ข้ามไปเนื้อหา

เซบกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่ลาย sebka หรือ darj wa ktaf บนฟาซาดหนึ่งของหอคอยฮัสซาน ในราบัต ประเทศโมร็อกโก ที่สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 12

เซบกา (อักษรโรมัน: Sebka, จาก อาหรับ: شبكة, อักษรโรมัน: shabaka, แปลตรงตัว'ตาข่าย')[1]: 80 [2] เป็นคำเรียกรูปแบบหนึ่งของแม่ลายที่ใช้ในสถาปัตยกรรมอิสลามมัวร์ และ มูเดญัร

แม่ลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนไขว้กันหลายแบบปรากฏอยู่ทั่วไปตามพื้นผิวของหออะษาน และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ในโมร็อกโกกับอัลอันดูลัส ในสมัยอัลโมฮัด (ศตวรรษที่ 12-13) แม่ลายนี้ได้แพร่กระจายไปสู่การตกแต่งวิธีอื่น ๆ เช่น งานสตักโกบนผนังของหลายอาคารในสถาปัตยกรรมยุคมารีนิด และ นัสริด ก่อนจะกลายมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมอิสลามตะวันตก หลายครั้งควบคู่ประกอบกับองค์ประกอบของลายอาหรับ[3][4]

George Marçais นักวิชาการสมัยศตวรรษที่ 20 คนสำคัญ ที่ชำนาญการเรื่องสถาปัตยกรรมของภูมิภาคนี้ ระบุว่าแม่ลายนี้มีที่มาจากส่วนโค้งไขว้ที่สลับซับซ้อนในส่วนต่อขยายยุคศตวรรษที่ 10 ของมัสยิดใหญ่กอร์โดบา โดย คาลิฟ อัลฮักกัมที่สอง[4]: 257–258  ซึ่งถูกนำมาย่อส่วนและยืดออกเป็นลายคล้ายตาข่ายที่ต่อเนื่องกันไป สามารถนำมาใช้ปกคลุมพื้นผิวได้ แม่ลายนี้ยังมีรูปแบบลักษณะที่หลากหลาย หนึ่งในรูปแบบที่พบทั่วไปเรียกว่า darj wa ktaf ("บันไดกับไหล่") ของช่างศิลป์ชาวโมร็อกโก ใช้การสลับเส้นตรงกับเส้นโค้งมาไขว้กันบนแกนที่สมมาตรกัน เกิดเป็นแม่ลายที่ดูคล้ายกับ fleur-de-lis หรือรูปคล้ายพัลเมทท์[4]: 232 [3]: 32 

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dodds, Jerrilynn D., บ.ก. (1992). Al-Andalus: The Art of Islamic Spain. New York: The Metropolitan Museum of Art. ISBN 0870996371.
  2. M. Bloom, Jonathan; S. Blair, Sheila, บ.ก. (2009). "Granada". The Grove Encyclopedia of Islamic Art and Architecture. Oxford University Press. ISBN 9780195309911.
  3. 3.0 3.1 Parker, Richard (1981). A practical guide to Islamic Monuments in Morocco. Charlottesville, VA: The Baraka Press.
  4. 4.0 4.1 4.2 Marçais, Georges (1954). L'architecture musulmane d'Occident. Paris: Arts et métiers graphiques.