ข้ามไปเนื้อหา

เซเรตเซ คามา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซเรตเซ คามา
ประธานาธิบดีบอตสวานา
ดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน ค.ศ. 1966 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
รองประธานาธิบดีQuett Masire
ก่อนหน้าตนเอง (ในฐานะนายกรัฐมนตรี)[1]
ถัดไปQuett Masire
นายกรัฐมนตรีเบชวานาแลนด์คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม ค.ศ. 1965 – 30 กันยายน ค.ศ. 1966
กษัตริย์เอลิซาเบธที่ 2
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปตนเอง (ในฐานะประธานาธิบดี)[1]
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เซเรตเซ โกอิตเซเบง มาฟีรี คามา

1 กรกฎาคม ค.ศ. 1921(1921-07-01)
เซโรเว เบชวานาแลนด์
เสียชีวิต13 กรกฎาคม ค.ศ. 1980(1980-07-13) (59 ปี)
กาโบโรเน ประเทศบอตสวานา
ที่ไว้ศพสุสานหลวง เซโรเว ประเทศบอตสวานา
เชื้อชาติบอตสวานา
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปไตยบอตสวานา
คู่สมรสรูธ วิลเลียมส์ คามา (สมรส 1948)
บุตร
ศิษย์เก่า
วิชาชีพเนติบริกร

เซอร์ เซเรตเซ โกอิตเซเบง มาฟีรี คามา, GCB, KBE (อังกฤษ: Sir Seretse Goitsebeng Maphiri Khama; 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 – 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1980) เป็นนักการเมืองชาวบอตสวานาที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบอตสวานาคนแรกใน ค.ศ. 1966 จนเสียชีวิตใน ค.ศ. 1980[2][3][4]

เขาเกิดในชนชั้นเจ้าผู้มีอิทธิพลในเบชวานาแลนด์ รัฐในอารักขาของอังกฤษ เขาศึกษาต่อต่างประเทศในประเทศแอฟริกาใต้[3] จากนั้นจึงไปต่อที่สหราชอาณาจักร[3] ขณะอยู่ที่อังกฤษ เขาแต่งงานกับสตรีชาวอังกฤษนามรูธ วิลเลียมส์ ถือเป็นการตัดสินใจที่รัฐบาลคนผิวขาวส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้คัดค้าน และนำไปสู่ประเด็นพิพาทที่ทำให้รัฐบาลอังกฤษให้เขาอยู่ในประเทศอังกฤษในฐานะผู้ถูกเนรเทศ เพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–แอฟริกาใต้ย่ำแย่ลงกว่านี้

หลังสิ้นสุดช่วงเนรเทศ คามาเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของประเทศ และเปลี่ยนผ่านจากการปกครองของอังกฤษไปสู่ประเทศเอกราช เขาก่อตั้งพรรคประชาธิปไตยบอตสวานาใน ค.ศ. 1962 แล้วกลายเป็นนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. 1965 ต่อมาใน ค.ศ. 1966 บอตสวานาได้รับเอกราช และคามาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรก[5] ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ประเทศนี้ประสบความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว[6] คามาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1980 และ Quett Masire ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากเขา เอียน คามา บุตรของเขา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 4 ใน ค.ศ. 2008 ถึง 2018[7]

วัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

เซเรตเซ คามาเกิดใน ค..ศ 1921 ที่เซโรเว ในบริเวณที่ตอนนั้นคือเบชวานาแลนด์ เขาเป็นบุตรของราชินีเตโบโกกับเซกโกมา คามาที่ 2 หัวหน้าผู้สูงส่งแห่งตระกูลบามังวาโตของชาว Tswana และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าคามาที่ 3 ชื่อ Seretse มีความหมายว่า "ดินเหนียวที่ติด" (the clay that binds)[8]

แต่งงานและเนรเทศ

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1947 คามาพบกับรูธ วิลเลียมส์ พนักงานชาวอังกฤษที่ Lloyd's of London.[3] หลังจากคบหาดูใจกันได้ปีเดียว ทั้งสองจึงแต่งงานกัน การแต่งงานข้ามเชื้อชาติก่อให้เกิดความโกรธแค้น[3] ทั้งทางสหภาพแอฟริกาใต้ที่จัดตั้งการถือผิว (การแบ่งแยกเชื้อชาติ) ตามกฎหมาย และบรรดาผู้อาวุโสในตระกูลบามังวาโตที่โกรธเพราะเขาไม่เลือกสตรีในกลุ่มพวกเขา

