ข้ามไปเนื้อหา

เคอเรียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ไอบีเอ็ม) เคอเรียร์
ชนิดความกว้างคงที่
รูปแบบย่อยเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ออกแบบโดยHoward "Bud" Kettler
กรรมาธิการไอบีเอ็ม
ฟาวดรีไอบีเอ็ม
วันที่สร้าง1956 (circa)
วันที่เผยแพร่1995
สัญญาอนุญาตFree license
รูปแบบต่างๆ ของเคอเรียร์
Sample

เคอเรียร์ (Courier) เป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบความกว้างคงที่ เคอเรียร์ถูกสร้างขึ้นโดยไอบีเอ็มในช่วงกลางทศวรรษ 1950 และได้รับการออกแบบโดย Howard "Bud" Kettler (1919–1999)[1][2] ชื่อและแนวคิดของไทป์เฟซเคอเรียร์เป็นสาธารณสมบัติ เคอเรียร์ได้รับการดัดแปลงเพื่อใช้เป็นไทป์เฟซคอมพิวเตอร์ และมีการติดตั้งเวอร์ชันต่างๆ บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปส่วนใหญ่

ประวัติศาสตร์[แก้]

ไอบีเอ็มไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าชื่อเคอเรียร์ ฉะนั้นแนวคิดการออกแบบ ไทป์เฟซและชื่อจึงกลายเป็นสาธารณสมบัติ[3]

การใช้งาน[แก้]

มักใช้เคอเรียร์ในงานศิลปะแอสกี เนื่องจากเป็นฟอนต์แบบความกว้างคงที่ และสามารถหาใช้ได้ในเกือบทุกที่ ศิลปะแอสกี "แบบทึบ" ใช้ความมืด/ความสว่างของตัวอักษรแต่ละตัวในการวาด ซึ่งสามารถวัดปริมาณเป็นพิกเซล (ในที่นี้ในขนาด 12 จุด):

a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z
21 25 18 25 24 19 28 24 14 15 25 16 30 21 20 27 27 18 21 17 19 17 25 20 21 21
A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z
25 29 21 26 29 25 27 31 18 19 28 20 36 24 20 25 28 30 28 24 27 22 30 26 23 24
` 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 - = ~ ! @ # $ % ^ & * ( ) _ +
2 16 19 20 23 23 23 16 26 23 24 6 12 9 9 36 30 26 20 7 24 21 13 13 9 13
[ ] \ ; ' , . / { } | : " < > ?
17 17 8 11 4 7 4 8 16 16 13 8 8 9 9 13

ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์[แก้]

เนื่องจากเคอเรียร์เป็นฟอนต์ความกว้างคงที่ที่รู้จักันโดยทั่วไป จึงมักใช้แสดงรหัสต้นทาง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Troop, Bill. "Designer of Courier: the Bud Kettler Page". Graphos. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  2. "Courier designer dies, aged 80". Microsoft Typography (archived). Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2004. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  3. Bigelow, Charles (1986). "Notes on Typeface Protection" (PDF). TUGboat. 7 (3): 146–151. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018. IBM neglected to trademark the typeface names like Courier and Prestige, so once the patents had lapsed, the names gradually fell into the public domain without IBM doing anything about it (at the time, and for a dozen years or so, IBM was distracted by a major U.S. anti-trust suit). Most students of the type protection field believe that those names are probably unprotectable by now, though IBM could still presumably make a try for it if sufficiently motivated.
  4. "Top 10 Programming Fonts". Hivelogic.com. 2009-05-17. สืบค้นเมื่อ 2017-01-20.

บรรณานุกรม[แก้]