ข้ามไปเนื้อหา

เขาเหมน

พิกัด: 8°17′56.6″N 99°39′46.7″E / 8.299056°N 99.662972°E / 8.299056; 99.662972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขาเหมน
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
1,307 เมตร (4,288 ฟุต)
พิกัด8°17′56.6″N 99°39′46.7″E / 8.299056°N 99.662972°E / 8.299056; 99.662972
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาเหมนตั้งอยู่ในประเทศไทย
เขาเหมน
เขาเหมน
ประเทศไทย
ที่ตั้งตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
เทือกเขาเทือกเขาตะนาวศรี

เขาเหมน เป็นเขาที่แบ่งเขตตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง กับตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช เขามีความสูง 1,307 เมตร[1] เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง และมีรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมพีระมิด ตามตำนานชาวบ้านเรียกเขาลูกนี้ว่า เขาพระสุเมรุ ตามความเชื่อแบบพราหมณ์-ฮินดู แต่ชาวใต้นิยมเรียกชื่อสั้น ๆ เป็นเขาเมรุหรือเขาเหมน[2]

ด้านธรณีวิทยา มีความสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็กและวุลแฟรม สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียว ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนปนทรายและดินลูกรังปะปนอยู่เล็กน้อยบริเวณที่เป็นไหล่เขา สันเขา เป็นดินร่วนปนทราย หมู่ก้อนหินทรายและหินแกรนิต

สภาพป่าโดยทั่วไป เป็นป่าดงดิบเขา ต้นไม้ในป่ามีลักษณะเตี้ย ชั้นเรือนยอดส่วนใหญ่ค่อนข้างอยู่ในระดับเดียวกัน ความสูงประมาณ 3–5 เมตร บริเวณกิ่งก้านและลำต้นมีมอส เฟิร์น รวมทั้งพืชอิงอาศัยหลายชนิดขึ้นอย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่เป็นพืชวงศ์ก่อ แดงเขา ทะโล้ โกงกางเขา โคลงเคลง บิโกเนีย บัวแฉกใหญ่ และพืชในตระกูล ขิงข่า มีกล้วยไม้ป่าชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์คางกบใต้[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๔ (อักษร ย-ฮ) ฉบับราชบัณฑิตยสภา. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง, ๒๕๖๑. (แก้ไขปรับปรุงข้อมูลเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๓)
  2. "จุดชมวิวเขาเหมน (เขาพระสุเมรุ)". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  3. "เขาเหมน หรือ "เขาพระสุเมรุ"". สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.