ข้ามไปเนื้อหา

เจ. บรูซ อิสเมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ. บรูซ อิสเมย์
อิสเมย์ใน ค.ศ. 1912
เกิดโจเซฟ บรูซ อิสเมย์
12 ธันวาคม ค.ศ. 1862(1862-12-12)
ครอสบี ลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต17 ตุลาคม ค.ศ. 1937(1937-10-17) (74 ปี)
เมย์แฟร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ
สุสานสุสานพัตนีย์เวล
อาชีพประธานและกรรมการผู้จัดการของไวต์สตาร์ไลน์
ตำแหน่งเจ้าของเรือ
คู่สมรสจูเลีย ฟลอเรนซ์ ชีฟเฟลิ (สมรส 1888)
บิดามารดา

โจเซฟ บรูซ อิสเมย์ (อังกฤษ: Joseph Bruce Ismay; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1862[1] – 17 ตุลาคม ค.ศ. 1937) เป็นนักธุรกิจชาวอังกฤษซึ่งดำรงตำแหน่งประธานและกรรมการผู้จัดการของสายการเดินเรือ ไวต์สตาร์ไลน์[2] เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากนานาชาติ เนื่องจากเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของไวต์สตาร์ไลน์ที่รอดชีวิตจากการอับปางของเรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก ซึ่งเป็นเรือธงลำใหม่ของบริษัทใน ค.ศ. 1912

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อิสเมย์เกิดที่เมืองครอสบี้ เทศมณฑลแลงคาเชอร์ เป็นบุตรชายของโธมัส เฮนรี อิสเมย์ (7 มกราคม ค ศ. 1837 – 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1899) และนางมาร์กาเร็ต บรูซ (13 เมษายน ค.ศ. 1837 – 9 เมษายน ค.ศ. 1907)[3] เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเอลสทรี และโรงเรียนแฮร์โรว์ [4] จากนั้นไปเรียนพิเศษที่ฝรั่งเศสเป็นเวลา 1 ปี เขาฝึกงานที่สำนักงานของบิดาเป็นเวลา 4 ปี หลังจากนั้นเขาได้ไปเที่ยวรอบโลก

ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1888 อิสเมย์แต่งงานกับจูเลีย ฟลอเรนซ์ ชิฟเฟลิน (5 มีนาคม ค.ศ. 1867 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1963) มีบุตรด้วยกัน 5 คน: [5]

  • มาร์กาเร็ต บรูซ อิสเมย์ (Margaret Bruce Ismay; 29 ธันวาคม ค.ศ. 1889 – 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1967)
  • เฮนรี บรูซ อิสเมย์ (Henry Bruce Ismay; 3 เมษายน ค.ศ. 1891 – 1 ตุลาคม ค.ศ. 1891)
  • โทมัส บรูซ อิสเมย์ (Thomas Bruce Ismay; 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1894 – 27 เมษายน ค.ศ. 1954)
  • เอเวลิน คอนสแตนซ์ อิสเมย์ (Evelyn Constance Ismay; 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1897 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1940)
  • จอร์จ บรูซ อิสเมย์ (George Bruce Ismay; 6 มิถุนายน ค.ศ. 1902 – 30 เมษายน ค.ศ. 1943)

ในปี ค.ศ. 1891 อิสเมย์กลับมาพร้อมครอบครัวที่สหราชอาณาจักรและกลายเป็นหุ้นส่วนในบริษัทของบิดาชื่อ อิสเมย์ อิมรี แอนด์ คอมพานี (Ismay and Imrie and Company) ในปี 1899 โธมัส อิสเมย์เสียชีวิต และบรูซ อิสเมย์ก็เป็นหัวหน้าธุรกิจของครอบครัว อิสเมย์เป็นผู้นำด้านธุรกิจ และไวต์สตาร์ไลน์ก็รุ่งเรืองภายใต้การนำของเขา นอกเหนือจากการทำธุรกิจเรือแล้ว อิสเมย์ยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง ในปี 1901 เขาได้รับการทาบทามจากนักธุรกิจชาวอเมริกันที่ต้องการสร้างกลุ่มบริษัทเดินเรือระหว่างประเทศคือ บริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์แคนไทล์ มารีน (International Mercantile Marine Company) ซึ่งอิสเมย์ตกลงที่จะขายบริษัทของเขา[6]

ประธานของไวต์สตาร์ไลน์

[แก้]

ไททานิก

[แก้]

ชีวิตในช่วงหลัง

[แก้]

การเสียชีวิต

[แก้]

การปรากฎตัวในภาพยนตร์

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

  1. "Mr Joseph Bruce Ismay". Encyclopedia Titanica. Retrieved 10 February 2021.
  2. "J. BRUCE ISMAY, 74, TITANIC SURVIVOR; Ex-Head of White Star Line Who Retired After Sea Tragedy Dies in London". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 1937-10-19. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-07-19.
  3. "Mr Joseph Bruce Ismay". Encyclopedia Titanica. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
  4. Wilson 2012b.
  5. "Married in early December". 31 October 2003. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009 – โดยทาง Encyclopedia Titanica.
  6. "Histoire de la White Star Line". Le Site du Titanic (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.

แหล่งข้อมูล

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Gardiner, Robin (2002). History of the White Star Line. Ian Allan Publishing. ISBN 978-0-7110-2809-8.
  • Oldham, Wilton J. (1961). "The Ismay Line: The White Star Line, and the Ismay family story". The Journal of Commerce. Liverpool.