เครือข่ายซ้อนทับ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เครือข่ายซ้อนทับ (อังกฤษ: overlay network) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างให้อยู่ชั้นบนถัดจากเครือข่ายอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น อยู่ชั้นบนของเครือข่ายระดับเดียวกัน (peer-to-peer network) โหนดต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครือข่ายซ้อนทับสามารถถูกเชื่อมต่อกันได้ในลักษณะที่เรียกว่า เสมือนจริง หรือ virtual หรือ logical links ซึ่งแต่ละลิงก์ อาจจะเชื่อมโยงกันผ่านกับโหนดอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ห่างไกลในระยะทางของเครือข่ายจริง หรือ underlying network ตัวอย่างเช่น ในระบบเครือข่ายแบบกระจาย (distributed systems) เช่น cloud computing เครือข่ายระดับเดียวกัน ระบบ client-server applications ต่างทำงานบนพื้นฐานของเครือข่ายซ้อนทับ เพราะโหนดเหล่านี้ต้องปฏิบ้ติการอยู่ชั้นบนระดับอินเทอร์เน็ต ถูกสร้างขึ้นให้ซ้อนทับอยู่ชั้นบนของเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบโทรศัพท์[1]
การใช้งานในเครือข่ายซ้อนทับ
[แก้]ในระบบการสื่อสารแบบโทรคมนาคม
[แก้]เครือข่ายซ้อนทับได้รับการใช้งานในด้านโทรคมนาคม เพราะระบบสามารถปฏิบัติการในรูปแบบอุปกรณ์ดิจิทัล circuit switching และเส้นใยนำแสง[2] Telecommunication transport networks และ IP networks (ที่ควบรวมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง) ทั้งหมดจะตั้งอยู่ด้านบนอย่างน้อย บน optical layer, transport layer และ IP หรือ circuit layers (ในกรณีของ PSTN)
การทำงานที่อยู่ชั้นบนของอินเทอร์เน็ต
[แก้]ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตได้ปฏิบ้ติการบนพื้นฐานของหลากหลายเครือข่ายที่อยู่ด้านล่าง ที่สามารถถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการด้านการค้นหาเส้นทางระหว่างโหนดในเครือข่ายการจัดเส้นทางเพื่อส่งข้อความไปยังโหนดปลายทางด้วยการกำหนดค่าที่อยู่ของโหนดด้วยเลขที่อยู่ไอพี ตัวอย่าง ในระบบ distributed hash table ได้นำวิธีการจัดเส้นทางข้อความไปยังโหนดที่มีที่อยู่ในแบบlogical address เพราะโหนดต่าง ๆ จะไม่มีวันรู้จักที่อยู่เลขที่อยู่ไอพีของโหนดปลายทางได้ล่วงหน้าก่อน
เครือข่ายซ้อนทับเป็นวิธีการหนึ่งที่ถูกนำเสนอให้เป็น วิธีการหนึ่งในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพภายในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การจัดเส้นทาง เพิ่มคุณภาพในการบริการ ทำให้มั่นใจในคุณภาพของการให้บริการด้านสื่อต่าง ๆ สื่อแบบส่งต่อเนื่องในอดีตที่ผ่านมามีการเสนอวิธีการดังกล่าวเช่น IntServ, DiffServ,และ IP multicast แต่ไม่เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะ วิธีการเหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาด้านอุปกรณ์ทั้งหมดของอุปกรณ์จัดเส้นทางที่ใช้เชื่อมโยงในเครือข่าย
อีกนัยหนึ่ง เครือข่ายซ้อนทับสามารถนำมาใช้งานได้ บน end-host ให้ปฏิบัติการด้านเกณฑ์วิธีซ้อนทับที่ปราศจากการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต บนชั้นการปฏิบัติงานของเครือข่ายซ้อนทับไม่ต้องมีศูนย์กลางควบคุมในกรณี ส่งกลุ่มข้อมูลในการจัดเส้นทางระหว่างโหนดชั้นบน และในขั้นตอนการส่งกลุ่มข้อมูลในเครือข่ายชั้นล่างสุด แต่โหนดบนชั้นทับซ้อนสามารถถูกควบคุมได้ เช่น การจัดลำดับของโหนดบนเครือข่ายระหว่างเส้นทางการส่งข้อความไปยังโหนดปลายทาง
ตัวอย่างของ Akamai Technologies เป็นผู้จัดการเครือข่ายซ้อนทับที่นำเสนอความเชื่อถือได้และการส่งข้อความที่มีประสิทธิภาพในด้านเนื้อหา (เกี่ยวกับการแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม) ส่วนในด้านงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษา ประกอบไปด้วย End System Multicast เก็บถาวร 2005-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และ Overcast สำหรับแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม; RON (Resilient Overlay Network) นำเสนอด้าน resilient routing; และ OverQoS นำเสนอในด้านคุณภาพของการรับประกันการบริการระหว่างโหนดภายในเครือข่าย
ตัวอย่างของ Virtela Technology Services[3] เป็นผู้จัดหา overlay network โดยการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างเมือง หรือ ประเทศ ที่มากกว่า 90 ประเทศเข้าด้วยกัน โดย overlay network จะตั้งอยู่ชั้นบนของระบบ ผู้จัดหารด้าน telecom ที่อยู่ต่างพื้นที่กันมากกว่า 500 บริษัท
รายชื่อเกณฑ์วิธีเครือข่ายซ้อนทับ
[แก้]เกณฑ์วิธีเครือข่ายซ้อนทับ ที่ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของ TCP/IP ประกอบไปด้วย :
- Distributed hash tables (DHTs) เช่น KAD และเกณฑ์วิธีอื่น ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานของขั้นตอนวิธี Kademlia algorithm ตัวอย่างเช่น
- JXTA
- และเกณฑ์วิธีอื่น ๆ ของpeer-to-peer protocols ประกอบไปด้วย Gnutella, Gnutella2, Freenet และ I2P ตัวอย่างเกณฑ์วิธี : Limewire, Shareaza, utorrent, เป็นต้น )
- PUCC
- Solipsis: France Télécom เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ระบบขนาดใหญ่ หรือ massively shared virtual world
เกณฑ์วิธีเครือข่ายซ้อนทับที่ปฏิบ้ติงานบนพื้นฐานของ UDP/IP ประกอบด้วย:
อ้างอิง
[แก้]- ↑ D. Andersen, H. Balakrishnan, M. Kaashoek, and R. Morris. Resilient Overlay Networks. In Proc. ACM SOSP, Oct. 2001.
- ↑ AT&T history of Network transmission
- ↑ Virtela Technology Services