เจงกิส ข่าน (วิดีโอเกม)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจงกิส ข่าน | |
---|---|
หน้าปกสำหรับเวอร์ชันนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมของทวีปอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | โคอิ |
ผู้จัดจำหน่าย | โคอิ |
ชุด | เจงกิส ข่าน |
เครื่องเล่น | เอ็มเอสเอกซ์, แฟมิคอม, อามิกา, เอ็มเอส-ดอส |
วางจำหน่าย | พีซี-9801
|
แนว | วางแผนผลัดกันเล่น |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว หรือหลายผู้เล่น |
เจงกิส ข่าน (อังกฤษ: Genghis Khan) หรือชื่อเต็มต้นฉบับคือ อาโอกิโอกามิโตะชิโรกิเมจิกะ: เจงกิส ข่าน (ญี่ปุ่น: 蒼き狼と白き牝鹿・ジンギスカン) เป็นเกมวางแผนผลัดกันเล่นใน ค.ศ. 1987 ที่พัฒนาโดยบริษัทโคอิ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกสำหรับเอ็นอีซี พีซี-9801,[1] เอ็มเอสเอกซ์ และชาร์ป เอกซ์68000 ใน ค.ศ. 1988,[2][3] ดอส และนินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมใน ค.ศ. 1990,[4][5] และอามิกาใน ค.ศ. 1990[6] โดยเป็นเกมที่สองในซีรีส์ ต่อจากอาโอกิโอกามิโตะชิโรกิเมจิกะ สำหรับพีซี-88, พีซี-98 และเอ็มเอสเอกซ์
โครงเรื่อง
[แก้]เกมดังกล่าวนำผู้เล่นเข้าสู่ชีวิตเสมือนจริงของเจงกิส ข่าน หรือหนึ่งในคู่แข่งของเขา ผู้เล่นจะต้องจัดงานแต่งงาน, พ่อปกครองลูก, แต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวให้ดำรงตำแหน่งรัฐบาล และต่อสู้เพื่อพิชิตโลกเก่า กองทัพจะต้องเกณฑ์ทหาร และทหารจะต้องได้รับการฝึกหากผู้เล่นจะปกครองดินแดนจากอังกฤษถึงญี่ปุ่น
รูปแบบการเล่น
[แก้]เกมดังกล่าวมีสองวิธีในการเล่น อย่างแรกคือการพิชิตมองโกล โดยเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1175 ซึ่งเป็นโหมดผู้เล่นเดี่ยว ที่ผู้เล่นควบคุมขุนศึกเตมูจิน และพวกเขาต้องยึดครองดินแดนโดยการรักษาเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ, มีกองทัพพร้อมที่จะต่อสู้ รวมทั้งโดยการโจมตีดินแดนอื่น ส่วนอย่างที่สองคือการพิชิตโลก ซึ่งเป้าหมายคือการพิชิตทุกประเทศที่เป็นปฏิปักษ์
สำหรับการพิชิตโลก ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1206 ได้เริ่มด้วยการเลือกจำนวนผู้เล่นและความยาก โดยรองรับผู้เล่น 1–4 คน ซึ่งผู้เล่นต้องเลือกว่าต้องการเป็นใคร ได้แก่ เจงกิส ข่าน (มองโกล), จักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 (ไบแซนไทน์), พระเจ้าริชาร์ด (อังกฤษ) หรือโยริโตโมะ (ญี่ปุ่น) จากนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องสุ่มเลือกค่าสถิติของผู้นำและผู้สืบทอด ผู้เล่นจะต้องหยุดตัวเลขสุ่มเพื่อเลือกค่าสถิติที่แน่นอน สิ่งนี้จะทำจนกว่าจะเลือกค่าสถิติทั้งหมดสำหรับตัวละครบางตัว แต่สามารถทำใหม่ได้ หลังจากที่ทุกคนพร้อมแล้ว เกมก็จะเริ่มต้นขึ้น โดยประเทศในทวีปยูเรเชียได้หมุนเวียนแทรกซอน เมื่อพวกเขาแทรกซอนไปในประเทศหนึ่ง ก็หมายความว่าพวกเขาได้ใช้ตาเดินของพวกเขา เมื่อมาถึงประเทศของผู้เล่น พวกเขาต้องเลือกสามตัวเลือก ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ประกอบด้วยการฝึกทหาร, การซื้อสินค้า/ปริมาณบางอย่างจากพ่อค้า, การเกณฑ์ทหาร, การส่งสนธิสัญญา หรือการทำสงคราม โดยแต่ละการกระทำจะลบหนึ่งตัวเลือกออกไปจนกว่าจะใช้ครบสามตัวเลือก จากนั้น วงจรจะดำเนินต่อไป เมื่อทุกประเทศใช้ตาเดินของตนแล้ว ฤดูกาลจะเปลี่ยนไปและวงจรก็จะผ่านไปอีกครั้ง แต่ในลำดับที่ต่างกัน ฤดูกาลเป็นตัวกำหนดว่าผู้เล่นจะต้องให้ค่าจ้างกองทัพเมื่อใด, ชาวนาเก็บเกี่ยวพืชผลเมื่อใด, ต้องแจกจ่ายอาหารเมื่อใด ฯลฯ
