมสโมสรฟุตบอลยุโรป ซึ่งมีอันเดรอา อันเจลนี รองประธานซูเปอร์ลีก เป็นประธานสมาคมด้วย ได้จัดประชุมเร่งด่วนและประกาศคัดค้านแผนดังกล่าวในเวลาต่อมา[28] อันเจลนีเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของยูฟ่า และสโมสรผู้ก่อตั้งซูเปอร์ลีก ซึ่งเขาไม่ได้เข้าร่วมการประชุมนี้ ต่อมาอันเจลนีลาออกจากตำแหน่งประธานอีซีเอ และสมาชิกคณะกรรมการบริหารของยูฟ่า โดยทั้ง 12 สโมสรในซูเปอร์ลีกก็ออกจากอีซีเอด้วย[29][30][31] ด้านฟีฟ่ายังแสดงความไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าว[32]
กลุ่มผู้สนับสนุนฟุตบอลยุโรป ซึ่งหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของผู้สนับสนุนใน 45 ประเทศของยูฟ่า ออกแถลงการณ์คัดค้านการก่อตั้งซูเปอร์ลีก[33]
นักการเมืองและรัฐบาล
[แก้]นักการเมืองหลายคนแสดงความคิดเห็นคัดค้านต่อแผนดังกล่าว บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร กล่าวว่าเรื่องนี้ "สร้างความเสียหายต่อฟุตบอลอย่างมาก" และปฏิญาณว่าจะ "ไม่ดำเนินไปในทางที่เสนออยู่ในขณะนี้"[34] นอกจากนี้ โอลิเวอร์ โดว์เดน รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกล่าวในแถลงการณ์ต่อสภาว่า "การก่อตั้งซูเปอร์ลีกเป็นสิ่งที่ขัดต่อจิตวิญญาณของเกม" โดยให้คำมั่นว่าจะทำ "ทุกวิถีทาง" เพื่อหยุดสโมสรในอังกฤษไม่ให้เข้าร่วมแข่งขัน[35][36] แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส สนับสนุนจุดยืนของยูฟ่า โดยระบุว่า ""รัฐบาลฝรั่งเศสจะสนับสนุนทุกขั้นตอนที่ดำเนินการโดยสมาคมฟุตบอล สันนิบาตอาชีพ ยูฟ่า และฟีฟ่า เพื่อปกป้องความสมบูรณ์ของการแข่งขันภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ หรือในยุโรป"[37] รัฐบาลสเปนออกแถลงการณ์ว่าพวกเขา "ไม่สนับสนุนความคิดริเริ่มในการสร้างซูเปอร์ลีกที่ส่งเสริมโดยสโมสรต่าง ๆ ในยุโรปรวมถึงสเปนด้วย"[38] มารีโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ยังให้การสนับสนุนยูฟ่าในเรื่องการตัดสินใจของพวกเขา โดยกล่าวว่าเขา "สนับสนุนจุดยืนของหน่วยงานอิตาลีและหลายชาติในยุโรป"[39] เจ้าชายวิลเลียม ดยุกแห่งเคมบริดจ์ ประธานสมาคมฟุตบอลอังกฤษ กล่าวว่าเขา "แสดงความกังวลเกี่ยวกับแผนการก่อตั้งซูเปอร์ลีก ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับฟุตบอลที่พวกเรารัก"[40]
คำวิจารณ์
[แก้]มีการอธิบายว่าซูเปอร์ลีกเป็นการ "ทำลาย" โครงสร้างที่สำคัญที่สุดของฟุตบอลยุโรปนับตั้งแต่มีการสร้างยูโรเปียนคัพ โดยอ้างถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสโมสรระดับล่างคล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการก่อตั้งพรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 1992[41][42][43] อย่างไรก็ตาม โฟลเรนติโน เปเรซ ประธานซูเปอร์ลีก แย้งว่าซูเปอร์ลีกจะสร้างรายได้จากฟุตบอลเนื่องจากจะเพิ่มรายได้โดยรวมในฟุตบอล ดังนั้นจึงทำให้สโมสรใหญ่ ๆ สามารถลงทุนกับสโมสรขนาดเล็กได้มากขึ้นผ่านการซื้อตัวนักเตะ
นอกจากนี้เขายังระบุว่าซูเปอร์ลีก "ไม่ใช่การแข่งขันของคนรวย แต่เป็นการแข่งขันเพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อกอบกู้ฟุตบอลโดยผู้ยิ่งใหญ่"[44][45]
ผู้แสดงความคิดเห็นตั้งข้อสังเกตว่า ซูเปอร์ลีกจะขจัดความเสี่ยงทางการเงินสำหรับสมาชิกผู้ก่อตั้งเนื่องจากการก่อตั้งลีกแบบ "กึ่งปิด" คล้ายกับยูโรลีกของบาสเก็ตบอล ซึ่งกลุ่มสโมสรผู้ก่อตั้งได้รับการรับรองว่าจะได้เข้าร่วมแข่งขันซูเปอร์ลีกทุกปีโดยไม่ต้องผ่านคุณสมบัติ สิ่งนี้จะช่วยขจัดความเสี่ยงที่สโมสรจะตกชั้นในลีกภายในประเทศ หรือไม่ผ่านเข้ารอบแชมเปียนส์ลีก จึงทำให้สโมสรผู้ก่อตั้งมีความมั่นคงในการสร้างรายได้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้น[46][47] หุ้นของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเพิ่มขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ครึ่งหลังจากการประกาศก่อตั้งซูเปอร์ลีก รวมไปถึงหุ้นของยูเวนตุสเพิ่มขึ้นสูงถึง 16 เปอร์เซ็นต์ด้วย[48] ผู้แสดงความคิดเห็นยังระบุด้วยว่าซูเปอร์ลีกจะทำให้การแข่งขันภายในประเทศกลายเป็นลีกที่ไม่เกี่ยวข้องและกลายเป็นลีกที่อยู่ระดับต่ำกว่าเมื่อเทียบกับซูเปอร์ลีก และมันจะทำลายความคิดที่อยู่เบื้องหลังของระบบเลื่อนชั้นและตกชั้น อย่างไรก็ตาม โฟลเรนติโน เปเรซ ประธานซูเปอร์ลีก อ้างว่าลีกมีแผนที่จะเพิ่มระบบเลื่อนชั้นและตกชั้นในภายหลัง[49][50] อเล็กซ์ เว็บบ์ คอลัมนิสต์ของบลูมเบิร์ก แย้งว่าเมื่อซูเปอร์ลีกทำให้พรีเมียร์ลีกหมดความนิยมลง อาจทำให้อำนาจอ่อนของอังกฤษลดลงได้เช่นกัน[51] มาร์ก เอเดลแมน นักเขียนของฟอบส์ และศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจากซิตียูนิเวอร์ซิตีออฟนิวยอร์ก เขียนว่าซูเปอร์ลีกจะนำรูปแบบลีกกีฬาอาชีพของสหรัฐอเมริกาที่ร่ำรวยเข้ามาสู่ยุโรป[52]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Super League". The Super League. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "European Super League – the key questions: What is it? Who is involved? How likely?". Sky Sports. 18 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "'Football and fans have won' - Real Madrid & Barcelona presidents Florentino Perez & Joan Laporta celebrate new European Super League ruling". Goal (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-21.
- ↑ "No protection for big clubs in new European Super League proposals". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 30 July 2021. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.
- ↑ Harris, Daniel; Ingle, Sean (20 April 2021). "European Super League: backlash builds against breakaway plan – live!". The Guardian. ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ Ogden, Mark (19 April 2021). "Super League is wanted only by a cabal of Europe's elite club owners; fans have been forgotten". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ Moñino, Ladislao J.; Pineda, Rafael; Tronchoni, Nadia (19 April 2021). "Spain's LaLiga slams plan for European Super League as 'secessionist and elitist'". El Pais English. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ Hytner, David; Hunter, Andy; Jackson, Jamie (20 April 2021). "Chelsea and Manchester City quit Super League after FA ban warning". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ "European Super League will 'reconsider steps to reshape' as English clubs leave". The Athletic. 21 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ Marcotti, Gabriele (21 April 2021). "Super League suspended: Why English clubs pulled out, and what's next for them and UEFA". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2021. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.
- ↑ Barry, Coral (31 May 2021). "Football news – Super League file complaint against UEFA and FIFA with EU Court of Justice". Eurosport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ Crafton, Adam. "Bayern Munich and PSG are not backing breakaway European Super League plans". The Athletic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
- ↑ 13.0 13.1 "An open letter to our fans" (Press release). Arsenal F.C. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ 14.0 14.1 "Club statement | Official Site | Chelsea Football Club". ChelseaFC. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ 15.0 15.1 "Liverpool Football Club statement" (Press release). Liverpool F.C. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ 16.0 16.1 Pollard, Rob (20 April 2021). "Club statement" (Press release). Manchester City F.C. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ 17.0 17.1 "Manchester United withdraw from European Super League" (Press release). Manchester United F.C. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ 18.0 18.1 "Club statement" (Press release). Tottenham Hotspur F.C. 20 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ "Superlega: Inter, 'noi non più interessati' - Ultima Ora". Agenzia ANSA (ภาษาอิตาลี). 2021-04-21. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อAthletic withdraw
- ↑ Fordham, John (19 April 2021). "Former Arsenal boss Arsene Wenger calls European Super League a 'bad idea', is a threat to Premier League and calls on football to stay united". TalkSport. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ 22.0 22.1 Stone, Simon (18 April 2021). "European Super League: Uefa and Premier League condemn 12 major clubs signing up to breakaway plans". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Statement by UEFA, the English Football Association, the Premier League, the Royal Spanish Football Federation (RFEF), LaLiga, the Italian Football Federation (FIGC) and Lega Serie A". UEFA. 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ "Communiqué de la FFF et de la LFP" [Press release from the FFF and the LFP]. Ligue de Football Professionnel (Press release) (ภาษาฝรั่งเศส). 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ "DFB klar gegen Konzept einer europäischen Super League" [DFB clearly against the concept of a European Super League]. German Football Association. 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.
- ↑ Deutsche Fußball Liga [@DFL_Official] (18 April 2021). "DFL CEO Christian Seifert on rumoured Super League concept" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 18 April 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Fans question Tottenham's involvement in European Super League". The Independent. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "ECA Statement". European Club Association. 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "ECA 'strongly opposes' European Super League". Agence France-Presse. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Agnelli resigns as ECA President". Football-Italia.net. 18 April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ Stone, Simon (18 April 2021). "European Super League: Uefa and Premier League condemn 12 major clubs signing up to breakaway plans". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "FIFA disapproves of 'closed European breakaway league'". Reuters. 18 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ ‘Deduct points from the teams who signed up for it’ – Neville and fans lead criticism of European Super League proposals2021/04/19
- ↑ Solhekol, Kaveh (19 April 2021). "European Super League: Boris Johnson opposes plans; 'Big Six' board member says owners 'totally committed' to the concept". Sky Sports News. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Statement by Oliver Dowden on the European Super League". Gov.uk. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Government announces fan-led review of football in response to European Super League plans". The Independent. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "France's Macron opposes breakaway European Super League". Reuters. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Spain opposes soccer Super League involving its star clubs trio". Reuters. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Italian PM Backs UEFA's Condemnation Of Super League". Barron's. Agence France Presse. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Prince William criticises 'damaging' European Super League plans". The Athletic. 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ Timeline: a history of TV football rights – The Guardian. 25 February 2003. Retrieved 19 April 2021.
- ↑ How Premier League threatens devastation 28 years on from its birth. Yorkshire Post. 27 May 2020. Retrieved 19 April 2021.
- ↑ Panja, Tariq; Smith, Rory (19 April 2021). "Europe's New Super League, Explained". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ Byrom, David; Murphy, Daniel (19 April 2021). "Every word Florentino Perez said in explosive Super League interview". Manchester Evening News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmanagingmadrid
- ↑ Smith, Rory (18 April 2021). "Outrage About European Super League Is Muffled by Our Cheers". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ "Why Super League plan makes financial sense for top clubs". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ "Man Utd shares rise on Super League news". SkySports (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-20.
- ↑ Panja, Tariq; Smith, Rory (19 April 2021). "Europe's New Super League, Explained". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 19 April 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPerezCBSSports
- ↑ "The Antitrust Case Against Europe's Breakaway Soccer League". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 19 April 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.
- ↑ Edelman, Marc. "European Super League Will Bring The Lucrative U.S. Sports Model Overseas". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 April 2021.