เมื่อได้รับแจ้งเรื่องการแต่งงาน Tshekedi Khama ลุงของคามาสั่งให้เขากลับมายังเบชวานาแลนด์ และเพิกถอนการสมรสเสีย[3] คามาจึงกลับไปที่เซโรเว รูธ วิลเลียมส์ คามาที่เดินทางพร้อมกับสามีใหม่ก็มีชื่อเสียงพอกัน ทำให้ Tshekedi Khama ยอมรับความพ่ายแพ้ จึงออกจากเขตสงวนบามังวาโตเพื่อลี้ภัยโดยสมัครใจที่เขตสงวนบักเวนา ส่วนคามาเดินทางกลับไปศึกษาต่อที่ลอนดอน[9][3]

ผลกระทบต่อความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร-แอฟริกาใต้

[แก้]

กลับมาเล่นการเมือง

[แก้]

ประธานาธิบดี

[แก้]

เมื่อบอตสวานาเป็นเอกราชใน ค.ศ. 1966 ประเทศนี้เป็นประเทศที่จนที่สุดอันดับ 3 จของโลก ซึ่งจนมากกว่าประเทศแอฟริกาอื่น ๆ ส่วนใหญ่[10][11][12][13] โครงสร้างพื้นฐานมีน้อยมาก โดยมีทางลาดยางยาวเพียง 12 กิโลเมตร (7.5 ไมล์) และมีประชากรเพียงไม่กี่คนได้รับการศึกษาในระดับทางการ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพียง 22 คนและผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศึกษาเพียง 100 คน[14]

เสียชีวิต

[แก้]

ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต สุขภาพของคามาทรุดโทรมลงหลายปี โดยป่วยด้วยโรคหัวใจและโรคไต ใน ค.ศ. 1960 เขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน[15] ใน ค.ศ. 1976 เขาเข้าผ่าตัดหัวใจที่โจฮันเนสเบิร์กเพื่อติดตั้งเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ นับแต่นั้นมา เขาต้องเดินทางรักษาที่ลอนดอนเป็นประจำ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1980 เขาได้รับการวินิฉัยขณะรักษาตัวที่ลอนดอนว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนระยะสุดท้าย เขาเดินทางกลับบ้านหลังพบว่าไม่มีทางรักษาได้[16][17]

คามาเสียชีวิตขณะนอนหลับในวันที่ 13 กรกฎาคม ค..ศ 1980 ต่อหน้าภรรยาที่ประเทศบอตสวานา[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 The President and Vice President. Chapter 4, Part I, Constitution of Botswana
  2. "Sir Seretse Khama | president of Botswana | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Ramsay, Jeff (2021-07-01). "Seretse Khama Centenary: A profile of our first president". Mmegi Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  4. Henderson, Willie (January 1990). "Seretse Khama: A Personal Appreciation". African Affairs. 89 (354): 27–56. doi:10.1093/oxfordjournals.afraf.a098278. ISSN 1468-2621.
  5. "IFES Election Guide | Elections: Botswana Parliamentary Election 2009". www.electionguide.org. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  6. "The Presidency – Republic of South Africa". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009.
  7. "Botswana issues arrest warrant for ex-President Ian Khama". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2023-01-02. สืบค้นเมื่อ 2023-06-16.
  8. Parsons, Neil. "Sir Seretse Khama". University of Botswana History Department website. สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  9. Benson, Mary (1976). "Tshekedi Khama as I Knew Him". Botswana Notes and Records. 8: 121–128. ISSN 0525-5090. JSTOR 40979462.
  10. James Haskins, Jim Haskins. African Heroes. p. 126.
  11. Robert Guest (2004). The Shackled Continent. Smithsonian. ISBN 978-1588342140.
  12. "Economic Freedom, Not More Aid, will Transform Africa". Fraser Institute. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009.
  13. Marian L. Tupy (14 May 2008). "Botswana and Zimbabwe: A Tale of Two Countries".
  14. "An African Success Story: Botswana". Economics.mit.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-20. สืบค้นเมื่อ 2017-02-27.
  15. "President Seretse Khama | South African History Online". www.sahistory.org.za. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  16. "The Montreal Gazette - Google News Archive Search". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2016.
  17. "The Montreal Gazette - Google News Archive Search". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2016.
  18. Akyeampong & Gates 2012, p. 359.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]