เจือทอง อุรัสยะนันทน์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เจือทอง อุรัสยะนันทน์ | |
---|---|
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 จังหวัดสมุทรสาคร |
เสียชีวิต | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (78 ปี) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพมหานคร |
สัญชาติ | ไทย |
มีชื่อเสียงจาก | ภริยานักปกครอง |
คู่สมรส | นายจาด อุรัสยะนันทน์ |
บุตร | ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ นายจิระเจตต์ อุรัสยะนันทน์ นายจารุจินต์ อุรัสยะนันทน์ นายจริมจิตต์ อุรัสยะนันทน์ |
บิดามารดา |
|
ประวัติ
[แก้]ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ เป็นบุตรีของนายเท้ง-นางจู กรีทอง คหบดีชาว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นพี่คนโต ในจำนวนพี่น้อง 6 คน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2463 ณ บ้านเลขที่ 114 ตำบลท่าฉลอม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เริ่มการศึกษาชั้น ประถม ที่โรงเรียนสาครวิทยา ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัยจนสำเร็จ ประโยคครู ประถมสามัญ จึงได้เข้ารับราชการเป้นครูในกรมสามัญศึกษา และออกไปเป็นครูที่โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดปัตตานี
ต้นปีการศึกษา พ.ศ. 2487 ท่านผู้หญิงเจือทอง ได้ลาออกจากราชการเพื่อสมรสกับนายจาด อุรัสยะนันทน์(2457-2549...92 ปี)นายอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และย้ายติดตาม สามีซึ่งไปรับราชการ ในหลายจังหวัด เช่นในการดำรงตำแหน่งนายอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปลัด จังหวัดปัตตานี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี และผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น ระหว่างนี้ท่านผู้หญิงเจือทองได้ออกปฏิบัติงานในฐานะภรรยานักปกครอง นำหน่วยออก เยี่ยมเยียนช่วยเหลือราษฎร์อยู่เป็นประจำ ทั้งในยามปกติและสาธารณะภัย ยิ่งเมื่อดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดจังหวัด และนายกสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิงประจำจังหวัด ก็ยิ่งได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ท่านได้จัดงานเผยแพร่กิจกรรมและ อนุรักษ์วัฒธรรมของท้องถิ่นและจัดงานประจำปีเพื่อหารายได้สะสมไว้ช่วยเหลือราษฎร์ที่ประสบภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา จนได้รับการยกย่องจากสภากาชาดไทย ว่าเป็นเหล่ากาชาดที่มีรายได้สะสมไว้ช่วยเหลือประชาชนสูงกว่า เหล่ากาชาดใด ๆ รวมทั้งยังดำเนินกิจการ ของกาชาด ได้ครบ ถ้วนและสม่ำเสมออีกด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2514 ท่านผู้หญิงเจือทอง เริ่มป่วยจากการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ก่อให้เกิด การอุดตันของเส้นโลหิต จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยเป็น คนไข้ใน พระบรมราชานุเคราะห์ และได้กลับมาพักผ่อนที่บ้านโดยไม่ได้ออกไปไหน ด้วยปัญหาสุขภาพไม่แข็งแรง แต่ก็พอเดินเหินและช่วยตัวเองทุกอย่างอยู่ในบ้านได้อย่างดี จนถึงวันที่ 11 ตุลาคม 2542 ท่านมีอาการปวดศีรษะ และบ่นว่าร้อน บุตรจึงพาส่งโรงพยาบาล จวบจนวาระสุดท้าย ท่านได้ถึงอนิจกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่อาทิตย์ ที 17 ตุลาคม 2542 รวมอายุท่านได้ 79 ปี
การถวายงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
[แก้]บทความนี้คล้ายโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์
วิกิพีเดียมิใช่ช่องทางการสื่อสารการตลาดของหน่วยธุรกิจใด ๆ กรุณาเขียนใหม่ด้วยมุมมองที่เป็นกลาง และนำแหล่งข้อมูลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องออก |
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
