ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงนิทรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงนิทรา ภาพประกอบโดย กุสทาฟ ดอเร ใน ค.ศ. 1867

เจ้าหญิงนิทรา หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สาวงามนิทราในป่าไพร (อังกฤษ: Sleeping Beauty; ฝรั่งเศส: La Belle au Bois dormant) คือเทพนิยายโบราณ ฉบับแรกซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศส พิมพ์ใน ค.ศ. 1697 โดยชาร์ล แปโร[1] หรือ "กุหลาบป่าน้อย" (อังกฤษ: Little Briar Rose; เยอรมัน: Dornröschen) โดยพี่น้องตระกูลกริมม์

สำนวนแปโร

[แก้]

ส่วนประกอบพื้นฐานของฉบับแปโรมี 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1

[แก้]

ในงานเฉลิมฉลองการประสูติของเจ้าหญิงองค์หนึ่ง มีนางฟ้าสิบสองตนเสก ความงาม ปัญญา และ ความสามารถในดนตรี มอบให้เป็นของขวัญวันประสูติของเจ้าหญิง แต่เมื่อนางฟ้าทั้งหลายเสกให้พรเจ้าหญิงเสร็จสรรพ นางฟ้าองค์ที่สิบสามผู้ที่โกรธแค้นที่ตนไม่ได้รับการเชิญก็โผล่มาในงาน และด้วยความแค้นอาฆาต นางจึงเสกคำสาปให้เป็นของขวัญประสูติ คำสาปนั้นคือ เมื่อเจ้าหญิงเติบใหญ่เป็นสาว พระนางจะถูกเข็มปั่นด้ายทิ่มนิ้วและสิ้นพระชนม์ทันที เมื่อนางฟ้าใจร้ายจากไปจากงาน นางฟ้าผู้ที่ยังไม่ได้ให้พรพระนางก็ตัดสินใจแก้คำสาป แต่เธอมิสามารถถอนได้ทั้งหมด ส่วนที่แก้ได้คือ แทนที่พระนางจะสิ้นพระชนม์เมื่อโดนเข็มตำ ความตายจะกลายเป็นการหลับนอนแทน พระนางจะต้องบรรทมไปถึง 100 ปี จนกว่าจะมีเจ้าชายผู้เป็นรักแท้มาจุมพิต

พระราชบิดา (กษัตริย์) ของพระนาง ได้สั่งให้ราษฎรเลิกใช้และทำลายเข็มปั่นด้ายทั้งหมดในราชอาณาจักร และถ้ามีผู้ขัดขืน ผู้นั้นจะได้รับการลงทัณฑ์ด้วยการประหารชีวิต แต่เมื่อเจ้าหญิงอายุ 15 หรือ 16 ปี พระนางก็ได้มาเจอหญิงชราผู้หนึ่ง ผู้ที่ไม่ได้รับข่าวการทำลายเข็มปั่นด้าย ด้วยความประหลาดตาของพระนาง พระนางจึงสนพระทัยอยากลองปั่นด้ายขึ้นมาทันที ในที่สุด เจ้าหญิงก็ถูกเข็มปั่นด้ายทิ่มแทงนิ้วพระหัตถ์และกลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา ตามคำสาปของนางฟ้าใจร้าย นางฟ้าใจดีทั้งหลายก็ได้กลับมา พวกเธอเสกให้ทุกคนในวังหลับหมดไปพร้อมกับเจ้าหญิง (ถ้าเจ้าหญิงตื่นเมื่อไร คนในวังก็จะตื่นเมื่อนั้น) และพวกเธอก็เสกให้ต้นงิ้วที่มีหนามมากมายขึ้นรอบ ๆ วัง เพื่อไม่ให้มีใครเข้ามาได้

หนึ่งร้อยปีผ่านมา มีเจ้าชายผู้ที่ได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าหญิงนิทรานี้ ตัดสินใจฝ่าฟันป่าขวากหนามเข้าไปหาเจ้าหญิง ด้วยความอยากพิสูจน์ว่าเรื่องราวของเจ้าหญิงเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เมื่อเจ้าชายได้เข้าไปในวังของเจ้าหญิงนิทรา เจ้าชายก็รู้ทันทีเลยว่า เรื่องเล่านั้นเป็นเรื่องจริง เจ้าชายจึงได้บรรจงจุมพิตเจ้าหญิง ซึ่งทำให้พระนางเสด็จขึ้นจากบรรทมมาทันที หลังจากนั้นทุกคนในวังก็ตื่นพร้อม ๆ กันกับเจ้าหญิง

