ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงกาตารีนาแห่งบอสเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กาตารีนาแห่งบอสเนีย (บอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย: Katarina Tomašević Kotromanić / Катарина Томашевић Котроманић; อังกฤษ: Catherine of Bosnia; ค.ศ. 1453 – ) ทรงเป็นสมาชิกพระองค์หนึ่งของราชวงศ์คอโตรมานิคและเป็นเจ้าหญิงบอสเนียพระองค์สุดท้าย พระองค์ถูกจับระหว่างการพิชิตบอสเนียของออตโตมัน โดยเข้ารับอิสลามและทรงใช้ชีวิตที่เหลือในจักรวรรดิออตโตมัน

ปฐมวัย

[แก้]

เจ้าหญิงกาตารีนาทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์เดียวของกษัตริย์โทมัสและพระราชินีกาตารีนา ซึ่งมีพระราชบุตรอีกพระองต์พระนามว่าซิกิสมุนด์[1] ครั้นเมื่อกษัตริย์โทมัสเสด็จสวรรคตในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1461 มงกุฎของบอสเนียได้ตกเป็นของสตีเฟน โทมาเทวิช[2] เจ้าหญิงกาตารีนาและซิกิสมุนด์มักได้รับการกล่าวกันว่าทรงย้ายไปอยู่กับพระราชมารดาในเวลานั้นที่ปราสาทโคโซกราดเหนือฟอจนิกา อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าพวกพระองค์จะประทับอยู่ที่ราชสำนักในยาจเซ เนื่องจากพวกพระองต์เป็นราชวงศ์ที่ใกล้ชิดที่สุดของพระเชษฐาต่างพระราชมารดาและเป็นรัชทายาทที่อาจเป็นไปได้[3]

ใน ค.ศ. 1463 พวกออตโตมันที่นำโดยสุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิตได้บุกครองบอสเนีย โดยเห็นได้ชัดว่าทางราชวงศ์ได้ตัดสินพระราชหฤทัยแยกทาง และทรงลี้ไปยังโครเอเชียกลางรวมถึงชายฝั่งในทิศทางที่ต่างกัน เพื่อสร้างความสับสนและทำให้ผู้บุกครองเข้าใจผิด[3] แต่กระนั้น ซิกิสมุนด์และเจ้าหญิงกาตารีนา ซึ่งแยกจากพระราชมารดา ได้ถูกจับกุมในซเวชาจใกล้กับเมืองยาจเซ ขณะที่กษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระเชษฐาต่างพระราชมารดาของพวกพระองค์ถูกหลอกให้ยอมจำนนในเมืองคลจูช และทรงถูกประหารชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน ส่วนพระราชินีกาตารีนาทรงประสบความสำเร็จในการหลบหนีและในที่สุดก็ทรงตั้งรกรากอยู่ในกรุงโรม[4]

พระชะตากรรมที่ไม่แน่นอน

[แก้]

ชะตากรรมของซิกิสมุนด์ภายหลังการล่มสลายของบอสเนียนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก – พระองค์ทรงรับศาสนาอิสลาม ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในพระนามอิซฮัก เบย์ ราชบุตรของกษัตริย์ และทรงสร้างอาชีพในฐานะรัฐบุรุษออตโตมันระดับสูง อย่างไรก็ตาม ไม่ค่อยมีใครรู้จักเจ้าหญิงกาตารีนา นอกจากความจริงที่ว่าพระองค์ทรงกลายเป็นมุสลิมด้วย[5] เช่นเดียวกับการศึกษาของชาวเติร์ก การเปลี่ยนศาสนาของพระเชษฐาพระขนิษฐาดังกล่าว อาจได้รับการยุยงโดยพระปิตุลาของพวกพระองค์ ผู้มีพระนามว่าเฮอร์เซกซาเด อาเหม็ด พาชา ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดา ที่เปลี่ยนศาสนาและบรรลุตำแหน่งสูงสุดในจักรวรรดิออตโตมันเช่นกัน[6] ทั้งนี้ ตามสมมติฐานของกลิโกริเย เอเลโซวิช นักประวัติศาสตร์ชาวเซอร์เบีย ได้เผยว่าตำแหน่งผู้ปกครองของเจ้าหญิงได้มอบหมายแด่อิซา เบย์ อิชาโควิช ซันจักเบย์แห่งสกอเปีย ซึ่งอาจเป็นพระอัยกาฝ่ายพระราชมารดา ในสำนักที่เจ้าหญิงทรงเปลี่ยนศาสนา[5]

