ข้ามไปเนื้อหา

เจมินี (จักรกลสนทนา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจมินี
ชื่ออื่นบาร์ด
วันที่เปิดตัว21 มีนาคม 2023; 20 เดือนก่อน (2023-03-21)
รุ่นเสถียร
19 พฤศจิกายน 2024; 26 วันก่อน (2024-11-19)
ภาษา46 ภาษา[1]
238 ประเทศ[1]
ประเภทจักรกลสนทนา
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์[2]
เว็บไซต์https://gemini.google.com/app

เจมินี หรือ เจมิไน (อังกฤษ: Gemini) ซึ่งมีชื่อเดิมว่า บาร์ด (อังกฤษ: Bard) เป็น จักรกลสนทนา และ แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models - LLMs) ที่พัฒนาโดย Google AI[3] อยู่ในตระกูลเดียวกับ LaMDA, PaLM

ในขั้นต้นบาร์ดได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความนิยมที่สูงขึ้นของแชตจีพีทีของโอเพนเอไอ และได้รับการเปิดตัวโดยใช้ชื่อบาร์ดเมื่อ 21 มีนาคม ค.ศ. 2023 ที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา[4] ก่อนที่จะขยายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเดือนพฤษภาคม

บาร์ดได้รับการพัฒนาและประกาศใน ค.ศ. 2021 แต่ในเบื้องต้นนั้นยังไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ การเปิดตัวแชตจีพีทีของโอเพนเอไอในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2022 และความนิยมที่ตามมา ส่งผลให้บริษัทกูเกิลรีบเปิดตัวบาร์ดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 โดยจักรกลสนทนาเป็นหัวข้อสำคัญในการกล่าวสุนทรพจน์สำคัญของกูเกิล ไอโอ ในเดือนพฤษภาคมจากนั้น กูเกิลเปลี่ยนชื่อบาร์ดเป็นเจมินีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024[5]

ภาพรวม

[แก้]

บาร์ดเป็นจักรกลสนทนา ที่ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 และเปิดให้บริการในวันที่ 21 มีนาคมของปีเดียวกัน รุ่นแรกได้รับการพัฒนาโดยใช้ LaMDA ซึ่ง เป็นแบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ ที่ออกโดยกูเกิลในปี 2021[6] จากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้ PaLM ในเดือนเมษายน 2023 และเปลี่ยนเป็น PaLM2 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน[7][8] หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 Gemini 1.0 Pro ได้รับการเปลี่ยนถ่ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเปลี่ยนชื่อ[9]

บาร์ดนั้นให้บริการโดยมีหน้าเฉพาะที่แยกจากส่วนต่อประสานการค้นหาของกูเกิล ต่างจากไมโครซอฟท์ บิงที่ฝัง GPT-4 ไว้ภายใน UI[10] ชื่อเก่าคือ "บาร์ด" นั้นหมายถึง "กวี" มีที่มาจาการที่เมื่อพิมพ์คำถามก็จะได้รับคำตอบที่ต้องการเป็นประโยคออกมา[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Where you can use Bard". Google Support. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2023. สืบค้นเมื่อ July 13, 2023.
  2. David, Emilia (July 20, 2023). "The AI wars might have an armistice deal sooner than expected". The Verge]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 20, 2023. สืบค้นเมื่อ July 25, 2023.
  3. "Gemini - Google DeepMind". deepmind.google (ภาษาอังกฤษ).
  4. "グーグルが対話型AI「Bard」を一般公開、米国と英国で先行". 日経クロステック (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-03-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  5. Dastin, Jeffrey; Dastin, Jeffrey (2024-02-09). "グーグル、対話型AIを「ジェミニ」に改名 有料の高性能版も". Reuters (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2024-02-16.
  6. "Bard(バード)とは". 日本経済新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  7. "Googleの対話型AI「Bard」が日本語に対応、最新のPaLM 2ベースに". 日経クロステックlanguage=ja. 2023-05-11. สืบค้นเมื่อ 2023-05-12.
  8. "Googleの生成AI「Bard」が日本語に対応、大規模言語モデル「PaLM 2」搭載". INTERNET Watch (ภาษาญี่ปุ่น). インプレス. 2023-05-11. สืบค้นเมื่อ 2023-06-15.
  9. "GoogleのAI「Bard」、日本語で「Gemini Pro」と「G」ボタン対応 英語なら描画も可能に". ITmedia NEWS (ภาษาญี่ปุ่น). 2024-02-02. สืบค้นเมื่อ 2024-02-02.
  10. Nast, Condé (2023-03-21). "グーグルが会話型AI「Bard」を一般公開、"ChatGPT対抗"を急ぐ事情と共通する弱点の中身". WIRED.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.
  11. "グーグル、対話型AI搭載の検索サービス「バード」を開始". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-03-22. สืบค้นเมื่อ 2023-04-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]