ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องจักรไอน้ำแบบคาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพเครื่องจักรไอน้ำแบบวัตต์ แสดงการเข้าของไอน้ำและน้ำ

เครื่องจักรไอน้ำแบบคาน (อังกฤษ: beam engine) เป็นเครื่องจักรไอน้ำประเภทหนึ่งที่ใช้คานโยกเพื่อแปลงการเคลื่อนที่แบบเส้นตรงของลูกสูบไปเป็นการหมุนของเพลา การออกแบบลักษณะนี้ที่เครื่องจักรไอน้ำขับปั๊มน้ำโดยตรง ถูกนำมาใช้โดยโทมัส นิวโคเมน เป็นคนแรกราวปี ค.ศ. 1705 เพื่อสูบน้ำออกจากเหมืองแร่ในคอร์นวอลล์ ประสิทธิภาพของเครื่องจักรไอน้ำได้รับการปรับปรุงโดยวิศวกรหลายคน รวมถึง: เจมส์ วัตต์ เพิ่มคอนเดนเซอร์แยกต่างหาก, โจนาธาน ฮอร์นโบลเวอร์ และอาเทอร์ วูล์ฟ เพิ่มจำนวนกระบอกสูบ และวิลเลียม แมกนอท คิดค้นวิธีการเพิ่มจำนวนกระบอกสูบให้กับเครื่องจักรที่มีอยู่แล้ว ในช่วงแรก เครื่องจักรไอน้ำแบบคานถูกนำไปใช้สูบน้ำออกจากเหมืองแร่หรือสูบน้ำเข้าคลอง แต่ยังสามารถใช้สูบน้ำเพื่อเสริมการไหลของน้ำสำหรับการหมุนของกังหันน้ำที่ใช้ขับเคลื่อนโรงสีได้อีกด้วย

คานเหล็กหล่อของเครื่องจักรไอน้ำ Boulton & Watt ปี 1812 ที่สถานีสูบน้ำครอฟตัน ถือเป็นตัวอย่างเครื่องจักรไอน้ำที่ยังคงใช้งานได้ที่อยู่ในสถานที่ตั้งเดิมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ด้านหลังพิพิธภัณฑ์เดอครูกิอัส ใกล้กรุงอัมสเตอร์ดัม เป็นสถานีสูบน้ำเก่าแก่ที่เคยใช้สูบน้ำออกจากทะเลสาบฮาร์เลมเมอร์เมร์ จุดเด่นของสถานที่นี้คือ คานของเครื่องจักรไอน้ำขนาดใหญ่ และระดับน้ำที่ลดลง 9 เมตรจากแม่น้ำสปาร์น เครื่องจักรไอน้ำแบบคานที่นี่ถือเป็นเครื่องจักรไอน้ำแบบคานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา และยังคงใช้งานได้จนถึงปี 1933
ซากเครื่องจักรแบบคานพลังน้ำทีวานล็อคเฮด

เครื่องจักรไอน้ำแบบคานหมุน (rotative beam engine) เป็นการออกแบบเครื่องจักรไอน้ำแบบคานรุ่นต่อมา ที่ก้านสูบจะขับล้อตุนกำลังผ่านข้อเหวี่ยง (หรือในอดีตอาจจะใช้เฟืองโคจร) เครื่องจักรไอน้ำแบบคานชนิดนี้สามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนเพลาสายพาน (line-shafting) ในโรงสีได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ขับเคลื่อนเรือกลไฟได้อีกด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]