เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)
เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) | |
---|---|
ประสูติ | พ.ศ. 2423[1] |
ถึงแก่กรรม | 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 (33 ปี) |
ภริยา | เจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ |
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
เจ้าบิดา | เจ้าแก้วนวรัฐ |
เจ้ามารดา | เจ้าจามรีวงศ์ |
ร้อยตรี รองอำมาตย์ตรี[2] เจ้าอุตรการโกศล มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยศุขเกษม (ไทยถิ่นเหนือ: ) (พ.ศ. 2423 - พ.ศ. 2456) เป็นราชโอรสองค์ใหญ่ในพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ สมรสกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ พระญาติในราชวงศ์ทิพย์จักร มีบรรดาศักดิ์เป็น "เจ้าอุตรการโกศล" ถือศักดินา 1,600
เจ้าน้อยศุขเกษม ถูกกล่าวถึงในบทเพลง มะเมี้ยะ ของจรัล มโนเพ็ชร ซึ่งกล่าวถึงตำนานรักต้องห้ามระหว่างเจ้าชายเมืองเหนือกับมะเมียะ สาวชาวพม่า แห่งเมืองมะละแหม่ง ที่จบลงด้วยความเศร้า
ประวัติ
เจ้าน้อยศุขเกษม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2423 เป็นราชโอรสองค์ใหญ่ในเจ้าแก้วนวรัฐกับแม่เจ้าจามรีมหาเทวี มีน้องสาวและน้องชายร่วมพระมารดา คือ เจ้าบัวทิพย์ และเจ้าวงษ์ตะวัน ในปี พ.ศ. 2441 ในวัย 15 ปีก็ถูกส่งตัวไปศึกษายังโรงเรียนเซนต์แพทริคในเมืองมะละแหม่งของพม่า[3] และได้พบรักกับมะเมียะแม่ค้าสาวชาวพม่าในปี พ.ศ. 2445 จนกระทั่งได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ
หลังจากเรื่องเจ้าศุขเกษมไปคบหากับสาวพม่าได้ยินมาถึงคุ้มเชียงใหม่ เจ้าศุขเกษมก็ถูกเรียกกลับเชียงใหม่ในปีพ.ศ. 2446 โดยมะเมียะปลอมตัวเป็นผู้ชายติดตามขบวนมาและให้คนสนิทปิดเรื่องนี้เป็นความลับ[4] หลังจากเรื่องแดง มะเมี๊ยะซึ่งเป็นคนพม่าและมีฐานะยากจน ก็ถูกคุ้มเชียงใหม่บีบบังคับให้แยกทางจากเจ้าศุขเกษมอย่างเด็ดขาด[3] โดยเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เคยให้สัมภาษณ์ต่อตำนานดังกล่าว ซึ่งเจ้าดวงเดือนรับฟังมาจากเจ้าแก้วนวรัฐ ความว่า:
ได้ข่าวจากเชียงตุงว่า…ไปเฮียนหนังสือมันก็บ่เฮียน ไปเมาสาวเหีย ถ้ามีลูกมีเต้าจะเยี๊ยะจะได เพราะว่าเขาต้องมาสืบความเป็นเจ้าหลวงต่อนะ มันบ่เฮียนหนังสือ เอามันกลับมาเหีย ก็เลยเอากลับมา มาก็มากันสองคน คนหนึ่งปลอมเป็นผู้ชายมาคือมะเมี๊ยะ มาแล้วก็บอกว่ามันอยู่กันบ่ได้เลย ก็เลยบอกว่าให้เอาอีมะเมี๊ยะไปส่งเหีย[3]
— เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่
มีผู้พยายามเสนอว่า การที่เจ้าศุขเกษมและมะเมียะต้องแยกทางกัน เพราะมะเมียะเป็นคนในบังคับอังกฤษเกรงจะเป็นปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศนั้น นักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าแล้วสรุปว่าไม่มีมูล[3] ดังที่ เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ สมรสกับเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง ก็ไม่เป็นปัญหาทางการเมืองแต่อย่างใด
เจ้าศุขเกษมได้เข้าพิธีสมรสกับเจ้าบัวชุม ณ เชียงใหม่ เจ้าศุขเกษมมีอุปนิสัยไม่เอาการเอางาน ชอบแต่สุรา ด้วยเหตุฉะนี้จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเพียง "เจ้าอุตรการโกศล" ซึ่งไม่มีสิทธิขึ้นครองนครต่อเนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งเจ้าขันห้าใบ เจ้าศุขเกษมถึงแก่กรรมด้วยโรคเส้นประสาทพิการเรื้อรัง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2456 สิริอายุ 33 ปี[5] (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2457) โดยมีพิธีปลงศพ ในวันที่ 31 สิงหาคม ของปีเดียวกัน
ลำดับสาแหรก
พงศาวลีของเจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
- ↑ "เจ้าน้อยศุขเกษม กับนางมะเมียะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 28 หน้าที่ 2567 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ร.ศ.130 พระราชทานยศหัวเมืองประจำตำแหน่ง [1]
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 มะเมี๊ยะ : เรื่องเก่าที่ต้องมองใหม่ สมฤทธิ์ ลือชัย. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ 2555. 20 ธันวาคม 2559
- ↑ วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมีย, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊ค, 2556
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 3080. 29 มีนาคม 2456. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
- เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่)เก็บถาวร 2009-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน