เคออสไอแลนด์: เดอะ ลอสต์ เวิล์ด
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เคออสไอแลนด์: เดอะ ลอสต์ เวิล์ด | |
---|---|
ผู้พัฒนา | ดรีมเวิกส์อินเตอร์แอกทีฟ |
ผู้จัดจำหน่าย | ดรีมเวิกส์อินเตอร์แอกทีฟ |
อำนวยการผลิต | เดนิส ฟุลตัน |
ออกแบบ | โนอาห์ ฟอลสไตน์ |
โปรแกรมเมอร์ | สตีเวน เฮิร์นดอน |
ศิลปิน | นิโคลัส ดีโซมอฟ |
เขียนบท | แดนนี ฮาร์ติแกน ทิม เวด |
แต่งเพลง | ไมเคิล จีอาคีโน |
ชุด | จูราสสิค พาร์ค |
เครื่องเล่น | ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ |
วางจำหน่าย |
|
แนว | วางแผนเวลาจริง |
รูปแบบ |
เคออสไอแลนด์: เดอะ ลอสต์ เวิล์ด (อังกฤษ: Chaos Island: The Lost World) หรือที่รู้จักในชื่อ เคออสไอแลนด์ (อังกฤษ: Chaos Island) และ เคออสไอแลนด์: เดอะ ลอสต์ เวิล์ด: จูราสสิค พาร์ค (อังกฤษ: Chaos Island: The Lost World: Jurassic Park) เป็นวิดีโอเกมวางแผนเวลาจริงสำหรับพีซี ซึ่งพัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทดรีมเวิกส์อินเตอร์แอกทีฟ และอิงจากภาพยนตร์ ค.ศ. 1997 เรื่องเดอะ ลอสต์ เวิล์ด จูราสสิค พาร์ค[1] ซึ่งเกมเคออสไอแลนด์ได้รับการวางจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1997[2] โดยในเกมเคออสไอแลนด์ ผู้เล่นจะควบคุมตัวละครที่แสดงบนแผนที่, กำกับทิศทางที่พวกเขาเคลื่อนที่ด้วยเมาส์ และสั่งการด้วยเมาส์หรือจากเมนู
โครงเรื่อง
[แก้]เกมนี้มีตัวละครหกตัวจากภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยแต่ละตัวให้เสียงโดยนักแสดงที่รับบทในภาพยนตร์ ได้แก่ ดร.เอียน มัลคอล์ม (เจฟฟ์ โกลด์บลุม), ดร.ซาราห์ ฮาร์ดิง (จูเลียน มัวร์), นิก แวน โอเวน (วินซ์ วอห์น), เอ็ดดี คาร์ (ริชาร์ด ชิฟ), เคลลี เคอร์ติส (วาเนสซา ลี เชสเตอร์) และจอห์น แฮมมอนด์ (ริชาร์ด แอตเทนโบโร)[3] โดยช่วงต้นเกม มัลคอล์ม, แวน โอเวน และคาร์ อยู่ที่อิสลา นูบลาร์ (เกาะที่จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ปรากฏขึ้น) ซึ่งพวกเขาได้นัดพบกับฮาร์ดิง และรับซีรัมดีเอ็นเอที่ใช้ควบคุมไดโนเสาร์ที่พวกมันฟักออกมา จากนั้นเรือบรรทุกสินค้าก็พาพวกเขาไปที่อิสลา ซอร์นา (ที่ซึ่งเดอะ ลอสต์ เวิล์ด จูราสสิค พาร์ค ปรากฏขึ้น) และพังครืนที่นั่นท่ามกลางพายุลูกหนึ่ง
ภารกิจในอนาคตส่วนใหญ่จะใช้ในการต่อสู้กับนักล่า[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งอยู่บนเกาะเพื่อจับไดโนเสาร์และพาพวกมันไปที่สวนสนุก[4] เหล่านักล่าเป็นศัตรูกับตัวละครที่เล่นได้ และจะโจมตีพวกเขาด้วยการเดินเท้า, โดยใช้รถจี๊ป และรถถังในเลเวลต่อมา ในภารกิจหนึ่ง ตัวละครจะต้องปลดปล่อยลูกที. เรกซ์ และไดโนเสาร์ที่ถูกจับตัวอื่น ๆ ออกจากค่ายของเหล่านักล่า จากนั้นในภารกิจต่อไป ก็นำมันกลับไปที่รังของมัน และปลดปล่อยแม่ของมันที่ถูกจับโดยนักล่า
ต่อมาในเกม เหล่านักล่าจะระเบิดเครื่องส่งการสื่อสารของเหล่าตัวละครที่เล่นได้ เหล่าตัวละครไปที่อินเจนคอมมูนิเคชันส์เซ็นเตอร์ (เช่นเดียวกับในภาพยนตร์) เพื่อติดต่อความช่วยเหลือ ในด่านสุดท้ายของเกม ตัวละครทั้งหมดจะต้องเดินทางไปยังลานจอดเฮลิคอปเตอร์เพื่อช่วยชีวิต หากภารกิจเหล่านี้เสร็จสิ้น ภารกิจโบนัสจะเปิดขึ้นโดยที่ผู้เล่นสามารถเล่นเป็นแม่ของที. เรกซ์ ในแซนดีเอโกระหว่างทางไปยังเรือบรรทุกสินค้าที่มีลูกของมันอยู่ และต่อสู้กับเหล่านักล่าระหว่างทาง
