ดีปซีก
ชื่อท้องถิ่น | 杭州深度求索人工智能基础技术研究有限公司 |
---|---|
ประเภท | เอกชน |
อุตสาหกรรม | เทคโนโลยีสารสนเทศ |
ก่อตั้ง | พฤษภาคม 2023 |
ผู้ก่อตั้ง | |
สำนักงานใหญ่ | หางโจว, เจ้อเจียง, ประเทศจีน |
บุคลากรหลัก |
|
เจ้าของ | ไฮ-ฟลายเออร์ |
เว็บไซต์ | deepseek.com |
ดีปซีก (DeepSeek, จีน: 深度求索; พินอิน: Shēndù Qiúsuǒ) เป็นบริษัทปัญญาประดิษฐ์ของจีนที่พัฒนาโมเดลภาษาขนาดใหญ่แบบโอเพนซอร์ส (LLM) บริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง และได้รับเงินทุนจาก ไฮฟลายเออร์ กองทุนป้องกันความเสี่ยงของจีน ซึ่งมี เหลียง เหวินเฟิง (梁文峰) ผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทในปี ค.ศ. 2023 และดำรงตำแหน่งซีอีโอ
โมเดล DeepSeek-R1 ให้การตอบสนองที่เทียบเคียงได้กับโมเดลภาษาขนาดใหญ่ร่วมยุค เช่น GPT-4o และ o1 ของโอเพนเอไอ[1] แม้จะมีการลงทุนในต้นทุนที่ต่ำกว่าอย่างมาก—อยู่ที่ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับ GPT-4 ของโอเพนเอไอในปี ค.ศ. 2023[2]–และใช้พลังการประมวลผลเพียงหนึ่งในสิบของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ของคู่แข่ง[2][3][4][5] โมเดลเอไอของดีปซีกได้รับการพัฒนาขึ้นท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อจีนสำหรับชิปเอ็นวีเดียซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อจำกัดความสามารถของประเทศในการพัฒนาระบบเอไอขั้นสูง[6][7]
ในวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2025 ดีปซีกได้เปิดตัวแอปจักรกลสนทนาฟรีตัวแรกโดยใช้โมเดล DeepSeek-R1 สำหรับไอโอเอสและแอนดรอยด์ และในวันที่ 27 มกราคม DeepSeek-R1 ได้แซงหน้า ChatGPT ขึ้นเป็นแอปฟรีที่มีการดาวน์โหลดมากที่สุดในแอปสโตร์ในสหรัฐอเมริกา[8]
ความเป็นมา
[แก้]ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ไฮ-ฟลายเออร์ ก่อตั้งโดย เหลียง เหวินเฟิง ซึ่งเป็นผู้ที่หลงใหลในปัญญาประดิษฐ์ โดยเขาเริ่มต้นการซื้อขายในช่วงวิกฤตการเงิน ค.ศ. 2007–2008 ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง[9] ในปี ค.ศ. 2019 เขาได้ก่อตั้งไฮ-ฟลายเออร์เป็นกองทุนป้องกันความเสี่ยงที่มุ่งเน้นการพัฒนาและการใช้อัลกอริทึมการซื้อขายด้วยปัญญาประดิษฐ์ และภายในปี ค.ศ. 2021 ไฮ-ฟลายเออร์ก็ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการซื้อขายทั้งหมด[10]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2023 ไฮ-ฟลายเออร์ได้เริ่มต้นห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปเพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ที่แยกออกจากธุรกิจด้านการเงินของบริษัท[11][12] และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 บริษัทได้จัดตั้งเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้ชื่อ ดีปซีก[10][13][12] บริษัทร่วมทุนต่าง ๆ มองว่าการลงทุนในดีปซีกอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนในระยะเวลาอันสั้นได้[10]
หลังจากเปิดตัว DeepSeek-V2 ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในราคาที่ต่ำ ดีปซีกได้กลายเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดสงครามราคาสำหรับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในประเทศจีน โดยได้รับฉายาว่า "พินตัวตัวของเอไอ" บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ไบต์แดนซ์, เทนเซ็นต์, ไป่ตู้ และ อาลีบาบา ต่างลดราคาของโมเดลเอไอของตนเพื่อแข่งขันกับบริษัท แม้ว่าดีปซีกจะตั้งราคาที่ต่ำ แต่กลับสามารถทำกำไรได้ ต่างจากคู่แข่งที่ยังขาดทุนอยู่[14]
ในปัจจุบันดีปซีกมุ่งเน้นเฉพาะการวิจัยและยังไม่มีแผนการเชิงพาณิชย์ในรายละเอียด[14]
ดีปซีกมีแนวทางการจ้างงานที่ให้ความสำคัญกับความสามารถทางเทคนิคมากกว่าประสบการณ์การทำงาน โดยพนักงานใหม่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่เพิ่งจบการศึกษา หรือผู้พัฒนาที่มีประสบการณ์ในสายงานเอไอยังไม่มากนัก[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gibney, Elizabeth (23 January 2025). "China's cheap, open AI model DeepSeek thrills scientists". Nature (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1038/d41586-025-00229-6. ISSN 1476-4687.
- ↑ 2.0 2.1 Vincent, James (28 January 2025). "The DeepSeek panic reveals an AI world ready to blow". The Guardian.
- ↑ Hoskins, Peter; Rahman-Jones, Imran (27 January 2025). "Nvidia shares sink as Chinese AI app spooks markets". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 28 January 2025.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:8
- ↑ Cosgrove, Emma (27 January 2025). "DeepSeek's cheaper models and weaker chips call into question trillions in AI infrastructure spending". Business Insider.
- ↑ Saran, Cliff (10 December 2024). "Nvidia investigation signals widening of US and China chip war | Computer Weekly". Computer Weekly. สืบค้นเมื่อ 27 January 2025.
- ↑ Sherman, Natalie (9 December 2024). "Nvidia targeted by China in new chip war probe". BBC. สืบค้นเมื่อ 27 January 2025.
- ↑ Metz, Cade (27 January 2025). "What is DeepSeek? And How Is It Upending A.I.?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 27 January 2025.
- ↑ "How a top Chinese AI model overcame US sanctions". MIT Technology Review (ภาษาอังกฤษ). 2025-01-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2025.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Ottinger, Lily (9 December 2024). "Deepseek: From Hedge Fund to Frontier Model Maker". ChinaTalk (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 December 2024. สืบค้นเมื่อ 28 December 2024.
- ↑ Yu, Xu (17 April 2023). "[Exclusive] Chinese Quant Hedge Fund High-Flyer Won't Use AGI to Trade Stocks, MD Says". Yicai Global (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2023. สืบค้นเมื่อ 28 December 2024.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Jiang, Ben; Perezi, Bien (1 January 2025). "Meet DeepSeek: the Chinese start-up that is changing how AI models are trained". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2025. สืบค้นเมื่อ 1 January 2025.
- ↑ McMorrow, Ryan; Olcott, Eleanor (9 June 2024). "The Chinese quant fund-turned-AI pioneer". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2024. สืบค้นเมื่อ 28 December 2024.
- ↑ 14.0 14.1 Schneider, Jordan (27 November 2024). "Deepseek: The Quiet Giant Leading China's AI Race". ChinaTalk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 December 2024.