เค้กหัวหอม
เค้กหัวหอมน้ำตาล | |
ประเภท | เค้กคาวหรือหวาน |
---|---|
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | จีน เยอรมัน เกาหลี สวิซเซอร์แลนด์ เวลส์ |
ส่วนผสมหลัก | หอมใหญ่ |
ส่วนผสมที่มักใช้ | วัตถุดิบทำเค้กอื่น ๆ |
รูปแบบอื่น | เล่าปิง พาจอน แพนเค้กต้นหอม เทเซนนีโอนอด และ ซวีเบลคูเชน |
เค้กหัวหอม (อังกฤษ: Onion Cake) เป็นเค้กคาวหรือหวานที่ใช้หัวหอมใหญ่เป็นวัตถุดิบหลัก มีเค้กหัวหอมหลายชนิดที่รับประทานในจีน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เวลส์และประเทศอื่น ๆ เค้กหัวหอมมีหลายรูปแบบและประเภทได้แก่ เล่าปิง พาจอน แพนเค้กต้นหอม เทเซนนีโอนอด และ ซวีเบลคูเชน
ภาพรวม
[แก้]เค้กหัวหอมใช้หอมใหญ่เป็นวัตถุดิบหลักรวมกับวัตถุดิบทำเค้กอื่น ๆ[1][2][3]การใช้หอมใหญ่ต้มช่วยลดความแรงของกลิ่นหอมในเค้กหัวหอม[3] มันฝรั่งและเบค่อนบางครั้งก็ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในเค้กหัวหอม[4][5][6][7] วัตถุดิบเพิ่มเติมได้แก่ คอทเทจชีส[7] และครีมเปรี้ยว[8]เค้กช็อกโกแลตบางครั้งอาจมีส่วนประกอบของหอมใหญ่[1] เค้กหัวหอมหลายชนิดถูกทำขึ้นในจีน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ เวลส์และประเทศอื่น ๆ[3][5][9][10][11]
ในอาหารจีน เค้กหัวหอมอาจทำมาจากต้นหอม[12] เค้กหัวหอมแบบพื้นฐานทำมาจากแป้ง มันหมู ต้นหอมและเกลือ[12]
รูปแบบ
[แก้]เลาปิง (Laobing)
[แก้]เล่าปิง เป็นแพนเค้กแบบแบนที่ไม่ได้ไส่เชื้อให้ฟูโดยมีส่วนประกอบหลัก 3 อย่างคือแป้ง น้ำ และเกลือ[13][14][15] บางครั้งใส่ต้นหอมลงไปด้วยและบางครั้งก็เสริฟแยกกัน[16]
พาจ็อน
[แก้]พาจ็อน เป็นช็อน (แพนเค้ก) ของคาวในอาหารเกาหลี ทำมาจากแป้ง ไข่ และต้นหอมหรือต้นกระเทียม[17][18] บางครั้งใช้แป้งข้าวเจ้าและเพิ่มใส่อาหารทะเล[19] หมู และเนื้อ ทงแนพาจ็อนทำมาจากต้นหอมและอาหารทะเล[20]
-
แฮมุลพาจ็อน เป็นอีกรูปแบบของพาจ็อนในอาหารเกาหลี ทำจากแป้ง ต้นหอมและอาหารทะเล
แพนเค้กต้นหอม
[แก้]แพนเค้กต้นหอมเป็นแพนเค้กแบบจีนหรือขนมปังแบบแบนที่ไม่ได้ปล่อยให้ฟูโดยใช้ต้นหอมเขียวเป็นวัตถุดิบหลัก[21] โดยมากทำมาจากแป้งโดว แม้ว่าบางครั้งจะทำมาจากส่วนผสมแป้งแบบเหลว (batter)[21] แพนเค้กต้นหอมเป็นอาหารแบบดั้งเดิมในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนและเป็นอาหารแพร่หลายทั่วประเทศ[21] ในประเทศจีน ต้นหอมสดมันถูกใช้เป็นส่วนประกอบ[21] ต้นหอมอาจทอดก่อนผสมกับแป้งโดว[21]
เทเซน นีโอนอด (Teisen nionod)
[แก้]เทเซน นีโอนอด เป็นเค้กหัวหอมจากเวลส์ประกอบได้ด้วยหอมใหญ่ มันฝรั่ง แป้ง เนื้อ ซุปเนื้อ เกลือและพริกไทย[10][22]
ซวีเบลคูเชน (Zwiebelkuchen)
[แก้]ซวีเบลคูเชน เป็นเค้กหัวหอมของเยอรมณีหรือขนมอบ ทำมาจากหัวหอมนึ่ง เบคอน ครีม เม็ดคาราเวย์บนแป้งโดวที่ปล่อยให้ฟู[23][24]
-
ซวีเบลคูเชน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Griffith, L.; Griffith, F. (2002). Onions, Onions, Onions: Delicious Recipes for the World's Favorite Secret Ingredient. Houghton Mifflin Harcourt. pp. 122–123. ISBN 978-0-547-34638-0.