รูปแบบการเล่น
[แก้]เฉพาะมัลคอล์ม, แวน โอเวน, คาร์ และ "ผู้ช่วยวิจัย" เท่านั้นที่มีให้ตั้งแต่เริ่ม ส่วนฮาร์ดิง และเคอร์ติส สามารถเล่นในเกมได้ในไม่ช้า ผู้เล่นสามารถมีผู้ช่วยวิจัยได้มากกว่าหนึ่งคน ตัวละครแต่ละตัวมีระดับความเร็ว, สายตา (ใช้สำหรับเปิดเผยหมอกสงคราม) และจำนวนเสบียงที่บรรทุกได้ในคราวเดียว[ต้องการอ้างอิง] ตัวละครแต่ละตัวสามารถพกปืนที่สามารถใช้ปะทะกับไดโนเสาร์และนักล่า[4] ตัวละครแต่ละตัวมีค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งแต้มเมื่อเลือกใช้ในด่านหนึ่ง โดยมีแต้มจำนวนจำกัดที่สามารถใช้ได้ก่อนด่านเริ่มต้น แต่เมื่อรวบรวมเสบียง สามารถใช้แต้มเพื่อนำตัวละครเข้ามาระหว่างด่าน ส่วนแฮมมอนด์ปรากฏในฉากคัตซีนระหว่างด่าน
เกมดังกล่าวประกอบด้วยระดับความยากสามระดับและ 12 ภารกิจ[3] ยกเว้นระดับง่าย ซึ่งสองภารกิจสุดท้ายจะถูกยกเลิก[ต้องการอ้างอิง] ในแต่ละภารกิจ ผู้เล่นจะต้องสร้างค่ายฐาน ซึ่งสามารถใช้สำหรับรวบรวมเสบียงและไข่ไดโนเสาร์[1] ตัวละครใด ๆ สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้าง พวกเขาสามารถรวบรวมเสบียงที่สามารถพบได้บนแผนที่ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่สามารถสร้างได้ ได้แก่ ที่กำบังสำหรับรักษาตัวละคร (ที่พักพิง และที่กำบังมั่นคงซึ่งรักษาได้เร็วกว่า) รังสำหรับฟักไข่ไดโนเสาร์ที่เป็นมิตร (รังประดิษฐ์ และตู้ฟักไข่ที่ฟักไข่ได้เร็วกว่า) ที่ซ่อนสูงซึ่งปกป้องเหล่าตัวละคร[ต้องการอ้างอิง] และอาคารที่สามารถใช้แต้มเพื่ออัปเกรดความเร็ว, ความสามารถในการมองเห็น และการป้องกันของตัวละคร[1]
เนื้อเรื่องของเกมยังต้องการให้ตัวละครขยายพันธุ์และฝึกทีมไดโนเสาร์ต่อสู้ที่สามารถใช้ปะทะกับศัตรูได้[1][5][6] มีไดโนเสาร์แปดสายพันธุ์จากภาพยนตร์ ประกอบด้วย พาราซอโรโลฟัส, คอมป์ซอกนาทัส, แพคิเซอฟาโลซอรัส, ไดโลโฟซอรัส, สเตโกซอรัส, วิลอซิแรปเตอร์, ไทรเซราทอปส์ และไทแรนโนซอรัส เกมนี้เริ่มต้นด้วยเพียงสองสายพันธุ์แรก โดยมีไดโนเสาร์ที่แข็งแกร่งกว่าปรากฏในภารกิจต่อมา ไดโนเสาร์ป่าทั้งหมด (ซึ่งสวมปลอกคอสีขาว) มักเป็นศัตรูกับทั้งเหล่าตัวละครและเหล่านักล่า อย่างไรก็ตาม เกมดังกล่าวมีรังไดโนเสาร์พร้อมไข่ ซึ่งบรรดาตัวละครสามารถรวบรวมและฟักออกมาได้ โดยให้กำเนิดไดโนเสาร์สวมปลอกคอสีน้ำเงินซึ่งผู้เล่นสามารถควบคุมได้
ไดโนเสาร์ที่กินพืชเป็นอาหารสามารถเติมเต็มสุขภาพของพวกมันได้โดยการกินพืช ในขณะที่ไดโนเสาร์กินเนื้อทำได้โดยการกินนักล่าหรือไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในสามภารกิจสุดท้าย นักล่าจะสามารถฟักไข่ไดโนเสาร์ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสวมปลอกคอสีแดงและเป็นปฏิปักษ์กับผู้เล่น นอกจากนี้ มีบางสถานการณ์ที่ไดโนเสาร์ป่าสามารถล่อหรือเป็นเหยื่อล่อให้นักล่าต่อสู้ได้ เนื่องจากพวกมันมักจะโจมตีตัวละครที่อยู่ใกล้เคียงทั้งสองด้าน โดยบางครั้งนักล่าก็ยั่วยุพวกมันด้วย
การพัฒนา
[แก้]โนอาห์ ฟอลสไตน์ เป็นหัวหน้านักออกแบบของเคออสไอแลนด์ ซึ่งฟอลสไตน์ถือว่าเคออสไอแลนด์เป็นแนวคิดที่ท้าทาย โดยเป็นเกมวางแผนแบบเรียลไทม์ที่มุ่งเป้าไปที่เด็กอายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปี[7] เคออสไอแลนด์ได้รับการเปิดตัวที่งานอิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป (E3) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997[8]
เมื่อการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่น ทีมพัฒนาเลือกที่จะเริ่มเพิ่มด่านสุดท้ายพิเศษให้แก่เกมนี้เพียงไม่กี่เดือนก่อนการเปิดตัว ฟอลสไตน์ตั้งข้อสังเกตว่าเกมนี้ค่อนข้างไม่ค่อยมีใครรู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากมีการสั่งซื้อล่วงหน้า 200,000 ชุดของเกม – ซึ่งมีไว้สำหรับการจำหน่ายในทวีปยุโรป – ที่ถูกปฏิเสธโดยบริษัทดรีมเวิกส์[7] ส่วนเกมเอนจินที่ใช้สำหรับเคออสไอแลนด์ได้รับการอัปเดตและนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับสมอลโซลเจอร์สควอดคอมมานเดอร์ ซึ่งเป็นเกมวางแผนแบบเรียลไทม์ที่ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1998[9]
การตอบรับ
[แก้]ซินดี แยนส์ จากคอมพิวเตอร์เกมส์แมกกาซีนให้คะแนนเกมนี้ที่สามดาวจากห้าดาว และเขียนว่าเกมดังกล่าว "มีรูปลักษณ์และความรู้สึกของคอมมานด์ & คองเคอร์ ดั้งเดิม" แม้ว่าเธอจะสังเกตเห็นว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่สมบูรณ์แบบ แยนส์เขียนว่าผู้เล่นที่มีประสบการณ์ด้านวางแผนเวลาจริงแบบจำกัดจะเพลิดเพลินไปกับภารกิจมินิของเกม แยนส์ตั้งข้อสังเกตว่านักแสดงของภาพยนตร์เรื่องนี้ให้เสียงของพวกเขา "ในจำนวนไบต์เสียงที่ซ้ำซากจำเจระหว่างการเล่นภารกิจในจำนวนจำกัด... ซึ่งมีอารมณ์ขันอยู่บ้าง [...] อย่างไรก็ตาม ในการบรรยายสรุประหว่างภารกิจ การปรากฏตัวของนักแสดงนั้นยอมรับง่ายกว่ามาก และเป็นเรื่องที่ดีที่ได้ยินเจฟฟ์ โกลด์บลุม สอนเราเกี่ยวกับภารกิจที่จะเกิดขึ้น"[3]
เดวิด ลาพราด จากเว็บไซต์อะดรีนาลีนวอลต์ให้เกมนี้ได้สองดาวจากห้าดาว และรู้สึกประหลาดใจที่นักแสดงในภาพยนตร์บางคน "เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์คุณภาพต่ำเช่นนี้" โดยเขียนว่านักแสดงโดยทั่วไปมี "สายงานน้อยมาก ซึ่งใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพน้อยลงไปอีก ดังนั้น นักพากย์จึงไม่เพิ่มอะไรให้แก่ผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการกล่าวแจ้งภายนอกกล่องที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขาย" ลาพราดกล่าวว่าเกมดังกล่าวมีรูปลักษณ์ที่ล้าสมัยเมื่อเทียบกับเกมอื่น ๆ ที่วางจำหน่ายในขณะนั้น และติเตียนตัวละครบางตัวที่มีภาพเคลื่อนไหวขนาดเล็กมากว่า "เป็นไปไม่ได้ที่จะระบุได้ชัดเจนว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งระหว่างการเล่นเกม" ลาพราดติเตียนเลเวลเริ่มต้นของเกมว่า "ไม่มีอะไรมากไปกว่าการฝึกภารกิจที่แนะนำผู้เล่นให้รู้จักองค์ประกอบพื้นฐานของการเล่นเกม" และเขียนว่า "ด้านนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เกมน่าเล่น" ลาพราดยังติเตียนภารกิจที่ดูเหมือน "ไร้จุดหมาย" และการขาดโหมดผู้เล่นหลายคน และเขียนว่า "ความข้องใจหลักของผมคือเกมนี้น่าเบื่อ"[1]
