เณรคำ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
วิรพล สุขผล (พระวิรพล ฉัตติโก, สมีคำ) | |
---|---|
ชื่ออื่น | หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2522 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | สำนักสงฆ์วัดป่าขันติธรรม ศรีสะเกษ |
บรรพชา | 13 กันยายน พ.ศ. 2537 |
อุปสมบท | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 |
พรรษา | 14 ปี 47 วัน |
ตำแหน่ง | อดีตประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรม |
วิรพล สุขผล อดีตพระภิกษุชื่อพระวิรพล ฉัตติโก เรียกตนเองว่าหลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก และเป็นที่รู้จักในชื่อ เณรคำ ทั้งเคยเป็นประธานสงฆ์สำนักสงฆ์วัดป่าขันติธรรม และมีชื่อเสียงจากความสามารถในการสั่งสอน แต่ภายหลังถูกถอดจากสมณเพศเพราะมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการ[1] รวมถึงการอวดอุตริมนุสธรรมที่อ้างว่าตนได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าและถูกดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง จำคุก 20 ปี
ประวัติ
[แก้]วิรพล สุขผล เกิด 18 กันยายน 2522 บ้านทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
บรรพชาและอุปสมบท
[แก้]เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2537 พระวิรพล ฉัตติโกได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงปู่โชติ อาภัคโค เป็นอุปัชฌาย์แล้วจึงไปจำพรรษาที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 จึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดศรีนวล อำเภอและจังหวัดเดียวกัน ก่อนที่จะกลับไปจำพรรษาอีกครั้งที่สำนักสงฆ์ขันติธรรม
สำนักสงฆ์ขันติธรรม
[แก้]หลังการอุปสมบท พระวิรพล ฉัตติโกได้ใช้พื้นที่ที่ถวายโดยชาวบ้าน ทำการสร้างสำนักสงฆ์ชื่อ สำนักสงฆ์ขันติธรรม ขึ้นที่ตำบลยาง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และต่อมาในภายหลังสำนักสงฆ์นี้ก็ใช้ชื่อโดยทั่วไปว่า วัดป่าขันติธรรม (ปัจจุบันได้รับสถานะเป็นวัดตามกฎหมายแล้วในชื่อวัดสามัคคิยาราม)
การพ้นจากสมณเพศ
[แก้]เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานีและคณะสงฆ์จังหวัดศรีสะเกษได้ขับพระวิรพลออกจากสมณเพศ เนื่องจากผิดวินัยสงฆ์ร้ายแรง ได้แก่เสพเมถุน ต้องอาบัติปาราชิก[2][3] ต่อมามีตัวแทนของพระวิรพลให้ข่าวว่าพระวิรพลได้ลาสิกขาแล้วที่วัดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมปีเดียวกัน[4][5] อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ได้มีรายงานข่าวว่าเณรคำยังคงแต่งกายเป็นพระสงฆ์ เณรคำได้อ้างว่าตนมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยและสามารถอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้อย่างถูกกฎหมาย และยังกล่าวอีกด้วยว่าจะตั้งนิกายใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ไทย[6][7]
ถูกจับกุมและดำเนินคดี
[แก้]ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าตำรวจสหรัฐฯ ได้จับกุมตัวเณรคำได้แล้ว ภายหลังจากที่เณรคำได้ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกหมายจับในคดีพรากผู้เยาว์อายุต่ำกว่าสิบห้าปี, กระทำชำเราเด็กหญิง, ฉ้อโกงประชาชน, ฟอกเงิน เป็นต้น และได้ประสานงานกับทางการสหรัฐฯ ในการติดตามจับกุม[8] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ศาลแคลิฟอร์เนียมีคำสั่งให้ส่งตัวเณรคำในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนกลับประเทศไทย ซึ่งในวันที่ 19 กรกฎาคมปีเดียวกัน เณรคำถูกนำตัวมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากนั้นก็ได้ถูกควบคุมตัวไปดำเนินคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษในทันที[9]
ในวันที่ 9 สิงหาคม 2561 ศาลได้พิพากษาตัดสินในข้อหา 3 ข้อหา ได้แก่ ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ผิดฐานพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ และฐานฟอกเงิน แต่จำเลยปฏิเสธโดยอัยการโจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 ถึง 27 มิถุนายน 2556 ต่อเนื่องกัน จำเลยได้อาศัยความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระพุทธศาสนา โดยหลอกลวงแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ปกปิดความจริงว่า จำเลยเป็นประธานสงฆ์วัดป่าขันติธรรม จ.อุบลราชธานี และอ้างว่า ได้นิมิตพบองค์อินทร์ ขอให้สร้างพระแก้วมรกตองค์ใหญ่ที่สุดในโลก ต้องใช้หยกเขียวแท้จากประเทศอิตาลี และก่อสร้างเสาวิหารแก้วครอบองค์พระแก้วมรกต 199 ต้น ต้นละ 3 แสนบาท รูปหล่อพระทองคำ (รูปเหมือนจำเลย) ก่อสร้างวิหารสำหรับประชาชนที่วัดป่าฯ สาขา 1 จ.อุบลราชธานี สร้างวัดที่ จ.