ข้ามไปเนื้อหา

กิตฮับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก GitHub)
กิตฮับ
ประเภทเอกชน
วันที่ก่อตั้ง8 กุมภาพันธ์ 2008; 16 ปีก่อน (2008-02-08)
สำนักงานใหญ่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์
คริส วานสเตรท
พีเจ ไฮเอท
ซีอีโอแนท ฟรายด์แมน (หลังการซื้อกิจการ)
คริส วานสเตรท (หยุดพักชั่วคราว)
อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
เว็บไซต์github.com
อันดับอเล็กซาSteady 61 (กรกฎาคม 2018)[1]
การลงทะเบียนไม่จำเป็น (จำเป็นสำหรับการสร้างและการเข้าร่วมโครงการ)
ผู้ใช้100 ล้าน (มกราคม 2023)
ภาษาที่มีอังกฤษ
สถานะปัจจุบันเคลื่อนไหว

กิตฮับ (อังกฤษ: GitHub) เป็นเว็บบริการพื้นที่ทางอินเทอร์เน็ต (hosting service) สำหรับเก็บการควบคุมการปรับปรุงแก้ไข (version control) โดยใช้กิต (Git) โดยมากจะใช้จัดเก็บรหัสต้นฉบับ (source code) แต่ยังคงคุณสมบัติเดิมของกิตไว้ อย่างการให้สิทธิ์ควบคุมและปรับปรุงแก้ไข (distributed version control) และระบบการจัดการรหัสต้นฉบับรวมถึงทางกิตฮับได้เพิ่มเติมคุณสมบัติอื่นๆผนวกไว้ด้วย เช่น การควบคุมการเข้าถึงรหัสต้นฉบับ (access control) และ คุณสมบัติด้านความร่วมมือเช่น ติดตามข้อบกพร่อง (bug tracking), การร้องขอให้เพิ่มคุณสมบัติอื่นๆ (feature requests), ระบบจัดการงาน (task management) และวิกิสำหรับทุกโครงการ[2]

กิตฮับเสนอแผนการให้บริการใน 2 รูปแบบคือ แบบส่วนตัว และ แบบบัญชีฟรี[3] โดยอย่างหลังมักจะใช้ในการเก็บตัวแบบซอฟต์แวร์ในโครงการโอเพนซอร์ซ[4] ในเดือนมิถุนายนปี 2018 กิตฮับได้รายงานว่ามีผู้ใช้งานกว่า 28 ล้านราย[5] และได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับจำนวน 57 ล้านโครงการ[6] ในจำนวนนี้มีโครงการสาธารณะจำนวน 28 ล้านโครงการ ทำให้กิตฮับกลายเป็นพื้นที่จัดเก็บรหัสต้นฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก[7]

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้บรรลุข้อตกลง ในการซื้อกิจการกิตฮับเป็นมูลค่ากว่า 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ[8] โดยทางไมโครซอฟท์ไม่ได้เปิดเผยวันเวลาที่ยื่นเจตจำนงซื้อกิจการ

ประวัติบริษัท

[แก้]

กิตฮับได้รับการพัฒนาขึ้นโดย คริส วานสเตรท, พีเจ ไฮเอท และ ทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์ โดยเขียนขึ้นจากรูบีออนเรลส์ เริ่มกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2008 บริษัทกิตฮับ อิงค์ตั้งอยู่ตั้งแต่ปี 2007 อยู่ในซานฟรานซิสโก (San Franscisco)

ในเดือนมีนาคม 2008 คริส วานสเตรท ได้โพสต์ในบล็อกส่วนตัว[9]ว่ากิตฮับมีผู้ใช้งานกว่า 2,000 รายแล้ว

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2009 สมาชิกทีมกิตฮับได้ขึ้นพูดในงานเสวนาที่จัดโดยยาฮู! (Yahoo!) สำนักงานใหญ่ ว่าภายในปีแรกที่กิตฮับออนไลน์ กิตฮับได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับโครงการสาธารณะจำนวนกว่า 46,000 โครงการสาธารณะ โดย 17,000 มาจากยอดของเดือนมกราคม ในเวลานั้นมีโครงการประมาณ 6,200 โครงการที่แยกสายพัฒนาออกไป (fork) และมีโครงการที่รวมสายพัฒนา (merge) อย่างน้อย 1 ครั้งจำนวน 4,600 โครงการ

ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2009 กิตฮับได้ประกาศว่ามีผู้ใช้งานกว่า 100,000 รายแล้ว ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2009 อีกงานเสวนาที่จัดโดยยาฮู! ทอม เพรสตัน-เวอร์เนอร์ ได้ประกาศการเติบโตของกิตฮับ ว่าตอนนี้มีโครงการสาธารณะรวมกันกว่า 90,000 โครงการ และมีโครงการจำนวน 12,000 ที่ถูกแยกสายพัฒนาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง หากนับรวมทั้งสาธารณะ ส่วนตัว และโครงการแยก กิตฮับจัดเก็บรหัสต้นฉบับจำนวนกว่า 135,000 โครงการ[10]

ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2010 กิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับแล้วกว่า 1 ล้านโครงการ[11] และในวันที่ 20 เมษายน 2011 กิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับไป 2 ล้านโครงการแล้ว[12]

ในวันที่ 2 มิถุนายน 2011 ทางรีดไรทฺเว็บ (ReadWriteWeb) รายงานว่าทางกิตฮับได้มียอดคอมมิท (commit) เกินกว่ายอดของซอร์ซฟอร์จฺ (SourceForge) และ กูเกิ้ลโค้ด (Google Code) ในช่วงมกราคมถึงพฤกษาคม 2011[13]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2012 ทางปีเตอร์ เลวิน (Peter Levine) หุ้นส่วนทั่วไปของกิตฮับและนักลงทุนของแอนดรีสเซน โฮโรวิตซ์ (Andreessen Horowitz) กล่าวว่าทางกิตฮับมีรายได้เพิ่มขึ้น 300% เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2008 โดยทางเลวินกล่าวว่า "ทางกิตฮับแทบมีกำไรตลอดเวลา"[14]

ในวันที่ 16 มกราคม 2013 กิตฮับได้ประกาศว่ามีผู้ใช้งานกว่า 3 ล้านรายและจัดเก็บรหัสต้นฉบับไปกว่า 5 ล้านโครงการแล้ว[15] ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันกิตฮับได้ประกาศว่าได้จัดเก็บรหัสต้นฉบับไปกว่า 10 ล้านโครงการแล้ว[16]

ในเดือนมิถุนายน 2015 กิตฮับได้เปิดสำนักงานที่ญี่ปุ่น ถือเป็นสำนักงานแรกนอกสหรัฐฯของกิตฮับ[17]

ในวันที่ 29 มิถุนายน 2015 กิตฮับได้ประกาศว่าขอระดมทุนได้มากกว่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่นำโดยซีคัวญาแคพพิเทิล (Sequoia Capital) จากการระดมทุนรอบนี้มีการประเมินว่ากิตฮับมีจะมูลค่ากว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ[18]

ในปี 2016 กิตฮับอยู่อันดับที่ 14 ในรายชื่อ Forbes Cloud 100[19]

ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2018 กิตฮับตกเป็นเหยื่อของการโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (DDos) ที่หนักที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยอัตราการแทรฟฟิคสูงถึง 1.35 เทราบิตต่อวินาที[20]

ในวันที่ 19 มิถุนายน 2018 กิตฮับได้เพิ่มแผนให้บริการใหม่ กิตฮับเพื่อการศึกษา (GitHub Education) โดยเป็นแผนให้บริการฟรีกับทุกโรงเรียน[21][22]

ในเดือนมีนาคม 2020 กิตฮับได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าได้ซื้อเอ็นพีเอ็ม ผู้ให้บริการจัดเก็บแพ็กเกจสำหรับ Nodejs ด้วยจำนวนเงินที่ไม่ระบุ[23]

ถูกซื้อกิจการโดยไมโครซอฟท์

[แก้]

ในวันที่ 4 มิถุนายน 2018 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเข้าซื้อกิตฮับมูลค่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายใต้ร่มเงาไมโครซอฟท์ แนท ฟรายด์แมน (Nat Friedman) ผู้ก่อตั้งซามารีน (Xamarin) จะขึ้นเป็นซีอีโอใหม่ของกิตฮับ และ ซีอีโอปัจจุบันคริส วานสเตรท จะยังคงดำรงตำแหน่ง "ผู้ปรึกษาทางเทคนิค" ให้กับกิตฮับอยู่ โดยทั้งสองจะต้องรายงานความเคลื่อนไหวของกิตฮับ ให้สก็อตต์ กูธรี (Scott Guthrie) รองประธานไมโครซอฟท์คลาวด์และเอไอทราบ ไมโครซอฟท์กลายเป็นผู้ใช้รายสำคัญของกิตฮับ โดยใช้กิตฮับในทางจัดเก็บและพัฒนาโครงการโอเพนซอร์ซของตน เช่น จักระคอร์ (Chakra Core), พาวเวอร์เชล (PowerShell) และ วิชวลสตูดิโอโค้ด (Visual Studio Code) รวมถึงช่วยสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ซอื่น ๆ อาทิ ลินุกซ์ และช่วยพัฒนากิตเวอชวลไฟล์ซิสเทิม (Git Virtual File System) ส่วนขยาย (extension) ของกิตสำหรับจัดการพื้นที่จัดเก็บซอร์ซโค้ดขนาดใหญ่[24][25][26]

ภายหลังการซื้อกิจการ กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดความกังวลต่ออนาคตของกิตฮับ ซึ่งอาจประสบชะตากรรมเดียวกันกับธุรกิจที่ไมโครซอฟท์เคยซื้อไปก่อนหน้านี้อาทิ โนเกีย (Nokia), ลิงกต์อิน (LinkedIn) และ สไกป์ (Skype) ในขณะที่หลายคนมองว่าการซื้อกิจการนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจของไมโครซอฟท์ โดยภายใต้การบริหารของซีอีโอสัตยา นาเดลลา (Satya Nadella) ที่ให้ความสำคัญแก่การขายคอมพิวเตอร์คลาวด์เป็นหลัก ในการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนา และการสนับสนุนโครงการโอเพนซอร์ซอย่างลินุกซ์ ซึ่งตรงข้ามกับระบบปฏิบัติการอย่างไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows)[25][26] ทางฮาร์วาร์ดบิซซิเนสรีวิว (Havard Business Review) ได้มองว่าการเข้าซื้อของไมโครซอฟท์ จะทำให้ไมโครซอฟท์เข้าถึงฐานข้อมูลผู้ใช้ เพื่อนำมาส่งเสริมการตลาด โดยยอมขาดทุนเพื่อดึงดูด (loss leader) ผู้ใช้งานหันมาใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ของบริษัท[27]

