เจฟเฟอร์สัน เดวิส
เจฟเฟอร์สัน เดวิส | |
---|---|
ประธานาธิบดีสมาพันธรัฐอเมริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กุมภาพันธ์ 1862 – 10 พฤษภาคม 1865 ชั่วคราว: 18 กุมภาพันธ์ 1861 - 22 กุมภาพันธ์ 1862 | |
รองประธานาธิบดี | อเล็กซานเดอร์ สตีเฟนส์ |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสหรัฐคนที่ 23 | |
ดำรงตำแหน่ง 7 มีนาคม 1853 – 4 มีนาคม 1857 | |
ประธานาธิบดี | แฟรงกลิน เพียร์ซ |
ก่อนหน้า | ชาลส์ คอนแรด |
ถัดไป | จอห์น ฟลอยด์ |
สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐมิสซิสซิปปี | |
ดำรงตำแหน่ง 4 มีนาคม 1857 – 21 มกราคม 1861 | |
ก่อนหน้า | สตีเฟนส์ แอดัมส์ |
ถัดไป | แอเดลเบิร์ต เอมส์ (ตำแหน่งว่างถึงปี 1870) |
ดำรงตำแหน่ง 10 สิงหาคม 1847 – 23 กันยายน 1851 | |
ก่อนหน้า | Jesse Speight |
ถัดไป | John McRae |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐจากรัฐมิสซิสซิปปี | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ธันวาคม 1845 – 1 มิถุนายน 1846 | |
ก่อนหน้า | Tilghman Tucker |
ถัดไป | Henry Ellett |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เจฟเฟอร์สัน ฟินิส เดวิส 3 มิถุนายน ค.ศ. 1808 เทศมณฑลคริสเตียน รัฐเคนทักกี |
เสียชีวิต | 6 ธันวาคม ค.ศ. 1889 นิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา | (81 ปี)
ที่ไว้ศพ | สุสานฮอลลีวูด ริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย |
เชื้อชาติ | อเมริกัน |
ศาสนา | Episcopal |
พรรคการเมือง | แดโมแครต |
คู่สมรส | ซาราห์ เทย์เลอร์ (ต. 1835; เธอเสียชีวิตปี 1835) วารินา โฮเวลล์ (ต. 1845; เขาเสียชีวิตปี 1889) |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยทรานซิลเวเนีย วิทยาลัยทหารสหรัฐ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สหรัฐอเมริกา |
สังกัด | กองทัพบกสหรัฐ กองอาสาสหรัฐ |
ประจำการ | 1825–1835 1846–1847 |
ยศ | ร้อยโท พันเอก |
หน่วย | First Dragoons |
บังคับบัญชา | First Mississippi |
ผ่านศึก | Indian Wars |
เจฟเฟอร์สัน ฟินิส เดวิส (อังกฤษ: Jefferson Finis Davis, 3 มิถุนายน ค.ศ. 1808 – 6 ธันวาคม ค.ศ. 1889) เป็นนักการเมืองอเมริกัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากรัฐมิสซูรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสหรัฐคนที่ 23 และประธานาธิบดีสมาพันธรัฐอเมริการะหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา เขารับผิดชอบแผนศึกของสมาพันธรัฐ แต่ไม่พบยุทธศาสตร์พิชิตฝ่ายสหภาพซึ่งมีประชากรมากกว่าและเป็นอุตสาหกรรมมากกว่า ความพยายายามทางการทูตของเขาไม่สามารถได้มาซึ่งการรับรองจากต่างประเทศแม้แต่ประเทศเดียว และในประเทศ เศรษฐกิจของสมาพันธรัฐที่กำลังล่มสลายบังคับให้รัฐบาลของเขาพิมพ์เงินกระดาษมากขึ้นทุกทีเพื่อโปะรายจ่ายของสงคราม นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อแบบกู่ไม่กลับและการลดค่าเงินตราดอลลาร์สมาพันธรัฐ
