เจโรลาโม การ์ดาโน
เจโรลาโม การ์ดาโน | |
---|---|
เจโรลาโม การ์ดาโน | |
เกิด | 24 กันยายน ค.ศ. 1501 ปาวีอา |
เสียชีวิต | 21 กันยายน ค.ศ. 1576 โรม | (74 ปี)
สัญชาติ | อิตาลี |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปาวีอา |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | วิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์, ปรัชญา, วรรณกรรม |
มีอิทธิพลต่อ | แบลซ ปัสกาล[1], ฟร็องซัว วิเอต์, ปีแยร์ เดอ แฟร์มา[1], ไอแซก นิวตัน, กอทท์ฟรีด วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ, มาเรีย แกตานา แอนเยซี, โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์, คาร์ล ฟรีดริช เกาส์ |
ได้รับอิทธิพลจาก | อาร์คิมิดีส, มุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์, เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี |
เจโรลาโม การ์ดาโน (อิตาลี: Gerolamo Cardano, บางครั้งใช้ Girolamo[2] หรือ Geronimo; 24 กันยายน ค.ศ. 1501 – 21 กันยายน ค.ศ. 1576) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวอิตาลี เป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มวิชาความน่าจะเป็น, เป็นบุคคลแรก ๆ ที่แนะนำการใช้สัมประสิทธิ์ทวินาม, ทฤษฎีบททวินามและจำนวนลบในยุโรป[3] รวมถึงร่วมคิดค้นเพลาขับและระบบล็อกแบบเข้ารหัส[4]
ประวัติ
[แก้]เจโรลาโม การ์ดาโนเกิดที่เมืองปาวีอาในปี ค.ศ. 1501 เป็นบุตรของฟาซีโอ การ์ดาโนกับเคียรา มีเชรี ในวัยเด็กเขาได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่ดีและเจ็บป่วยบ่อย เนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสและคลอดก่อนกำหนด[5] ในปี ค.ศ. 1520 การ์ดาโนเรียนปรัชญาและวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปาวีอา แทนวิชากฎหมายที่บิดาคาดหวัง ในช่วงสงครามอิตาลี (ค.ศ. 1521-1526) มหาวิทยาลัยปาวีอาถูกสั่งปิด ทำให้การ์ดาโนต้องย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปาโดวา หลังเรียนจบ เขาพยายามเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยแพทย์ที่เมืองมิลาน แต่ได้รับการปฏิเสธ[6]
ต่อมาการ์ดาโนย้ายไปอาศัยอยู่ที่เมืองซักโกลองโกเพื่อทำงานเป็นแพทย์โดยไม่มีใบอนุญาต ในปี ค.ศ. 1531 เขาแต่งงานกับลูเชีย แบนเดรินี ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันสามคน[7] การ์ดาโนได้รับความช่วยเหลือจนได้งานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในเมืองมิลาน หลังได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ เขาทำงานเป็นแพทย์และครูสอนคณิตศาสตร์ควบคู่กันไปและประสบความสำเร็จในวิชาชีพแพทย์จนผู้ปกครองหลายคนต้องการตัว[8] ในปี ค.ศ. 1543 การ์ดาโนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยปาวีอาและทำงานอยู่ที่นี่ถึงปี ค.ศ. 1560[5]
ในปี ค.ศ. 1560 โจวันนี บัตติสตา บุตรชายคนโตของการ์ดาโนถูกจับข้อหาฆาตกรรมภรรยาตัวเองและถูกตัดสินประหารชีวิต[9] เหตุการณ์ดังกล่าวรวมถึงการถูกกดดันจากเพื่อนร่วมงาน ทำให้การ์ดาโนย้ายไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโบโลญญาในปี ค.ศ. 1562 ต่อมาในปี ค.ศ. 1570 เขาถูกจับขึ้นศาลไต่สวนศรัทธาและถูกจำคุกอยู่หลายเดือน หลังพ้นโทษและถูกบอกเลิกตำแหน่งศาสตราจารย์ การ์ดาโนย้ายไปอยู่ที่กรุงโรมและได้รับเงินบำนาญจากสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1576[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 O'Connor, J.J.; Robertson, E.F. (August 2006). "Étienne Pascal". University of St. Andrews, Scotland. สืบค้นเมื่อ 5 February 2010.
- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
- ↑ Needham, Joseph; Wang, Ling (1995) [1959]. Science and Civilisation in China: Volume 3; Mathematics and the Sciences of the Heavens and the Earth (reprint ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 90. ISBN 0-521-05801-5.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Penrose, Roger (1994). Shadows of the Mind: A Search for the Missing Science of Consciousness. Oxford University Press. p. 249. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ 5.0 5.1 "Girolamo Cardano". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ "Girolamo Cardano". NNDB. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ Armando Maggi (1 September 2001). Satan's Rhetoric: A Study of Renaissance Demonology. University of Chicago Press. pp. 181–. ISBN 978-0-226-50132-1.
- ↑ "Girolamo Cardano". Britannica. สืบค้นเมื่อ January 23, 2018.
- ↑ Bruno, Leonard C (2003) [1999]. Math and mathematicians : the history of math discoveries around the world. Baker, Lawrence W. Detroit, Mich.: U X L. p. 60. ISBN 0787638137. OCLC 41497065.
- ↑ "Gerolamo Cardano" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-10-22. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจโรลาโม การ์ดาโน
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ เจโรลาโม การ์ดาโน
- วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ เจโรลาโม การ์ดาโน