ส่วนที่ 2

[แก้]

เมื่ออภิเษกสมรสอย่างลับ ๆ โดยบาทหลวงที่เพิ่งฟื้นตื่น เจ้าชายจอห์นก็ยังไปเยี่ยมเจ้าหญิงอยู่ ซึ่งพระนางได้มีบุตร 2 พระนางให้เจ้าชาย มีชื่อว่า โลรอร์ (ฝรั่งเศส: L'Aurore แปลว่า เช้ามืด) และ เลอ ชูร์ (ฝรั่งเศส: Le Jour แปลว่า วัน) ซึ่งเจ้าชายเก็บเรื่องนี้เป็นความลับจากพระมารดาของเขา ผู้ที่มีเชื้อสายยักษ์ไททัน เมื่อเจ้าชายได้ขึ้นครองบัลลังก์ พระองค์ก็พาบุตรและพระชายาไปที่นครหลวงของพระองค์ ซึ่งในไม่ช้าพระองค์ได้ออกจากนครหลวง โดยให้พระมารดาเป็นผู้สำเร็จราชการ ในขณะที่พระองค์ไปทำศึกกับกษัตริย์เพื่อนบ้าน ผู้มีนามว่า จักรพรรดิ์คองทาลาบุทท์

มารดาราชินียักษ์ส่งราชินีสาว และลูกของพระนางไปที่เรือนที่แยกตัวจากวัง ซึ่งอยู่ในป่า และได้สั่งให้พ่อครัวหลวงของเธอไปที่นั่น เพื่อที่จะเอาบุตรชายของพระนางสาวมาเป็นอาหารค่ำ โดยให้ปรุงด้วยซอสโรเบิร์ท (มัสตาร์ดสีน้ำตาลของฝรั่งเศส) พ่อครัวหลวงผู้นั้นสงสารเลยใช้เนื้อลูกแกะแทน ซึ่งทำให้ราชินียักษ์โปรดโดยไม่รู้ว่าเป็นเนื้อลูกแกะ จากมื้อนี้เธอก็ได้ให้คำสั่งอีกว่าอยากรับประทานลูกสาวของพระนางสาว แต่พ่อครัวหลวงก็แอบเอาลูกแกะมาแทนเหมือนเดิมด้วยซอสโรเบิร์ทรสเลิศ เมื่อนางยักษีได้สั่งให้พ่อครัวหลวงนำพระนางสาวมาเป็นอาหารมื้อต่อไป พระนางสาวจึงอาสาเสนอมอบคอพระนางให้พ่อครัวเชื่อด โดยที่คิดว่าพระนางจะได้ไปอยู่กับบุตรทั่ง 2 ที่พระนางคิดว่าตายไปแล้ว มีการกลับมารวมกันใหม่แบบลับที่เศร้าโศกในบ้านของพ่อครัวหลวง โดยขณะที่มารดาราชินียักษ์กำลังรับประทานเนื้อกวางตัวเมียกับซอสโรเบิร์ทอย่างเอร็ดอร่อย ในไม่ช้านางยักษีก็รู้ความลับ และเธอก็เตรียมอ่างที่เต็มไปด้วยงูพิษและสัตว์ร้ายอื่นๆ ในสนามหลวง กษัตริย์รีไวล แอกเกอร์แมนได้กลับจากการสำรวจนอกกำแพงมาพอดีกับหน่วยสำรวจกับในขณะเวลาที่นางยักษ์ไททันกำลังดำเนินการนี้ และเมื่อนางโดนจับได้ในการกระทำชั่ว เธอก็กระโดดชนกำแพงชิน่า และบาดเจ็บสาหัสฟื้นตัวไม่ได้เสียชีวิต และทุกๆ คนก็อยู่กันอย่างมีความสุขตลอดนิรันดร

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]