ความกังวลต่ออนาคตกิตฮับได้ช่วยเพิ่มน่าความสนใจให้ธุรกิจคู่แข่งของกิตฮับอย่างบิทบัคคิท (BitBucket), กิตแล็ป (GitLab) และ ซอร์ซฟอร์จฺ (SourceForge) ต่างก็รายงานว่าพวกเขาพบผู้ใช้งานใหม่ที่นำโครงการจากกิตฮับไปจัดเก็บไว้กับบริการของตน[28][29][30][31]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Github.com Alexa Ranking". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-31. สืบค้นเมื่อ July 20, 2018.
  2. Williams, Alex (9 July 2012). "GitHub Pours Energies into Enterprise – Raises $100 Million From Power VC Andreessen Horowitz". TechCrunch. Andreessen Horowitz is investing an eye-popping $100 million into GitHub
  3. "Why GitHub's pricing model stinks (for us)". LosTechies. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2012. กรุข้อมูล จากต้นฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2015. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015.
  4. "The Problem With Putting All the World's Code in GitHub". Wired. 29 June 2015. กรุข้อมูล จากต้นฉบับเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2015.
  5. "การค้นหาผู้ใช้บนกิตฮับ". GitHub. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2018 "แสดงผู้ใช้งานจำนวน 28,337,706 ไอดี"
  6. "Celebrating nine years of GitHub with an anniversary sale". github.com. Github. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2017
  7. Gousios, Georgios; Vasilescu, Bogdan; Serebrenik, Alexander; Zaidman, Andy. "Lean GHTorrent: GitHub Data on Demand" (ไฟล์รูปแบบ PDF). เนเธอร์แลนด์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟ์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเวน : 1. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2014. ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, กิตฮับ (2008) ได้กลายเป็นพื้นที่เก็บรหัสต้นฉบับที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  8. TechCrunch. "Microsoft has acquired GitHub for $7.5B in stock" นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
  9. Wanstrath, Chris วันที่ 1 มีนาคม 2008. "กิตฮับ ฟรีสำหรับโครงการโอเพนซอร์ซ". Github.
  10. Dascalescu, Dan วันที่ 3 พฤศจิกายน 2009. "The PITA Threshold: GitHub vs. CPAN" เก็บถาวร 2020-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Dan Dascalescu's Wiki.
  11. "One Million Repositories, Git Official Blog". วันที่ 25 กรกฎาคม 2010.
  12. "Those are some big numbers, Git Official Blog". วันที่ 20 เมษายน 2011.
  13. "Github Has Surpassed Sourceforge and Google Code in Popularity". ในช่วงเวลาดังกล่าวทาง Black Duck ได้ตรวจพบว่า, กิตฮับมียอดคอมมิทที่ 1,153,059, ซอร์ซฟอร์จฺที่ 624,989, กูเกิ้ลโค้ดที่ 287,901 และ โค้ดเพล็กซ์ที่ 49,839
  14. Levine, Peter วันที่ 9 กรกฎาคม 2012. "Software Eats Software Development"
  15. "Code-sharing site Github turns five and hits 3.5 million users, 6 million repositories". TheNextWeb.com. วันที่ 11 เมษายน 2013. นำมาใช้อ้างเมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2013.
  16. "10 Million Repositories". GitHub.com. วันที่ 23 ธันวาคม 2013. นำมาใช้อ้างเมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม 2013.
  17. "GitHub Expands To Japan, Its First Office Outside The U.S." TechCrunch. วันที่ 4 มิถุนายน 2015.
  18. "GitHub raises $250 million in new funding, now valued at $2 billion". Fortune. วันที่ 29 กรกฎาคม 2015
  19. "Forbes Cloud 100". Forbes. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2016.
  20. "GitHub Survived the Biggest DDoS Attack Ever Recorded". Wired.com. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2018.
  21. Hughes, Matthew วันที่ 19 มิถุนายน 2018. "GitHub's free education bundle is now available to all schools". The Next Web. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2018
  22. "GitHub Education is a free software development package for schools". Engadget. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2018
  23. "GitHub is acquiring NPM, a service used by 12 million developers" [กิตฮับได้เอ็นพีเอ็มแล้ว บริการซึ่งใช้งานโดยผู้พัฒนากว่า 12 ล้านคน]. Business insider. 16 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "Microsoft confirms it will acquire GitHub for $7.5 billion". VentureBeat. วันที่ 4 มิถุนายน 2018 นำมาใช้อ้างเมื่อ 4 มิถุนายน 2018
  25. 25.0 25.1 "Microsoft has acquired GitHub for $7.5B in stock". TechCrunch. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
  26. 26.0 26.1 "Microsoft confirms it will acquire GitHub for $7.5 billion". The Verge. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018
  27. "ทำไมไมโครซอฟท์จึงยอมจ่ายเงินให้กิตฮับมากเหลือเกิน" (บทความภาษาอังกฤษ). Harvard Business Review. วันที่ 6 มิถุนายน 2018. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2018.
  28. "10 เหตุผลว่าทำไมทางทีมถึงเปลี่ยนมาใช้บิทบัคคิท หลังไมโครซอฟท์ซื้อกิตฮับ" (บทความภาษาอังกฤษ). นำมาใช้อ้างเมื่อ 4 มิถุนายน 2018.
  29. Tung, Liam. "คู่แข่งกิตฮับเตรียมอ้าแขนรับผู้อพยพ แต่ดูเหมือนจะมาไม่กี่ราย" (บทความภาษาอังกฤษ). ZDNet. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2018.
  30. "ถ้าการที่ไมโครซอฟท์ซื้อกิตฮับทำให้คุณอยากเผ่นละก็ นี่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด"(บทความภาษาอังกฤษ). TechRepublic. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2018.
  31. "วิธีนำโครงการจากกิตฮับเข้ามา" (บทความภาษาอังกฤษ). SourceForge. นำมาใช้อ้างเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2018

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]