ข้ามไปเนื้อหา

เชวง วงศ์ใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชวง วงศ์ใหญ่
เลขาธิการพรรคสันติชน
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2518 – พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 สิงหาคม พ.ศ. 2472
เสียชีวิต17 มกราคม พ.ศ. 2542 (69 ปี)

เชวง วงศ์ใหญ่ (14 สิงหาคม พ.ศ. 2472 – 17 มกราคม พ.ศ. 2542) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา 3 สมัย และอดีตเลขาธิการพรรคสันติชน เป็นผู้ร่วมผลักดันการจัดตั้งจังหวัดพะเยา ได้รับการเรียกขานว่า "ควายหงานต่งลอ" (หมายถึง ทุ่งพระยาลอ)[1]

ประวัติ

[แก้]

เชวง วงศ์ใหญ่ เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2472[2] เขาเริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.)[1] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคสันติชน ซึ่งก่อตั้งขึ้นและนายเชวง ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรค[3] ในชุดที่มีดรงค์ สิงห์โตทอง เป็นหัวหน้าพรรค เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต 3 และได้รับเลือกตั้งเป็น 1 ใน 8 ส.ส.ของพรรคสันติชน[4] ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 ได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคกิจสังคม

เชวง วงศ์ใหญ่ เป็นนักการเมืองที่ผลักดันการจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยการเสนอแยกออกจากจังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2518[1]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พะเยายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522) แต่เขาไม่ได้รัเลือกตั้งในครั้งนั้น ต่อมาเขาได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งอีก 3 สมัย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรครวมไทย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นพรรคเอกภาพ

ในขณะดำรงตำแหน่ง ส.ส.พะเยา นายเชวง ก็ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษาของชาวพะเยา โดยการบริจาคทรัพย์สินในการพัฒนาโรงเรียนบ้านแก อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา[5]

เชวง วงศ์ใหญ่ ประกอบธุรกิจทำการขนส่งด้วยรถยนต์โดยสารประจำทางในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตสัมปทานเดินรถ ในชื่อ บริษัท เชียงคำขนส่ง จำกัด

เชวง วงศ์ใหญ่ ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อปี พ.ศ. 2536[6] จนถึงปี พ.ศ. 2538[7] และในปี พ.ศ. 2552[8] ถึงปี พ.ศ. 2554[9]

และศาลมีคำสั่งให้จัดการทรัพย์มรดก เมื่อปี พ.ศ. 2556[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "กว่าจะมาเป็นจังหวัดพะเยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  2. 2.0 2.1 ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดก
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  5. "โรงเรียนบ้านแก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2020-06-17.
  6. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
  7. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง ยกเลิกการล้มละลาย (ศาลจังหวัดพะเยา คดีหมายเลขแดงที่ ล. ๑/๒๕๓๖ นายเชวง วงศ์ใหญ่ (จำเลย))
  8. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
  9. ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำพิพากษาให้ล้มละลาย
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๐