สุพรรณบุรี รวมทั้งการจัดซื้อเรือจากสหรัฐอเมริกา เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจำเลยประกาศ ชักชวนให้ประชาชน นำเงิน ทองคำ และทรัพย์สินมาบริจาคกับจำเลย ที่วัดป่าฯ โดยจัดตู้บริจาค 8 ตู้ จนมีผู้เสียหาย 29 ราย หลงเชื่อว่า จำเลยเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เข้าร่วมบริจาคเงินและทรัพย์สินต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 28,649,553 บาท แล้วจำเลยโอนเงิน 1,130,000 บาทที่ได้จากการฉ้อโกงไปซื้อรถยนต์ตู้โตโยต้า 1 คันโดยทุจริต ทั้งที่ความจริงแล้วจำเลยมิได้ก่อสร้างใดๆ เลย ขณะที่ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การอวดอ้างนิมิตถึงพระอินทร์แล้วหลอกลวงให้ประชาชนที่เคารพศรัทธา ที่เป็นพุทธศาสนิกชนหลงเชื่อจนบริจาคเงินให้ แล้วนำไปซื้อรถปอร์เช่ รถตู้ รถกระบะ หลายสิบคัน รวมทั้งใช้เงินเกินความจำเป็นความเป็นสงฆ์ กระทั่งจำเลยก็ถูกศาลแพ่งริบทรัพย์ 43,478,992 บาท นั้น ฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยนั้นผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป รวมจำคุกจำเลยทั้งสิ้น 114 ปี แต่ตามกฎหมายเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จำคุกสูงสุดตาม ม.91(2) ได้ 20 ปี และให้ชดใช้เงินกับผู้เสียหายกับ 29 ราย ตามจำนวนที่ได้ฉ้อโกงไป
สำหรับคดีอาญาที่เกี่ยวกับการมีสัมพันธ์ทางเพศกับเด็กหญิงนั้น พบว่าคดีเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ 2543-2544 ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษได้รวบรวมหลักฐานและตรวจดีเอ็นเอพิสูจน์ยืนยันว่าเณรคำได้มีเพศสัมพันธ์กับเด็กหญิงอายุ 14 ปี (ในขณะนั้น) จนตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรชาย ซึ่งคดีอนาจารเด็กนั้นได้ขาดอายุความแล้ว อัยการจึงได้ยุติคดีไป ส่วนคดีข้อหากระทำชำเราเด็กหญิงนั้นศาลอาญาได้นัดพิพากษาในเดือนตุลาคม 2561[10]
กระแสวิจารณ์
[แก้]ก่อนถูกตัดสินให้พ้นสมนเพศ พระวิรพล ฉัตติโกถูกติเตียนโดยทั่วไปถึงพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม หลังจากที่มีผู้แพร่ภาพพระวิรพลในหลากหลายอิริยาบถที่ผิดอาจาระของสงฆ์ อาทิ วิดีโอแสดงพระวิรพลในเครื่องบินส่วนตัวพร้อมกับถือกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ภาพถ่ายที่พระวิรพลเอนแนบลำตัวไปบนรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงหนังสือที่พระวิรพลแต่งชื่อ ชาติหน้าไม่ขอมาเกิด ซึ่งมีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นการอวดอุตริมนุสธรรมว่าเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากวัฏสงสารแล้ว ซึ่งในขณะนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ได้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อหาข้อมูลแต่ไม่สามารถตั้งคณะกรรมการสอบสวนได้เนื่องจากไม่มีอำนาจโดยตรง
สิ่งที่ดีเอสไอตรวจสอบและจับกุม[11]
- พรากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- กระทำชำเราเด็กหญิง
- ฉ้อโกงประชาชน
- ความผิดฐานฟอกเงินและ
- ความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รวมข่าวหลวงปู่เณรคำ : MThai News". เอ็มไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-23. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ ลงนามขับพระเณรคำ พร้อมตรวจสอบทรัพย์สิน-พระในสังกัด". ข่าวสด. 13 กรกฎาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "คณะสงฆ์ศรีสะเกษมติเอกฉันท์ขับ "เณรคำ" พ้นพระ เหตุเสพเมถุน". เอเอสทีวีผู้จัดการ. 13 กรกฎาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-16. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวแพร่'สมีคำ'สึก3วันขอเป็นพลเมืองอเมริกัน". กรุงเทพธุรกิจ. 29 กรกฎาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2556.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระครูฯอ้าง 'สมีคำ' สึกแล้ว รู้จากสื่อไทยที่สหรัฐ". ไทยรัฐ. 30 กรกฎาคม 2556.
- ↑ "เผยคลิป "เณรคำ" หนี 8 คดีดีเอสไอ 2 ปี โผล่มะกัน! จัดวันเกิด-แยกนิกาย". เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์. 29 กันยายน 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-17. สืบค้นเมื่อ 2016-07-23.
- ↑ "เผยคลิป "เณรคำ" ในสหรัฐจ่อตั้งนิกายใหม่". โพสต์ทูเดย์. 30 กันยายน 2558.
- ↑ "'เณรคำ' จนมุม ถูกจับที่สหรัฐ ดีเอสไอขอตัว ส่งกลับ-ไทย!". ไทยรัฐ. 23 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อธิบดีดีเอสไอรอรับ แจ้งข้อหาสมีเณรคำ". ไทยรัฐ. 20 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ย้อนรอยชีวิต... "ไอ้เณรคำ" มหากาพย์จอมคนลวงโลก กับเส้นทางสู่คุก 114 ปี". ผู้จัดการ. 11 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "DSI สรุปผลการดำเนินคดีนายวิรพล สุขผล หรือ พระวิรพล ฉัตติโก หรือ หลวงปู่เณรคำ". กรมสอบสวนคดีพิเศษ. 18 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)