ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงปูรณิกาแห่งเนปาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Purnika Rajya Laxmi Devi Shah

ปูรณิการาชยลักษมีเทวีศาหะ
เจ้าหญิงแห่งเนปาล
ครองราชย์Reina De Nepal
ประสูติReina De Nepal
ราชวงศ์ศาห์
พระบิดาเจ้าชายปารัส มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล
พระมารดาเจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล

เจ้าหญิงปูรณิการาชยลักษมีเทวีศาหะ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543) เป็นพระราชธิดาในเจ้าชายปารัส มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล กับเจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล และเป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีชญาเนนทระ พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งเนปาล

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงปูรณิกาประสูติเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ณ กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล พระราชธิดาองค์แรกในเจ้าชายปารัส มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล กับเจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล

เจ้าหญิงปูรณิกาทรงอยู่ในอันดับที่ 3 ของการสืบการราชบัลลังก์พระมหากษัตริย์แห่งเนปาล[1] เนื่องจากในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลเนปาลได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเทียรบาลที่ให้สตรีสามารถขึ้นครองราชย์ได้ด้วยความเป็นชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร[2][3][4][5] แต่อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้เป็นนิมิตหมายที่ดีเลยสำหรับพระองค์ที่จะได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถต่อจากพระชนก และพระอนุชา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศเนปาลที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ และยกเลิกการปกครองระบอบราชาธิปไตยที่มีมายาวนานของเนปาล[6]

ปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันเจ้าหญิงปูรณิกาได้เสด็จลี้ภัยทางการเมืองพร้อมกับพระชนนี พระอนุชา และพระขนิษฐา โดยได้ประทับอยู่ในประเทศสิงคโปร์ เพื่อไปสมทบพระชนกที่ประทับอยู่ก่อนแล้วซึ่งประกอบธุรกิจในประเทศสิงคโปร์.[7][8]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Future Rani of Nepal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  2. Nepali Aawaz เก็บถาวร 2016-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Vol.1 Issue 17, Page 3
  3. "Telegraph Nepal : A NEW IDENTITY FOR NEPAL". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  4. Showing a red flag to a bull - Nepali Times
  5. "Royal News: August 2006". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-04.
  6. "Vote to abolish Nepal's monarchy". BBC News. 2007-12-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-13.
  7. "Nepal ex-prince's family leaves". BBC. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17.
  8. "Ex-princess Himani leaves for Singapore". Kantipur.com. 2008-07-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-17.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าหญิงปูรณิกาแห่งเนปาล ถัดไป
เจ้าชายหริทเยนทรแห่งเนปาล ลำดับการสืบราชบัลลังก์แห่งเนปาล
(ลำดับที่ 3)

เจ้าหญิงกฤติกาแห่งเนปาล