เดวิสเกิดในรัฐเคนทักกีในครอบครัวเกษตรกรมั่งมีปานกลาง และเติบโตในไร่ใหญ่ฝ้ายของพี่ชายเขา โจเซฟ ในรัฐมิสซิสซิปปีและรัฐลุยเซียนา โจเซฟ เดวิสยังทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเขาวิทยาลัยทหารสหรัฐที่เวสต์พอยต์ หลังสำเร็จการศึกษา เจฟเฟอร์สัน เดวิสรับราชการเป็นร้อยโทในกองทัพบกสหรัฐหกปี เขาสู้รบในสงครามเม็กซิโก–อเมริกา (ค.ศ. 1846–1848) เป็นพันเอกแห่งกรมอาสาสมัคร เขารับราชการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1853 ถึง 1857 ภายใต้ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ และเป็นสมาชิกวุฒิสภาพรรคแดโมแครตจากรัฐมิสซิสซิปปี ก่อนสงคราม เขาดำเนินการไร่ใหญ่ฝ้ายในรัฐมิสซิสซิปปีและมีทาสกว่า 100 คน หลังสงครามยุติ เขายังเป็นผู้แก้ต่าง (apologist) อุดมการณ์ความเป็นทาสซึ่งเขาและสมาพันธรัฐต่อสู้[1] แม้เดวิสโต้แย้งการแยกตัวออกใน ค.ศ. 1858[2] แต่เขาเชื่อว่าแต่ละรัฐมีอำนาจอธิปไตยและมีสิทธิอย่างไม่ต้องสงสัยในการแยกตัวออกจากฝ่ายสหภาพ
ภรรยาคคนแรกของเดวิส ซาราห์ น็อกซ์ เทย์เลอร์ เสียชีวิตจากมาลาเรียสามเดือนหลังการสมรส และเขาเผชิญกับคราวเป็นซ้ำของโรค[3] เขาสุขภาพไม่ดีเป็นส่วนใหญ่ของชีวิต เมื่ออายุ 36 ปี เขาสมรสอีกครั้งกับวารินา โฮเวลล์วัย 18 ปี คนพื้นเมืองแนตเชสผู้ได้รับการศึกษาในฟิลาเดลเฟียและมีความสัมพันธ์ครอบครัวบ้างในภาคเหนือ ทั้งสองมีบุตรหกคน มีเพียงสองคนที่รอดชีวิต และมีคนเดียวที่แต่งงานและมีบุตร
นักประวัติศาสตร์จำนวนมากให้เหตุผลความอ่อนแอของสมาพันธรัฐว่าเพราะความเป็นผู้นำที่เลวของประธานาธิบดีเดวิส[4] การหมกมุ่นกับรายละเอียด ความไม่เต็มใจมอบหมายความรับผิดชอบ การขาดการสนับสนุนของประชาชน การพิพาทกับผู้ว่าการและแม่ทัพของรัฐที่ทรงอำนาจ ความลำเอียงต่อเพื่อนเก่า ความไร้สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา การปฏิเสธปัญหาทางพลเรือนโดยเน้นปัญหาทางทหาร และการคัดค้านความเห็นสาธารณะทั้งหมดเล่นงานเขา[5][6] นักประวัติศาสตร์เห็นตรงกันว่าเขาเป็นผู้นำสงครามที่ด้อยประสิทธิภาพกว่าประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นของฝ่ายสหภาพมาก หลังเดวิสถูกจับใน ค.ศ. 1865 เขาถูกกล่าวหาฐานกบฏ เขาไม่เคยถูกพิจารณาคดีและถูกปล่อยตัวอีกสองปีถัดมา แม้ไม่ถูกทำให้อัปยศ แต่เดวิสเสียความชอบของอดีตฝ่ายสมาพันธรัฐหลังสงครามโดยแม่ทัพชั้นนำของเขา โรเบิร์ต อี. ลี เดวิสเขียนบันทึกความทรงจำชื่อ ความเจริญและความเสื่อมของรัฐบาลสมาพันธรัฐ (The Rise and Fall of the Confederate Government) ที่เขียนเสร็จใน ค.ศ. 1881 เมื่อปลายคริสต์ทศวรรษ 1880 เขาเริ่มสนับสนุนการปรองดอง โดยบอกชาวใต้ให้ภักดีต่อสหภาพ อดีตฝ่ายสมาพันธรัฐหันมาชื่นชมบทบาทของเขาในสงคราม โดยมองว่าเขาเป็นผู้รักประเทศชาติชาวใต้ และเขากลายเป็นวีรบุรุษของอุดมการณ์สาบสูญในภาคใต้หลังสมัยบูรณะ[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Reconstruction and Fusion: Jefferson Davis on race and slavery in his memoirs, no lessons learned". Confederate Truths: Documents of the Confederate & Neo-Confederate Tradition from 1787 to the Present. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-18. สืบค้นเมื่อ February 18, 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "The Anti-Secessionist Jefferson Davis". National Park Service. สืบค้นเมื่อ 2015-07-27.
- ↑ Cooper 2000, pp. 70–71.
- ↑ Cooper 2008, pp. 3–4.
- ↑ Wiley, Bell I. (January 1967). "Jefferson Davis: An Appraisal". Civil War Times Illustrated. 6 (1): 4–17.
- ↑ Escott 1978, pp. 197, 256–274.
- ↑ Strawbridge, Wilm K. (December 2007). "A Monument Better Than Marble: Jefferson Davis and the New South". Journal of Mississippi History. 69 (4): 325–347.