เฉลียว อยู่สีมารักษ์
เฉลียว อยู่สีมารักษ์ | |
---|---|
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 – 19 เมษายน พ.ศ. 2554 | |
ก่อนหน้า | ชินภัทร ภูมิรัตน |
ถัดไป | อภิชาติ จีระวุฒิ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2494 อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา |
เสียชีวิต | 6 กันยายน พ.ศ. 2560 (66 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
เฉลียว อยู่สีมารักษ์ (11 มกราคม พ.ศ. 2494 – 6 กันยายน พ.ศ. 2560) อดีตประธานที่ปรึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ประเทศไทย)[1]
ประวัติ
[แก้]เฉลียว อยู่สีมารักษ์ จบการศึกษาปริญญาตรี คุรุศาสตรบัณฑิต (คบ.) จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา ระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) มหาวิทยาลัยบูรพา (มศว.บางแสน) ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง หลักสูตรนักบริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ ๒๕๔๗
เฉลียว สมรสและมีบุตรีคือ อภิรดี อ๋องสกุล ผู้รับใบอนุญาตวิทยาลัยอาชีวศึกษาสกลนครพัฒนศิลป์
เฉลียว ได้ดำรงตำแหน่งทางราชการต่าง ๆ อาทิ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบและทะเบียนประวัติ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู, เลขานุการกรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ , รองเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู กระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ๙) , รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (นักบริหาร ๙) , ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู, เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (นักบริหาร ๑๐) , รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ๑๐) , ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ระดับ ๑๐ , เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ถึง 21 ธันวาคม 2553 กระทั่งลาออกจากราชการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[2]
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ได้มีผลงานต่างๆ อาทิ ดำเนินการในการพิจารณาระบบการประเมินตำแหน่งข้าราชการครูให้รับเงินเดือนในระดับสูงขึ้น ในตำแหน่งสายผู้บริหารสถานศึกษา สายผู้บริหารนอกสถานศึกษา สายนิเทศการศึกษาและข้าราชการครู สายผู้สอน, รับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง และกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 55 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[3] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 6 กันยายน 2560 ด้วยโรคเนื้องอกในตับ
ในวันที่ 7 กันยายน 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานในพิธี พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 14 กันยายน 2560 เวลา 17.00 น. ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2552 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-22. สืบค้นเมื่อ 2012-07-07.
- ↑ "เฉลียว อยู่สีมารักษ์" ลาออกจากปลัด ศธ.มีผลวันนี้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๖, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๐๙, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๔, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- ปลัดกระทรวงศึกษาธิการไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- บุคคลจากอำเภอสูงเนิน
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์