ข้ามไปเนื้อหา

เจลาโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจลาโต
ประเภทไอศกรีม
แหล่งกำเนิดอิตาลี
อุณหภูมิเสิร์ฟเย็น (แต่เย็นน้อยกว่าไอศกรีมชนิดอื่น)
ส่วนผสมหลักนม, ครีม, น้ำตาล, ส่วนผสมแต่งกลิ่นรส (เช่น ผลไม้หรือเมล็ดพืชบด)

เจลาโต (อิตาลี: gelato) เป็นคำภาษาอิตาลีแปลว่าไอศกรีม ในภาษาอังกฤษโดยทั่วไปใช้เรียกไอศกรีมที่ทำขึ้นตามแบบอย่างอิตาลี ส่วนผสมพื้นฐานของไอศกรีมชนิดนี้ได้แก่ นม, ครีม, น้ำตาล และแต่งกลิ่นรสด้วยผลไม้, เมล็ดพืชบดเป็นครีมข้น หรือสารให้กลิ่นรสอื่น ๆ เจลาโตมีฟองอากาศแทรกอยู่ในเนื้อไอศกรีมน้อยกว่าของหวานแช่แข็งชนิดอื่น ๆ จึงเนื้อสัมผัสที่แน่นเนียนและมีรสชาติเข้มข้นแตกต่างกับไอศกรีมชนิดอื่น ๆ อย่างชัดเจน[1][2]

ปริมาณน้ำตาลในเจลาโตจะสมดุลกับปริมาณน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ไอศกรีมแข็งตัวในอุณหภูมิต่ำ ประเภทของน้ำตาลที่ใช้ได้แก่ ซูโครส, เดกซ์โทรส, น้ำเชื่อมกลูโคสและฟรักโทส (inverted sugar) เพื่อควบคุมไม่ให้มีรสหวานแหลมเกินไป ตามปกติ ในการทำเจลาโตยังเติมสารให้ความคงตัวเข้าไปด้วย โดยในการผลิตจำนวนมากเพื่อการพาณิชย์นิยมใช้ยางเมล็ดกวาร์ (guar gum)

ในอิตาลี ตามกฎหมาย เจลาโตจะต้องมีไขมันเนยอย่างต่ำร้อยละ 3.5 แต่ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีบทนิยามมาตรฐานตามกฎหมายสำหรับเจลาโต มีเพียงบทนิยามมาตรฐานสำหรับไอศกรีมซึ่งต้องมีไขมันเนยอย่างน้อยร้อยละ 10[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ferrari, p. 21
  2. Poggioli, Sylvia (17 June 2013). "Italian University Spreads The 'Gelato Gospel'". NPR. สืบค้นเมื่อ 7 July 2016.
  3. "CFR - Code of Federal Regulations Title 21". Accessdata.fda.gov. สืบค้นเมื่อ 2012-09-10.