ลาพราดเขียนว่าเกมนี้ "ทำผิดพลาดร้ายแรง [...] โดยไม่ให้คีย์ลัดสำหรับการกำหนดหน่วยหรือกลุ่มของหน่วยและเรียกพวกเขาขึ้นมาทันที ไม่มีเกมวางแผนเวลาจริงที่น่านับถือที่ทำผิดพลาดแบบนี้" ลาพราดยังติเตียนเกมดังกล่าวสำหรับ "บั๊กที่น่าผิดหวังอย่างหนึ่งที่สามารถทำลายความคืบหน้าของผู้เล่นในภารกิจได้" ซึ่งสมาชิกในทีมที่ไม่อยู่ในจุดเซฟมักจะถูกแยกออกจากเลเวลเมื่อโหลดใหม่ รวมถึงติเตียนเอฟเฟกต์เสียงที่ "เชย" ของเกมว่า "ไม่ซิงค์กันอย่างผิดคาดหมาย" และกล่าว่า "ไม่ค่อยสื่อถึงเหตุการณ์ที่พวกเขาตั้งใจจะแสดงให้เห็น" ตลอดจนติเตียนดนตรีออร์เคสตราของเกมนี้ แม้ว่าลาพราดจะชื่นชมการควบคุมของเกมและตัวละครที่ตอบสนองได้ดี แต่เขาสรุปว่า "เคออสไอแลนด์เป็นวิดีโอเกมวางแผนเวลาจริงซ่อมเสริม ซึ่งมีความลุ่มลึกเพียงเล็กน้อยในรูปแบบการเล่นที่ไม่ต้องการมากและเรียบง่าย"[1]
อย่างไรก็ตาม นิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลีให้คะแนน "A−" และระบุว่าไม่สับสนเหมือนเกมวางแผนอื่น ๆ[10] ส่วนทาห์ซิน แชมมา จากนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ชื่นชมกราฟิกและรูปแบบการเล่นแบบเรียลไทม์ และระบุว่าแม้ว่าเกมนี้จะ "ไม่ซับซ้อน" เหมือนเกมเรียลไทม์ตามภารกิจอื่น ๆ แต่ "เกมนี้สนุกมากสำหรับผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์เรื่องนี้"[11] และริชาร์ด มัวร์ เขียนให้แก่ดิเอจ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของออสเครเลีย โดยระบุถึงเคออสไอแลนด์ว่า "เป็นเกมที่ดี" สำหรับเด็ก และระบุว่า "กราฟิกไม่ดีมาก แต่ก็สนุก และต้องใช้สมอง" ซึ่งในระดับห้าดาว มัวร์ได้ให้คะแนนกราฟิกและเสียงของเกมนี้ที่สองดาว ขณะที่ให้ความสามารถในการเล่นที่สามดาว[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Laprad, David (November 11, 1997). "Chaos Island". The Adrenaline Vault. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2000.
- ↑ "Copyright information for Chaos Island". สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐ. 1997. สืบค้นเมื่อ September 5, 2015.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Yans, Cindy (January 29, 1998). "Command & Conquer Lite, you know...for kids". Computer Games Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2003.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Moore, Richard (May 21, 1998). "Chaos Island". The Age. สืบค้นเมื่อ December 20, 2016.
- ↑ Glover, Anne (December 13, 1997). "Fossils, Rocks and Dinosaurs". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ December 20, 2016.
- ↑ "DreamWorks Interactive - Chaos Island". DreamWorksGames.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 1997.
- ↑ 7.0 7.1 "Past Projects". The Inspiracy. สืบค้นเมื่อ September 25, 2016.
- ↑ "E3: a whiz-bang preview of next year's digital thrills". CNN. June 21, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2000.
- ↑ Ragals, Dave (June 11, 1998). "Lights, Camera, Interaction!". CNN. สืบค้นเมื่อ September 25, 2016.
- ↑ "New Videogames of 12/19/1997: Frogger and Ariel's Story Studio". Entertainment Weekly. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ Shamma, Tahsin (March 1998). "This Just In". Computer Gaming World. pp. 40–41. สืบค้นเมื่อ September 6, 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]