การตอบรับ
[แก้]ใน ค.ศ. 1989 นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์กล่าวถึงเกมเจงกิส ข่าน ว่า "การจำลองประวัติศาสตร์ที่เกรี้ยวกราดที่สุด, น่าพอใจที่สุด และเข้มข้นที่สุด จนกระทั่งบัดนี้!"[7] ส่วนในการสำรวจเกมสงครามก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อ ค.ศ. 1990 นิตยสารดังกล่าวได้ให้สี่ดาวจากเต็มห้า[8] และเมื่อ ค.ศ. 1993 ได้ให้สามดาว[9] ขณะที่ออร์สัน สก็อต การ์ด มองว่าเกมนี้ไม่ดี โดยเขียนในนิตยสารคอมพิวต์!ที่เปรียบเทียบกับเกมโรแมนซ์ว่า "ความน่าเบื่อได้กลับมา" ในส่วนของรูปแบบการเล่น[10] แต่นักวิจารณ์อีกคนของนิตยสารดังกล่าวระบุว่า "เกมเจงกิส ข่าน เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่ยอดเยี่ยมสำหรับประสบการณ์ความเป็นผู้นำที่แท้จริง เพราะมันบังคับให้คุณต้องประเมินทรัพยากรของคุณก่อนตัดสินใจ"[11] ครั้นใน ค.ศ. 2008 อาร์มาญัน ยาวูซ ผู้ร่วมก่อตั้งเทเวิลส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาสัญชาติตุรกี อ้างว่าเกมเจงกิส ข่าน ของบริษัทโคอิมีอิทธิพลต่อซีรีส์เมาต์แอนด์เบลดของพวกเขา[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Aoki Ookami to Shiroki Mejika - Genghis Khan". PC-9801 Database. Tokugawa Corp. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ "Genghis Khan (MSX)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ "Genghis Khan (X68000)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ "Genghis Khan (PC)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ "Genghis Khan (NES)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ "Genghis Khan (Amiga)". GameFAQs. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012.
- ↑ Wilson, Johnny (Jan 1989). "IBM Goes to War". Computer Gaming World. pp. 24–25.
- ↑ Brooks, M. Evan (October 1990). "Computer Strategy and Wargames: Pre-20th Century". Computer Gaming World. p. 11. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
- ↑ Brooks, M. Evan (August 1993). "Wargame Survey Version 2.0". Computer Gaming World. p. 128. สืบค้นเมื่อ 12 July 2014.
- ↑ Card, Orson Scott (March 1989). "Gameplay". Compute!. p. 11. สืบค้นเมื่อ 10 November 2013.
- ↑ Atkin, Denny (December 1989). "Grow Up!". Compute!. pp. 94–100.
- ↑ McCarroll, John (12 September 2008). "RPGFan Exclusive Interview: Armağan Yavuz, Taleworlds Entertainment". RPGFan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2008. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.