ท่านผู้หญิงเจือทองมีความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรีอย่างสูงสุด เมื่อท่านดำรง ตำแหน่ง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบุรี ท่านภูมิใจที่ได้มี โอกาสรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่เสด็จแปร พระราชฐานไปประทับแรมที่วังไกลกังวลหัวหิน อยู่เป็นระยะเวลานาน เพราะสามีของ ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีถึง 11 ปี เนื่องจากท่าน ผู้หญิงเจือทอง เป็น ผู้มีฝีมือทางการประกอบอาหารทั้งคาว และหวาน ท่านจึงประกอบเครื่องเสวยต่าง ๆ ส่งไป ทูลเกล้า ฯ ถวายเป็นประจำ ส่วนประกอบของเครื่องเสวยนั้น ท่านจะตระเตรียม ด้วยตน เองขั้นตอน ไม่ยอมให้บริวารเข้ามาช่วย ท่านระมัดระวังเรื่องความสะอาดอย่างยิ่งยวด เพราะสิ่งที่จะทูลเกล้า ฯ ถวายจะต้องเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ
วันสำคัญของพระบรมวงศ์ เช่น วันพระราชสมภพ ท่านจะไปลงนามถวายพระพร และทำ บุญถวายเป็นพระราชกุศล ท่านมีความสุขที่จะได้ติดตามข่าว ในพระราชสำนัก และรับ ฟังข่าวคราวของพระบรมวงศานุวงศ์ ท่านภูมิใจที่ทายาทของท่านได้รับราชการ และได้ ปฏิบัติงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งจะอบรมบุตรหลานของท่านเสมอ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และเทิดทูนสถาบันนี้ไว้เหนือสิ่งอื่นใด
ท่านผู้หญิงเจือทอง เป็นภริยาผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกที่ได้รับพระราชทายตราจุลจอมเกล้าในขณะที่สามียังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด และยิ่งกว่านั้นคือสตรี ทั่วไปที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าครั้งแรก มักจะได้รับพระราชทาน ชั้นที่ 4 คือจตุตถจุลจอมเกล้า แต่ท่านได้รับพระราชทานครั้งแรกก็เป็นตราชั้นที่ 3 คือ ตติยจุลจอมเกล้า ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัตอันงาม ยังความภาคภูใจ ความปลาบปลื้ม และความซาบซึ้ง ในพระมหา กรุณาธิคุณ แก่ท่าน ผู้ หญิงเจือทองอยู่ตลอดเวลา ต่อมาสามีของท่าน ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองปลัด กระทรวงมหาดไทย จนเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2518 และได้รับพระราชทาน พระ มหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และนายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ตามลำดับ ท่านผู้หญิงเจือทองก็ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากภริยานักปกครองมาทำงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท เช่นเดียวกัน โดยท่านได้อาสาเยี่ยมคน ไข้ในพระบรมราชนุเคราะห์ และเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงานประจำอยู่ที่ศาลาเทวานุกูล สวนจิตรลดาโดยตลอด
ครอบครัว
[แก้]ท่านผู้หญิงเจือทอง อุรัสยะนันทน์ สมรสกับนายจาด อุรัสยะนันทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, อดีตเลขาธิการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ และอดีตนายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ มีบุตร-ธิดา รวม 4 คน คือ
- ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- นายจิระเจตต์ อุรัสยะนันทน์ นักวิชาการป่าไม้ 8 สำนักวิชาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายจารุจินต์ อุรัสยะนันทน์ ผู้เชี่ยวชาญและผู้อำนวยการโครงการฯ การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย
- นายจริมจิตต์ อุรัสยะนันทน์ ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาคลองตัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]ท่านผู้หญิงเจือทองได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[1]
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[2]
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[3]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[4]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[5]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๘๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษหน้า ๖๔๑, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๗๖๕, ๒๙ มิถุนายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๔๘, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