ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าชื่น สิโรรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชื่น สิโรรส
เกิด8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439
นครเชียงใหม่
ถึงแก่กรรม10 มีนาคม พ.ศ. 2538 (98 ปี)
คุ้มห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่
ภรรยาเจ้าสุริฉาย สิโรรส
ราชวงศ์มังราย
พระบิดาเจ้าอินทะปัต สิโรรส
พระมารดาด้วง รัตนพล

เจ้าชื่น สิโรรส เป็นผู้ก่อตั้งและครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่[1] และเป็นผู้มีบทบาทในการวางรากฐานการศึกษาและพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่[2]

ประวัติ

[แก้]

เจ้าชื่น สิโรรส เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 เป็นบุตรของเจ้าอินทะปัต สิโรรส กับด้วง หญิงชาวกะเหรี่ยง มีน้องชายร่วมบิดามารดาชื่อ บุญยวง กาวิละเวส ต่อมาบิดาสมรสใหม่กับเจ้าบัวผัน สิโรรส (สกุลเดิม ณ เชียงใหม่) ซึ่งเป็นเจ้าที่มีเชื้อสายจากเมืองเชียงตุงเช่นกัน มารดาจึงขอแยกทางกับเจ้าอินทะปัต และสมรสใหม่กับแก้ว รัตนพล ภารโรงโรงเรียนประจำจังหวัดเชียงใหม่ ชื่นมีน้องสาวต่างบิดาคนหนึ่ง ชื่อ อุษา รัตนพล[3]

ชื่นสมรสกับเจ้าสุริฉาย สิโรรส (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ธิดาของพระยาวิเศษฦๅไชย (หม่อมหลวงเจริญ อิศรางกูร) กับเจ้ากาบคำ ณ เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2465 มีบุตร-ธิดา 10 คน

เจ้าชื่นถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 (98 ปี)

การทำงาน

[แก้]

การศึกษา และศาสนา

[แก้]

เจ้าชื่น เป็นผู้ริเร่มก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่) และได้รับตำแหน่งเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนฯ และเป็นผู้ก่อตั้งวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) อำเภอเมืองเชียงใหม่

การเกษตร

[แก้]

เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ได้โปรดให้ใช้พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม เป็นแปลงทดลองการเกษตรส่วนพระองค์ขนาดใหญ่ โปรดให้เจ้าชื่น สิโรรส มาดูแลควบคุมพัฒนาการเกษตร ซึ่งเจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่มส่งเสริมการปลูกใบยาสูบเวอร์จิเนีย ใบชา ใบหม่อน ดอกไม้เมืองหนาว และกล้วยไม้ รวมถึงพืชผักต่าง ๆ หลายชนิด อาทิ กะหล่ำปลีสีม่วง แครอท แตงโมบางเบิด แคนตาลูป รวมทั้งลำไย

อ้างอิง

[แก้]
  1. เจ้าชื่น สิโรรส เก็บถาวร 2013-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ คนเมืองดอตคอม
  2. "รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
  3. ชื่น สิโรรส. ชีวประวัตินายชื่น สิโรรส. เชียงใหม่ : คณะพุทธนิคม, 2529. 81 หน้า. หน้า 1-3.