เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่ง พระมหามงกุฎโอ๊ค | |
---|---|
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ 5 ลำดับชั้น |
วันสถาปนา | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2384 |
ประเทศ | ลักเซมเบิร์ก |
ผู้สมควรได้รับ | เจ้าหน้าที่รัฐบาล รองเจ้าหน้าที่รัฐบาล สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการพลเรือน ผู้แทนเลือกตั้ง บุคคลากรราชการส่วนท้องถิ่น บุคคลสำคัญในแวดวงเศรษฐศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และกีฬา และอาสาสมัคร รวมไปถึงชาวต่างประเทศในบางกรณี |
มอบเพื่อ | เชิดชูเกียรติพลเมืองชาวลักเซมเบิร์กผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างโดนเด่นในกิจการพลเรือนและกิจการทหาร เช่นเดียวกับศิลปินพิเศษผู้รังสรรค์ผลงานได้อย่างโดนเด่น |
สถานะ | ยังพระราชทานอยู่ |
ผู้สถาปนา | แกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก |
ประธาน | แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | เครื่องราชอิสริยาภรณ์อดอล์ฟแห่งนัสเซา |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณแแห่งแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏโอ๊ก (ลักเซมเบิร์ก: Eechelaafkrounenuerden; ฝรั่งเศส: Ordre de la couronne de Chêne; เยอรมัน: Eichenlaubkronenorden) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของลักเซมเบิร์ก
ประวัติ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กสถาปนาโดยแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 แห่งลักเซมเบิร์ก (และพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์) ในปี พ.ศ. 2384 ซึ่งในขณะนั้นเองแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์กและราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ต่างก็อยู่ในสถานะรัฐร่วมประมุขด้วยกันทั้งคู่ หมายความว่าทั้งสองชาติมีประมุขแห่งรัฐพระองค์เดียวกัน ทั้ง ๆ ที่เป็นรัฐอธิปไตยแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้แม้ในทางกฎหมายแล้วเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จะมีสถานะเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติของลักเซมเบิร์ก แต่ทั้งแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 และแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 3 มักจะทรงใช้เครื่องราช ฯ นี้ในฐานะเครื่องราช ฯ ประจำราชวงศ์นัสเซา พระราชทานให้แก่ประชาชนชาวดัตช์อยู่บ่อยครั้ง โดยที่รัฐบาลดัตช์ไม่มีอำนาจควบคุมแต่อย่างใด
แกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 2 พระราชทานเครื่องราช ฯ นี้ให้แก่บุคคลทั่วไปจำนวนน้อยมาก เพียงไม่เกิน 30 ราย ในทางกลับกันแกรนด์ดยุกวิลเลิมที่ 3 ทรงชื่นชอบการพระราชทานเครื่องราช ฯ นี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถพระราชทานให้แก่บุคคลไดก็ได้ตามพระประสงค์ ซึ่งในวันขึ้นครองราชย์ของพระองค์เพียงวันเดียว ได้พระราชทานเครื่องราชย์ ฯ นี้ให้แก่บุคคลมากถึง 300 ราย และในปีถัดมาก็ได้ทรงสถาปนารางวัลคู่กับเครื่องราช ฯ นี้อีกนับร้อยรางวัล จึงปรากฏว่ามีผู้ถือครองเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กในราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จำนวนมาก มากเสียจนทำให้เกิดความเข้าใจเป็นวงกว้าง (ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง) ว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กเป็นเครื่องราชย์ ฯ ของเนเธอร์แลนด์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 มีการงดพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในฐานะพระราชสันตติวงศ์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา (ในขณะนั้น) ทั้งนี้เนื่องจากลักเซมเบิร์กบังคับใช้สนธิสัญญา แอร์นอยเทอร์แอร์บเฟไรน์ (เยอรมัน: Erneuter Erbverein) อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการสืบราชสมบัติลักเซมเบิร์กที่อ้างอิงตามกฏซาลลิคระหว่างราชวงศ์นัสเซาสองสาย (คือราชวงศ์นัสเซาสาย ออเรนจ์-นัสเซา และสาย นัสเซา-ไวล์บูร์ก ซึ่งปัจจุบันคือสาย ลักเซมเบิร์ก-นัสเซา) ซึ่งได้ห้ามมิให้สตรีเพศขึ้นสืบราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กจนกว่าจะปรากฏรัชทายาทที่เป็นเพศชายจากราชวงศ์นัสเซา (ทั้งสองสาย) ราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กจึงตกเป็นสิทธิ์ของพระญาติฝ่ายเยอรมันของพระราชินีนาถวิลเฮลมินา (พระปิตุลาฝ่ายพระราชมารดา) ซึ่งก็คือ ดยุกอดอล์ฟแห่งนัสเซา ผู้ขึ้นครองราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กด้วยพระชนมายุ 73 พรรษา ส่งผลให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กมีฐานะเป็นเครื่องราช ฯ ของลักเซมเบิร์กโดยสมบูรณ์ เนเธอร์แลนด์จึงสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาขึ้นมาทดแทน
นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของแกรนด์ดยุกอดอล์ฟ ทำเนียบการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊กก็เปลี่ยนไปให้แก่ประชาชนชาวลักเซมเบิร์กเท่านั้น แม้ว่าในบางโอกาสจะพระราชทานให้แก่ชาวต่างชาติบ้างก็ตาม หลัก ๆ คือเชื้อพระวงศ์ต่างชาติ และชาวต่างชาติคนสำคัญผู้มีบรรพบุรุษเป็นชาวลักเซมเบิร์ก
อนึ่ง แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กคือองค์ประธานของเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้
ลำดับชั้น
[แก้]จุดกำเนิด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งชั้น
[แก้]ปัจจุบันเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แบ่งออกเป็น 5 ลำดับชั้น ดังนี้
- ชั้นมหากางเขน (Grand-Croix) - ประดับดาราไว้บนสายสะพายบริเวณไหล่ขวา และแถบโลหะบริเวณหน้าอกซ้าย
- ชั้นมหาเจ้าพนักงาน (Grand-Officier) - ประดับดาราไว้บนสร้อยคอ และแถบโลหะบริเวณหน้าอกซ้าย
- ชั้นนายกอง (Commandeur) - ประดับดาราไว้บนสร้อยคอ
- ชั้นเจ้าพนักงาน (Officier) - ประดับดาราไว้บนริบบิ้นหน้าอก และเครื่องประดับกลีบกุหลาบบนหน้าอกซ้าย
- ชั้นอัศวิน (Chevalier) - ประดับดาราไว้บนริบบิ้นหน้าอกบริเวณหน้าอกซ้าย
บวกรวมกับเหรียญเชิดชูเกียรติทองเคลือบ เงิน และทองแดง โดยจะสวมใส่ไว้บนริบบิ้นบริเวณหน้าอกซ้าย
แพรแถบย่อ | ||||
---|---|---|---|---|
ชั้นมหากางเขน |
ชั้นมหาเจ้าพนักงาน |
ชั้นนายกอง |
ชั้นเจ้าพนักงาน |
ชั้นอัศวิน |
เหรียญทองเคลือบ (อดีตใช้ทองคำ) |
เหรียญเงิน |
เหรียญทองแดง |
- |
เครื่องหมาย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |