ข้ามไปเนื้อหา

เดอะคอมบาไทรส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะคอมบาไทรส์
แผ่นพับส่งเสริมการขายสำหรับเวอร์ชันอาร์เคด (เนื่องจากมีข้อผิดพลาดทำให้สีของบลิทซ์และบูลโลวาถูกเปลี่ยนในอาร์ตเวิร์กนี้)
ผู้พัฒนาเทคนอสเจแปนคอร์ป
ผู้จัดจำหน่ายอเมริกันเทคนอสอิงก์
กำกับโยชิฮิซะ คิชิโมโตะ
อำนวยการผลิตโนริยูกิ โทมิยามะ
เขียนบทอาสึชิ ทานิโมโตะ
แต่งเพลงคาซูนากะ ยามาเนะ
เครื่องเล่นอาร์เคด, ซูเปอร์แฟมิคอม, วี เวอร์ชวลคอนโซล
วางจำหน่ายมิถุนายน ค.ศ. 1990
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, ร่วมมือกัน

เดอะคอมบาไทรส์[1] (อังกฤษ: The Combatribes) เป็นเกมแนวบีตเอ็มอัป ค.ศ. 1990 ที่เปิดตัวสำหรับอาร์เคดโดยเทคนอสเจแปนคอร์ป (ผู้พัฒนาเรนอิเกด และดับเบิลดรากอน) ส่วนเวอร์ชันประจำบ้านสำหรับซูเปอร์แฟมิคอมก็ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1992 เกมนี้มุ่งเน้นไปที่พวกศาลเตี้ยสามคน (ในพอร์ตซูเปอร์แฟมิคอมระบุว่าเป็นไซบอร์ก) ซึ่งต้องต่อสู้กับแก๊งข้างถนนจำนวนมากในนครนิวยอร์กแห่งอนาคต เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมได้รับการเผยแพร่สำหรับวี เวอร์ชวลคอนโซล ในอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009[2]

เวอร์ชันอาร์เคด

[แก้]

ฮีโรทั้งสามมีเทคนิคเฉพาะตัวที่หลากหลายนอกเหนือไปจากคอมโบต่อยและเตะมาตรฐาน เช่น การกระทืบคู่ต่อสู้, จับข้อเท้าพวกมันแล้วเหวี่ยง, เตะซ้ำพวกมันบนพื้น, จับหัวพวกมันกระแทกลงไปบนทางเท้า และแม้แต่ความสามารถในการกระแทกศีรษะของคู่ต่อสู้สองคนเข้าด้วยกัน ผู้เล่นยังสามารถหยิบวัตถุขนาดใหญ่บางอย่าง (เช่น มอเตอร์ไซค์ที่จอดอยู่, โกคาร์ต หรือเครื่องพินบอล) แล้วเหวี่ยงพวกมันใส่ศัตรู

เกมนี้สามารถตั้งค่าเพื่อให้สามารถเล่นได้พร้อมกันสองหรือสามคน ในเวอร์ชันผู้เล่นสองคนของเกม ผู้เล่นจะถูกขอให้เลือกตัวละครของตนที่หน้าจอเลือกตัวละคร ขณะที่เวอร์ชันสำหรับผู้เล่นสามคน ผู้เล่นแต่ละคนจะมีตัวละครที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้แล้ว

ผู้ที่แข็งแกร่งกล้าหาญทั้งสามที่สามารถเล่นได้นี้ ได้รับระบุว่าเป็นหน่วยรบที่มีตำแหน่งคอมบาไทรส์ ซึ่งนี่คือโปรไฟล์ของพวกเขา:

  • เบอร์เซิร์กเกอร์[3] (ผู้ซึ่งใช้ชื่อของเขาจากชาวไวกิงนอร์สเก่า) ศาลเตี้ยคนแรก ที่มีผมสีบลอนด์ทรงรากไทรตั้ง และสวมชุดสีน้ำเงิน เขาความสมดุลของนักสู้ทั้งความเร็วและความแข็งแกร่ง
  • บูลโลวา[4] (ผู้ซึ่งใช้ชื่อของเขาจากขวานรบของอินเดีย) ศาลเตี้ยคนที่สอง ที่มีผมทรงลานบิน และสวมชุดสีเหลือง เขาเป็นคนที่แข็งแกร่งที่สุดในทั้งสามคน แต่ก็ยังขาดความเร็ว
  • บลิทซ์[5] (ย่อมาจาก "บลิทซ์ครีค") ศาลเตี้ยคนที่สาม ที่มีผมยาวทรงหางม้าสีน้ำตาล และสวมชุดสีแดง เขามีการโจมตีที่ว่องไวที่สุด แต่ขาดความแข็งแกร่งจากของตัวละครอีกสองตัว

