ข้ามไปเนื้อหา

เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2554 – 25 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าวิรุณ ตั้งเจริญ
ถัดไปสมชาย สันติวัฒนกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2502 (66 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพญ.สิรินันท์ บุญยะลีพรรณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2502) เป็นนักการเมือง แพทย์ นักวิชาการชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา[1]

และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2]ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

และที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [3]ตั้งแต่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติ

[แก้]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ เกิดเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2502[4] เป็นชาวอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอรุณประดิษฐ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และจบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และได้รับวุฒิบัตร กุมารเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายแพทย์ เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ได้รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จนได้รับการแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ[5]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[6]กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา[7]และ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [8]

ชีวิตส่วนตัวสมรสกับ แพทยหญิงสิรินันท์ บุญยะลีพรรณ มีบุตร 2 คน[9]ซึ่งบุตรสาวคนโต วณิศรา บุญยะลีพรรณ สมรสกับ ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ บุตรชายของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ครม.ตั้งแล้วคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จำนวน 25 ราย มี “จรัส สุวรรณเวลา” เป็นประธาน ทำหน้าที่ศึกษา-ให้ข้อเสนอแนะ ครม.ในการจัดการศึกษา
  2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  3. "คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
  4. ประวัติกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ผู้แทนคณาจารย)
  5. โปรดเกล้าฯ “เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ” อธ.มศว คนใหม่[ลิงก์เสีย]
  6. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  7. ครม.ตั้งแล้วคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จำนวน 25 ราย มี “จรัส สุวรรณเวลา” เป็นประธาน ทำหน้าที่ศึกษา-ให้ข้อเสนอแนะ ครม.ในการจัดการศึกษา
  8. นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!
  9. เจาะตู้เซฟอาจารย์-อธิการบดีม.ดังนั่ง สนช.9 แห่ง 12 คน ทรัพย์สินกว่า 1 พันล.
  10. วิวาห์หวานชื่นมื่น บุตรชายที่ปรึกษา คสช. ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ วณิศรา บุญยะลีพรรณ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