ตูรเบ (ที่เก็บพระบรมศพ) พระราชธิดาของกษัตริย์ ได้ถูกทำลายในแผ่นดินไหวในสกอเปีย ค.ศ. 1963 และได้รับการบูรณะในคริสต์ศตวรรษที่ 21

ส่วนในกรุงโรม พระราชินีกาตารีนาได้ทรงงานเพื่อให้ซิกิสมุนด์และเจ้าหญิงกาตารีนา "ได้รับการปล่อยพระองค์จากการถูกจองจำในตุรกี" พระองค์ตรัสถึงพระราชธิดาของพระองค์ว่าพระชนมายุ 10 พรรษา แต่นี่อาจหมายความว่าเจ้าหญิงพระชนมายุ 10 พรรษาในขณะที่พระองค์ถูกจับ[1][6] สี่ปีต่อมา พระราชินีกาตารีนาเสด็จพระราชดำเนินไปยังชายแดนออตโตมันเพื่อทรงเจรจาค่าไถ่ โดยมีแนวโน้มว่าจะมีพระเชษฐาต่างพระราชมารดาที่เป็นมุสลิมเป็นผู้รับมอบอำนาจ แต่ก็ล้มเหลว[7] ไม่นานก่อนที่พระราชินีจะเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1478 พระราชินีได้ทรงทำพินัยกรรม ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดให้เจ้าหญิงกาตารีนาเป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์บอสเนีย ในกรณีที่พระองค์กลับมาสู่ศาสนาคริสต์ และพระเชษฐาของพระองค์ไม่ได้ทรงทำไว้[8]

เอเลโซวิชสันนิษฐานว่าเจ้าหญิงกาตารีนาทรงเปลี่ยนพระนามเมื่อเปลี่ยนศาสนาจากนิกายโรมันคาทอลิก โดยเสกสมรสและทรงใช้ชีวิตที่เหลือในสกอเปีย[5] รวมทั้งมีการระบุตัวตนเจ้าหญิงกาตารีนาของเขาในฐานะพระองค์ที่รับการฝังพระบรมศพที่คราลคีซีตูรเบ ซึ่งเป็นมอโซเลียม (ที่เก็บพระบรมศพ) สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ณ สุสานของชาวมุสลิมในสกอเปีย โดยเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง[5][6] และชื่อของตูรเบ (ที่เก็บพระบรมศพ) นี้คือ "พระราชธิดาของกษัตริย์" (ตุรกี: Kîrâl Kîzî) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่านี่เป็นที่บรรจุพระบรมศพของเจ้าหญิงที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเจ้าหญิงกาตารีนาทรงตั้งพระราชหฤทัยแน่วแน่ ดังนั้น จึงเป็นไปได้อีกที่เจ้าหญิงกาตารีนายังไม่ได้เสกสมรส เนื่องจากสตรีมุสลิมที่แต่งงานแล้วในสมัยนั้นจะถูกฝังไว้ภายใต้ชื่อสามีของเธอ อย่างไรก็ตาม เอเลโซวิชได้ตั้งข้อสังเกตว่าครอบครัวชนชั้นสูงชาวมุสลิมจากเตตอวออ้างว่าสืบเชื้อสายมาจาก "คูตูรมัน" จากสกอเปีย ซึ่งเขาได้เชื่อมโยงกับชื่อราชวงศ์คอโตรมานิค[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Regan 2010, p. 17.
  2. Pandžić 1979, p. 17.
  3. 3.0 3.1 Regan 2010, p. 19.
  4. Regan 2010, p. 20-21.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Regan 2010, p. 36.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Filipović 2011.
  7. Regan 2010, p. 33.
  8. Regan 2010, p. 34.

แหล่งที่มา

[แก้]
  • Filipović, Emir (2011), Grob bosanske princeze Katarine u Skoplju (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย), Društvo za proučavanje srednjovjekovne bosanske historije
  • Pandžić, Bazilije (1979), "Katarina Vukčić Kosača (1424-1478)", Povijesnoteološki simpozij u povodu 500 obljetnice smrti bosanske kraljice Katarine (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย), Franjevačka teologija u Sarajevu
  • Regan, Krešimir (2000), Bosanska kraljica Katarina (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย), Breza