เกมดังกล่าวประกอบด้วยหกด่านที่แตกต่างกัน (หรือ "ปฏิบัติการ" ตามที่พวกเขากล่าวถึงในเกม) ซึ่งตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ซ้ำกัน โดยแต่ละด่านมีแก๊งในธีมของด่าน ด่านส่วนใหญ่ประกอบด้วยสนามเดียวโดยที่ผู้เล่นจะต้องจัดการลูกน้องให้ได้ตามจำนวนก่อนที่จะเผชิญหน้ากับหัวหน้าแก๊ง ซึ่งคล้ายกับเกมเรนอิเกด บางด่านแยกออกจากหลักเกณฑ์นี้โดยมีมากกว่าหนึ่งระดับ แก๊งที่ผู้เล่นต้องเผชิญ คือ แก๊งนักขี่จักรยานยนต์ในไทม์สแควร์, นักแสดงละครสัตว์ในเกาะโคนีย์, นักโรลเลอร์สเก็ตในคลับเต้นรำ, แก๊งพังก์ในสนามเบสบอล และทหารกองหนุนในอาคารสูงที่มีหลายชั้น

ด่านสุดท้ายคือการรวมบอสของหัวหน้ากับแก๊งในด่านก่อนหน้าในขณะที่ต้องไล่ล่าหัวหน้าอาชญากรรายใหญ่ในท่าเรือ หลังจากที่แก๊งนี้พ่ายแพ้อีกครั้ง หัวหน้าแก๊งอาชญากรรมก็ถูกฆ่าโดยไซบอร์กสาวที่ชื่อมาร์ธา สแพลตเตอร์เฮด จากนั้น มาร์ธาก็เข้าโจมตีผู้เล่นในการต่อสู้ครั้งสุดท้าย หากมีผู้เล่นสองหรือสามคนในการเริ่มการต่อสู้ครั้งสุดท้าย ร่างโคลนเพิ่มเติมหนึ่งหรือสองตนของมาร์ธาจะปรากฏขึ้นเพื่อให้ตรงกับจำนวนผู้เล่น มาร์ธาทั้งหมดจะต้องถูกกำจัดเพื่อจบเกม

เวอร์ชันประจำบ้าน

[แก้]

เดอะคอมบาไทรส์เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในเกม ซึ่งเกมเวอร์ชันนี้มีการจัดลำดับเรื่องราวก่อนและหลังการต่อสู้ของบอส ตลอดจนบทนำเปิดที่อธิบายโครงเรื่องและตอนจบที่แตกต่าง ส่วนรูปแบบการเล่นยังคงเหมือนเดิม โดยเวอร์ชันนี้พลังชีวิตของตัวละครจะแสดงด้วยแถบชีวิตแทนค่าตัวเลข ไม่มีอาวุธที่จะหยิบขึ้นมาและขว้างในเวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอม ด่านต่าง ๆ จะง่ายกว่า และตัวละครศัตรูบางตัวหายไป ส่วนสิงห์มอเตอร์ไซค์ที่ถือขวดปากฉลามในด่านแรกจะไม่ทิ้งอาวุธอีกต่อไปหลังจากได้รับความเสียหายอย่างเพียงพอ โดยปกติแล้ว หัวหน้าที่พ่นไฟของด่านสอง ("ซาลาแมนเดอร์") จะสูญเสียระยะในการโจมตีด้วยคบเพลิงของเขาหากได้รับความเสียหายมากขึ้น ในขณะที่เวอร์ชันซูเปอร์แฟมิคอมจะทำให้เขาใช้เต็มกำลังจนกว่าคบเพลิงจะหลุดมือ