- ↑ Baking Industry. Clissold Publishing Company. 1922. p. 486.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Rainey, S.; Wilson, B. (2015). How to Jug a Hare: The Telegraph Book of the Kitchen. Aurum Press. p. 272. ISBN 978-1-78131-466-1.
- ↑ Hollywood, P. (2014). Paul Hollywood's British Baking. Bloomsbury Publishing. p. 352. ISBN 978-1-4088-4649-0.
- ↑ 5.0 5.1 MacGregor, Cynthia (2014). Everybody Loves Bacon. Familius. p. pt61. ISBN 978-1-939629-44-9.
- ↑ Hood, K.J.M. (2015). Onion Delights Cookbook: A Collection of Onion Recipes. Cookbook Delights Series. Whispering Pine Press International, Incorporated. ISBN 978-1-59210-426-0.
- ↑ 7.0 7.1 Beck, K.; Clark, J. (2009). The All-American Cowboy Cookbook: Over 300 Recipes From the World's Greatest Cowboys. Thomas Nelson. pp. 255–256. ISBN 978-1-4185-7473-4.
- ↑ Prudhomme, P. (2012). Chef Paul Prudhomme's Seasoned America. HarperCollins. p. 2. ISBN 978-0-06-204688-8.
- ↑ "Swiss review of world affairs". Volumes 21–24. 1971.
Normally about 40 tons of onions are sold on this single day, usually in attractively designed strings, wreaths and other more exotic shapes. There is also onion cake, onion soup and dancing in the streets. This year Bern's Onion Festival takes ...
- ↑ 10.0 10.1 Freeman, B. (1996). First Catch Your Peacock: Her Classic Guide to Welsh Food. Y Lolfa. p. 161. ISBN 978-0-86243-315-4.
- ↑ Hanover Cook Book. Cooking in America Series. Applewood Books. 2008. p. 228. ISBN 978-1-4290-1110-5.
- ↑ 12.0 12.1 Chinese Cookery Secrets. The Kegan Paul library of culinary history and cookery. Taylor & Francis. 2014. p. 135. ISBN 978-1-317-84620-8.
- ↑ Qarooni, J. (2012). Flat Bread Technology. Springer US. p. 86. ISBN 978-1-4613-1175-1.
- ↑ Ang, A. (2012). To the People, Food Is Heaven: Stories of Food and Life in a Changing China. Lyons Press. p. 116. ISBN 978-0-7627-9040-1.
- ↑ Mooney, E.W. (2008). Beijing. Not just a good food guide. Marshall Cavendish Editions. p. 52. ISBN 978-981-232-997-4.
- ↑ DeFrancis, J. (1993). In the Footsteps of Genghis Khan. Kolowalu book. University of Hawaii Press. p. 100. ISBN 978-0-8248-1493-9.
- ↑ Stone, M. (2014). Traditions of South Korean Cooking: Learning the Basic Techniques and Recipes of the South Korean Cuisine. Martha Stone. p. pt76.
- ↑ Lim, B.H.; Lim, Byung-Hi (2014). Kimchi: Essential recipes of the Korean Kitchen. EBL-Schweitzer. Pavilion Books. p. 148. ISBN 978-1-910496-24-4.
- ↑ Robinson, M.; Zahorchak, J. (2009). Seoul. City Guide Series. Lonely Planet. p. 97. ISBN 978-1-74104-774-5.
- ↑ DuBois, J. (2004). Korea. Cultures of the world. Benchmark Books/Marshall Cavendish. p. 130. ISBN 978-0-7614-1786-6.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 Lo, E.Y.F.; Cushner, S. (2012). Mastering the Art of Chinese Cooking. Chronicle Books LLC. p. 171. ISBN 978-0-8118-7870-8.
- ↑ Spencer, C. (2002). British Food: An Extraordinary Thousand Years of History. Arts and Traditions of the Table: Perspectives on Culinary History Series. Columbia University Press. p. 205. ISBN 978-0-231-13110-0.
- ↑ Shockey, K.K.; Shockey, C. (2014). Fermented Vegetables: Creative Recipes for Fermenting 64 Vegetables & Herbs in Krauts, Kimchis, Brined Pickles, Chutneys, Relishes & Pastes. Storey Publishing, LLC. p. 344. ISBN 978-1-61212-426-1.
- ↑ Buse, D.K. (2005). The Regions of Germany: A Reference Guide to History and Culture. Greenwood Press. p. 15. ISBN 978-0-313-32400-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- German Onion Cake เก็บถาวร 2018-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Epicurious