เชมาทัง
เชมาทัง ปังเช็น | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
วงหมู่บ้านฉีมินทัง | |
พิกัด: 27°42′38″N 91°43′48″E / 27.7106891°N 91.7300530°E | |
Country | อินเดีย |
รัฐ | อรุณาจัลประเทศ |
อำเภอ | ตาปั๋ง |
ความสูง | 2,120 เมตร (6,960 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 2,498 คน |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
เชมาทัง (ทิเบต: བྱེ་མ་ཐང་, ไวลี: bye ma thang, พินอินทิเบต: qe ma tang), เชแมทัง (ทิเบต: བྱེ་མའི་ཐང་, ไวลี: bye ma'i thang, พินอินทิเบต: qe mä tang), เซมิตัง (อักษรโรมัน: Zemithang, Zimithang หรือ Jemeithang[1]) หรือ ปังเช็น (อักษรโรมัน: Pangchen, ทิเบต: སྤང་ཆེན, ไวลี: spang chen, พินอินทิเบต: bang qên) เป็นหมู่บ้านและศูนย์กลางการปกครองของวงหมู่บ้านเชมาทัง อำเภอตาปั๋ง รัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำญัมจังชู
วงหมู่บ้านเชมาทัง (อังกฤษ: Zemithang Circle) เป็นเขตการปกครองสุดท้ายของประเทศอินเดียบนพรมแดนกับประเทศภูฏานและเขตปกครองตนเองทิเบตของประเทศจีน[2][3][4] วงหมู่บ้านมีประชากร 2,498 คนตามสำมะโนปี 2011 และประกอบด้วย 18 หมู่บ้าน วงหมู่บ้านฉีมินทัง กับ วงหมู่บ้านดูดูฮาร์ (Dudunghar Circle) ทางใต้ รวมกันเป็นเขตพัฒนาชุมชน[5] พรมแดนของฉีมินทังกับทิเบตของจีนตามแนวหุบเขานัมกาชู และ ซุมโดโรงชู เป็นพื้นที่พิพาทพรมแดนกับจีน
หลังทิเบตถูกจีนเช้ายึดครอง ทะไลลามะที่ 14 หลบหนีออกจากจีนมายังอินเดียในปี 1959 โดยผ่านเชมาทังเป็นหมู่บ้านแรกในอาณาเขตของอินเดีย [6] ทะไลลามะได้อาศัยจำวัดที่อารามตาปั๋ง ราว 70 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของฉีมินทังในวันที่ 30 มีนาคม ก่อนที่ในเดือนถัดมาจะเดินทางต่อไปยังรัฐอุตตราขัณฑ์ และพบกับนายกรัฐมนตรีอินเดียในเวลานั้น ชวาหัรลาล เนหรู[7] มีรายงานว่าทะไลลามะระลึกถึงพื้นที่แถบบนี้ "โดยเปี่ยมด้วยอารมณ์" ว่าเป็น "สถานที่ที่เราได้พบกับอิสรภาพเป็นครั้งแรก"[7]
เขอร์สั่มเชย่อตัน
[แก้]เขอร์สั่มเชย่อตัน (อักษรโรมัน: Gorsam Chorten, ทิเบต: གོར་ཟམ་མཆོད་རྟེན་) เป็นสถูปในศาสนาพุทธ (เชย่อตัน; chorten) ตั้งอยู่ที่เชอร์สั่ม (Gorsam) ราว 3 กิโลเมตรทางใต้จากตัวหมู่บ้านฉีมินทัง ประวัติศาสตร์ของพระสถูปนี้ไม่เป็นที่ทราบเลย เนื่องจากบันทึกลายลักษณ์อักษรเท่าที่มีอยู่ของสถูปสูญหายกับถูกทำลายไปหมด[8] ตามตำนานเล่าว่าพระสถูปนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 12-14 โดยภิกษุนามว่า ลามะ สังฆเย ปราธาร (Lama Sangye Pradhar) เพื่อปัดเป่าวิญญาณชั่วร้ายในหมู่บ้าน[8] ลามะได้เดินทางไปภูฏาน และกาฐมาณฑุในเนปาล เพื่อรับบริจาคสร้างพระสถูปนี้ ขณะจาริกไปยังกาฐมาณฑุ ท่านประทับใจมากกับพระสถูปพุทธนาถ[9] (บางแหล่งว่า[8] พระสถูปสวยัมภูนาถ) และแกะสลักผักกาดหัวเป็นรูปจำลองขนาดย่อของพระสถูปนี้ และเมื่อเดินทางกลับไปเชมาทัง ก็ได้สร้างสถูปเขอร์สั่มขึ้นตามรูปจำลองจากผักกาดหัวแกะสลักนี้ ว่ากันว่าพระสถูปเขอร์สั่มมีลักษณะต่างไปจากพระสถูปที่กาฐมาณฑุเนื่องมาจากผักกาดหัวที่ท่านแกะสลักและนำกลับมานั้นเหี่ยวเฉาลงไปก่อนที่จะมาถึงฉีมินทัง[8] พระสถูปมีความสูง 28 เมตร และเป็นที่จัดเทศกาล Gorsam Kora ที่มีรายงานศาสนิกชนเข้าร่วมหลายพันคนต่อปี[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kalita, Kangkan (2023-03-21). "Tree planted by 14th Dalai Lama near LAC in Arunachal a big hit". สืบค้นเมื่อ 2023-06-02.
- ↑
Sang Khandu (APCS, Circle Officer, Bomdila). "Leaves of Pangchen" (PDF). สืบค้นเมื่อ 12 July 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Chowdhary, Charu (2019-07-23). "Zemithang: An Oasis of Calm And Tranquility in Arunachal Pradesh". India.com. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑
"Community from Zemithang Valley bags award for forest conservation". www.wwfindia.org (ภาษาอังกฤษ). WWF-India. 10 December 2015. สืบค้นเมื่อ 2021-07-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Tawang District Census Handbook, Part A (PDF), Directorate of Census Operations, Arunachal Pradesh, 2011, pp. 28, 77
- ↑ "Taking the high road: India infrastructure drive counters China". RFI. 2023-05-04. สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ 7.0 7.1 "How the Dalai Lama escaped to Arunachal Pradesh 58 years back". Indian Express. 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 S. Banerjee, Partha (2003-03-16). "The solitary splendour of a stupa in the wilderness". The Tribune - Sunday. สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.
- ↑ 9.0 9.1 "Gorsam Chorten Zemithang, Tawang". Government of Arunachal Pradesh. 2023-06-28. สืบค้นเมื่อ 2023-07-07.