เงินกู้นอกระบบ
เงินกู้นอกระบบ (อังกฤษ: Loan shark) คือ บุคคลหรือนิติบุคคลที่เสนอเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกันในอัตราดอกเบี้ยสูงแก่บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินอย่างสิ้นหวัง พวกเขามักกำหนดเป้าหมายไปยังบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอ่อนแอทางด้านการเงิน เช่น ผู้ที่มีประวัติเครดิตไม่ดีหรือมีรายได้น้อย ซึ่งอาจมีปัญหาในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม คนปล่อยเงินกู้มักจะใช้การคุกคามและการข่มขู่เพื่อเรียกเก็บเงินจากเงินกู้ และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรับ หรืออัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป [1]
ลักษณะเงินกู้นอกระบบ
[แก้]เงินกู้นอกระบบเป็นเงินกู้ที่มีเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน[2] ส่วนมากเงินกู้นอกระบบจะมีแหล่งที่มาจาก ญาติพี่น้อง เพื่อน คนรู้จัก เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ร้านค้า รวมไปถึง นายทุนในพื้นที่ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นออนไลน์ โดยมีการตกลงทำสัญญาที่อนุมัติง่ายกว่าเงินกู้ในระบบ รวมถึงอาจมีดอกเบี้ยที่สูงกว่ากฏหมายกำหนดที่ร้อยละ 15 ต่อปี และใช้กลฉ้อฉลว่าเป็นการกู้ยืมที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือมีการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าปรับที่นอกเหนือจากดอกเบี้ย โดยถือว่าเป็นกลฉ้อฉล ที่ใช้หลบเลี่ยงอำพราง แต่ผู้กู้ก็ยอมเสียดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราที่สูง[3] โดยผู้กู้และผู้ให้กู้ต้องร่วมมือสมยอมกันเพื่อหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของกฎหมาย
หนี้นอกระบบ | หนี้ในระบบ | |
---|---|---|
ประเภทกิจการ | ผู้ประกอบการที่เป็นประชาชนทั่วไป | ธนาคารและบริษัททางการเงินที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. หรือ กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) |
เจ้าหนี้ทำตามกฎหมาย | ไม่ทำตามกฎหมาย | ทำตามกฎหมาย |
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม | ดอกเบี้ยสูงกว่ากฎหมายกำหนด | ดอกเบี้ยต่ำกว่ากฎหมายกำหนด |
ระยะเวลาชำระหนี้ | ไม่ชัดเจน | กำหนดชัดเจน |
เงื่อนไขสัญญา | ไม่เป็นธรรม เจ้าหนี้กำหนดได้ตามใจ | ชัดเจนเป็นธรรม |
การประนอมหนี้ | ไม่สามารถประนอมหนี้ | ประนอมหนี้ได้ |
การทวงหนี้ | ไม่ทำตามกฎหมาย | ทำตามกฎหมาย |
ความปลอดภยของข้อมูลส่วนตัว | ไม่ทำตามกฎหมาย | ทำตามกฎหมาย |
กฏหมายที่ใช้ควบคุม
[แก้]- พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 [4]
พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 บังคับใช้กับบุคคลทั่วไป ไม่ได้บังคับใช้กับธุรกิจการเงิน จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ และ ธุรกิจการเงินอื่นๆ สามารถคิดอัตตราดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ต่อปี เพราะมีประกาศจาก ธปท. และ กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) รองรับให้คิดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมได้ตามรูปแบบธุรกิจการเงินแต่ละประเภท
ประเภทผู้ให้กู้ | อัตราดอกเบี้ย | กฎหมายที่ใช้บังคับ |
---|---|---|
บุคคลทั่วไป | ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี | พระราชบัญญัติห้ามเก็บดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560[5] |
ธนาคารพาณิชย์ และ บริษัทเงินทุน | ||
ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณการเกษตร | ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2544[6] |
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน | ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550[7] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เงินกู้นอกระบบคืออะไร น่าเชื่อถือไหมและมีอันตรายอะไรหรือไม่?". tidlor. สืบค้นเมื่อ 17 February 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "ปัญหาหนี้นอกระบบกับสภาพสังคมไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
- ↑ "วิธีคิดดอกเบี้ยต่อเดือน เรื่องที่คนที่คิดจะกู้เงินไม่ควรมองข้าม". เพื่อนแท้เงินด่วน. 2023-06-28.
- ↑ "พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้พ.ศ. 2558" (PDF). oic.go.th. สายทรัพยากรบุคคลและกา กบักจิกรรมองค์กร(DB) โดยกองป้ องกันและตรวจสอบการประพฤติมิชอบ (WL-P). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-21. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.
- ↑ "พระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
- ↑ "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2544" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.
- ↑ "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-10. สืบค้นเมื่อ 2022-11-10.