การเคลื่อนไหวของผู้เล่นสองคนในเวอร์ชันนี้ก็ขาดหายไป ได้แก่ ความสามารถในการยกและแบกศัตรูไปรอบ ๆ รวมถึงความสามารถในการเตะคู่ต่อสู้ซ้ำ ๆ ด่านห้าจะประกอบด้วยการรวมบอสโดยปะทะกับแก๊งก่อนหน้าทั้งหมดก่อนที่จะเผชิญหน้ากับสลอเตอร์ทรูปส์ ส่วนด่านหกและด่านสุดท้ายเป็นเพียงการต่อสู้ครั้งสุดท้ายกับมาร์ธา สแพลตเตอร์เฮด ซึ่งประทับอยู่บนชั้นดาดฟ้าของอาคารสูง โดยหัวหน้าแก๊งอาชญากรรมจากเวอร์ชันอาร์เคดได้หายไปในพอร์ตซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งกำหนดให้มาร์ธาเป็นหัวหน้าแก๊งในช่วงต้นแทน นอกจากนี้ จะมีมาร์ธาเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะต่อสู้กับผู้เล่น โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้เล่นที่อยู่ในด่านสุดท้าย

นอกจากเกมหลักแล้ว ยังมีโหมดปะทะตัวต่อตัวกับโหมดที่คล้ายกับเกมที่มีอยู่ในดับเบิลดรากอนเวอร์ชันแฟมิคอม ซึ่งผู้เล่นสามารถใช้เทคนิคพิเศษสไตล์สตรีทไฟเตอร์ II รวมถึงปล่อยพลังและบล็อกการโจมตีด้วยตัวละครบางตัว อีกทั้งศัตรูและบอสของเกมยังสามารถใช้ได้โดยการป้อนรหัสผ่านที่ให้ไว้ในเกมหลัก

เกมเวอร์ชันอเมริกาเหนือได้รับการเซ็นเซอร์เพิ่มเติม โดยเลือดบนใบหน้าของศัตรูในระหว่างฉากที่ถูกตัดจะถูกเปลี่ยนสีเป็นสีขาวให้ดูเหมือนน้ำลาย, เหงื่อ และน้ำตา ส่วนหนึ่งในบอสที่เป็นนายพลไซบอร์กชื่อสวัสติกะ ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "มาสเตอร์บลาสเตอร์" เพื่อลบการอ้างอิงที่ชัดเจนเกี่ยวกับลัทธินาซี รวมถึงแก๊งของด่านห้าได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "เดอะเดโมลิชันทรูปส์" (แทนที่จะเป็น "เดอะสลอเตอร์ทรูปส์") และในด่านแรก ชื่อ "สเต๊กแอนด์บรูเบอร์เกอร์" ในฉากหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สเต๊กแอนด์เชก" เพื่อลบการอ้างอิงแอลกอฮอล์ (แม้ว่าชื่อเดิมน่าจะอ้างอิงถึงกาแฟมากกว่า "เบียร์" เนื่องจากป้ายโฆษณากาแฟที่อยู่ติดกันในทั้งสองเวอร์ชัน)

ส่วนระบบเวอร์ชวลคอนโซลที่เปิดตัวอีกครั้งในทวีปอเมริกาเหนือได้ถูกเซ็นเซอร์เพิ่มเติม โดยองค์กรศัตรู "กราวด์ซีไร" ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "กิลทีซีโร"

ซาวด์แทร็ก

[แก้]

อัลบัมที่มีเพลงประกอบดั้งเดิมของเกมดับเบิลดรากอน 3: เดอะโรเซตตาสโตน และเกมนี้วางจำหน่ายโดยโพนีแคนยอนในประเทศญี่ปุ่น ในชื่อดับเบิลดรากอน 3/เดอะคอมบาไทรส์ ซึ่งได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1991 และมีหมายเลขแคตตาล็อกคือพีซีซีบี-00065 โดยแทร็ก 13 ถึง 21 ได้นำมาจากเดอะคอมบาไทรส์

การตอบรับ

[แก้]

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้จัดอันดับเดอะคอมบาไทรส์ในฉบับวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1990 ว่าเป็นหน่วยเกมอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสองของปี[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ญี่ปุ่น: ザ・コンバットライブス เฮปเบิร์น: Za Konbattoraibusu
  2. ""The Combatribes" at the Entertainment Software Rating Board".
  3. ญี่ปุ่น: バーサーカー เฮปเบิร์น: Bāsākā
  4. ญี่ปุ่น: ブローバ เฮปเบิร์น: Burōba
  5. ญี่ปุ่น: ブリッツ เฮปเบิร์น: Burittsu
  6. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 385. Amusement Press, Inc. 1 August 1990. p. 29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]