ข้ามไปเนื้อหา

เซ็ซซูเอะ ฮายากาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซ็ซซูเอะ ฮายากาวะ
早川 雪洲
ฮายากาวะ เมื่อ ค.ศ. 1918
เกิด早川 金太郎 (คินตาโร ฮายากาวะ)
10 มิถุนายน ค.ศ. 1886(1886-06-10)
มินามิโบโซ ชิบะ จักรวรรดิญี่ปุ่น
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973(1973-11-23) (87 ปี)
โตเกียว ญี่ปุ่น
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1914–1966
คู่สมรสสึรุ อาโอกิ
(สมรส 1914; เสียชีวิต 1961)
[1]
บุตร3 คน

คินตาโร ฮายากาวะ (ญี่ปุ่น: 早川 金太郎โรมาจิHayakawa Kintarō, 10 มิถุนายน ค.ศ. 1886 – 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1973) หรือชื่อในวงการคือ เซ็ซซูเอะ ฮายากาวะ (早川 雪洲, Hayakawa Sessue) เป็นนักแสดงชาวญี่ปุ่น เขาถือเป็นดาราผู้เรืองนามมากที่สุดคนหนึ่งในภาพยนตร์เงียบของฮอลลีวูดระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1910 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 ฮายากาวะเป็นนักแสดงเชื้อสายเอเชียคนแรกที่ประสบความสำเร็จในฐานะผู้แสดงนำชายในสหรัฐและยุโรป ด้วยหน้าตา "หล่อแบบหม่นเศร้า" (broodingly handsome)[2] และมักแสดงเป็นตัวร้ายที่ถูกครอบงำทางเพศ ทำให้เขากลายเป็นหวานใจของผู้หญิงอเมริกันท่ามกลางการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และยังเป็นหนึ่งในผู้ชายคนแรกที่ถูกขนามนามว่าเป็นสัญลักษณ์ทางเพศของฮอลลีวูด[3][4][5]

หลังถอนตัวออกจากสถานศึกษานายทหารเรือญี่ปุ่นและรอดชีวิตจากการกระทำอัตวินิบาตกรรมตนเอง ฮายากาวะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยชิคาโก เอกเศรษฐศาสตร์การเมืองตามความประสงค์ของครอบครัวที่อยากให้เขาเป็นนายธนาคาร หลังสำเร็จการศึกษาเมื่อ ค.ศ. 1912 เขาสร้างความประทับใจให้กับบุคคลสำคัญในฮอลลีวูดขณะแสดงอยู่ที่ลิตเติลโตเกียว จนได้เซ็นสัญญาเป็นดาราในเรื่อง เดอะไทฟูน (1914) เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง เดอะชีต (1915) จากนั้นก็มีชื่อเสียงจากการแสดงในบทรักต้องห้าม ฮายากาวะเป็นหนึ่งในดาราที่มีค่าตัวสูงที่สุด ณ ขณะนั้น โดยมีรายได้เฉลี่ย 5,000 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ใน ค.ศ. 1915 และ 2 ล้านดอลลาร์ต่อปีผ่านบริษัทผลิตภาพยนตร์ของเขาตั้งแต่ ค.ศ. 1918 ถึง 1921[6][7][8]

ในบรรดาภาพยนตร์เสียง ฮายากาวะเป็นที่รู้จักอย่างดีจากบทบาทกัปตันโจรสลัด กัวลา ในภาพยนตร์ผจญภัยเรื่อง สวิสแฟมีลีโรบินสัน (1960) และผู้พันไซโต ในภาพยนตร์สงคราม–มหากาพย์เรื่อง สะพานข้ามแม่น้ำแคว (1957) ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม[9] ฮายากาวะปรากฏอยู่ในภาพยนตร์กว่า 80 เรื่อง และหนึ่งในภาพยนตร์ที่เขาแสดงนั้น ได้แก่ เดอะชีต, เดอะดรากอนเพนเตอร์ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ถูกเลือกให้เก็บไว้ในหอทะเบียนภาพยนตร์แห่งชาติ[10][11][12]

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

คินตาโร ฮายากาวะ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 1886 ณ หมู่บ้านนานะอูระ ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองชิกูระ มินามิโบโซ จังหวัดชิบะ[13][14][15] บิดาของเขาเป็นหัวหน้าสหภาพชาวประมงผู้มั่งคั่ง เขามีพี่น้องทั้งหมดห้าคน ฮายากาวะเรียนภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมไปพำนักอยู่ในต่างประเทศตั้งแต่อายุยังน้อย[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chuong, Chung (1999). Distinguished Asian Americans: A Biographical Dictionary. Greenwood. p. 111. ISBN 978-0313289026.
  2. Saltz, Rachel (2007-09-07). "Sessue Hayakawa: East And West, When The Twain Met". The New York Times.
  3. Miyao 2007, pp. 1–3, 191, 227, 281
  4. Prasso, Sheridan (2006). The Asian Mystique: Dragon Ladies, Geisha Girls, and Our Fantasies of the Exotic Orient. PublicAffairs. p. 124. ISBN 978-1586483944.
  5. Warner, Jennifer (2014). The Tool of the Sea: The Life and Times of Anna May Wong. CreateSpace Independent Publishing Platform. p. 8. ISBN 978-1502403643.
  6. "Sessue Hayakawa: The Legend". Goldsea. p. 2.
  7. Miyao 2007, pp. 334, 325
  8. Miyao 2007, p. 176
  9. 9.0 9.1 Nakagawa, Orie (2012). Sesshū! : sekai o miryōshita Nihonjin sutā Hayakawa Sesshū. Kodansha. ISBN 978-4062179157.
  10. Eaton, William J. (15 December 1993). "Out of the Vault and Onto the Film Registry's List : Movies: Some of the Library of Congress' newly selected classics and popular favorites will make a nationwide tour next September". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  11. Tsutakawa, Mayumi (2 March 2017). "STG presents Sessue Hayakawa in The Dragon Painter". International Examiner. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  12. "Complete list of films admitted". CNN. 18 November 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-31. สืบค้นเมื่อ 25 November 2019.
  13. Miyao 2007, p. 241
  14. Kizirian, Shari. The Dragon Painter เก็บถาวร 2020-01-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Silent Film Festival.
  15. Perpetually Cool: The Many Lives of Anna May Wong (1905-1961) . p. 179.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]