ข้ามไปเนื้อหา

เขมรกรอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขมรกรอม
ខ្មែរក្រោម (เขมร)
Khmer Nam Bộ (เวียดนาม)
งานสมรสของชาวเขมรกรอมในจังหวัดจ่าวิญ เมื่อ พ.ศ. 2553
ประชากรทั้งหมด
ป. 2.5 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศเวียดนาม1.32 ล้านคน (พ.ศ. 2562)[1]
ประเทศกัมพูชา1.2 ล้านคน (พ.ศ. 2542)[2]
สหรัฐอเมริกา30,000 คน (พ.ศ. 2542)[2]
ประเทศฝรั่งเศส3,000 คน (พ.ศ. 2542)[2]
ประเทศออสเตรเลีย1,000 คน (พ.ศ. 2542)[2]
ประเทศอื่น ๆ6,000 คน (พ.ศ. 2542)[2]
ภาษา
เขมร, เวียดนาม
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท (95%),[3]
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (5%)
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
เขมร, เขมรสูง

เขมรกรอม (เขมร: ខ្មែរក្រោម, แขฺมรกฺโรม) หรือ เขมรต่ำ[ก] คือกลุ่มชาติพันธุ์เขมรที่อาศัยอยู่แถบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม ถือเป็นชนพื้นเมืองที่มีประวัติการอยู่อาศัยยาวนานที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา[4] รัฐบาลเวียดนามได้รับรองให้ชาวเขมรกรอมเป็นหนึ่งใน 53 ชนกลุ่มน้อยในเวียดนาม

พวกเขามีเชื้อสายเดียวกันกับชาวเขมรในประเทศกัมพูชา ด้วยเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 1345[5] ชนทั้งสองจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างยิ่ง ทั้งด้านภาษา ศาสนา และประเพณีร่วมราก[6] ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงนี้เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรโบราณมายาวนานกว่า 800 ปี[7] ส่วนชื่อ เขมรกรอม แปลว่า "ต่ำ" หรือ "ด้านล่าง" ถูกเรียกเพื่อสร้างความแตกต่างออกจากชาวเขมรในประเทศกัมพูชา เพราะชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง อันเป็นดินแดนทางตอนใต้ของอาณาจักรเขมรโบราณ ก่อนถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามจากนโยบายเคลื่อนทัพลงดินแดนใต้ในยุคราชวงศ์เหงียน ตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ 18[8][9]

ชาวเขมรกรอมเข้าเป็นสมาชิกขององค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544[10] และจากรายงานของฮิวแมนไรตส์วอตช์ ได้ระบุว่า "ชาวเขมรกรอมกำลังเผชิญกับข้อจำกัดด้านเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม การสมาคม ข่าวสาร และการร่วมกันกระทำการใด ๆ"[11]

เชิงอรรถ

[แก้]
หมายเหตุ

ชาวเขมรถิ่นไทยออกเสียงว่า แคฺมรกรอม แปลว่า "เขมรต่ำหรือเขมรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำ" เรียกรวมไปถึงชาวเขมรในประเทศกัมพูชาด้วย[12][13]

อ้างอิง
  1. General Statistics Office of Vietnam (2019). "Completed Results of the 2019 Viet Nam Population and Housing Census" (PDF). Statistical Publishing House (Vietnam). ISBN 978-604-75-1532-5.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Khmer Krom Background" (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 2019-05-04.
  3. "The Culture of the Khmer-Krom". KKF | Khmers Kampuchea-Krom Federation. December 29, 2012.
  4. "Dân tộc Khơme (Khmer people)" (ภาษาเวียดนาม). Nhân Dân. October 24, 2022. สืบค้นเมื่อ October 24, 2023.
  5. Stuart-Fox, William, The Murderous Revolution: Life & Death in Pol Pot's Kampuchea, Alternative Publishing Co-Operative Limited, 1985, pp. 6.
  6. "Reconstituting the "Un-Pereson": The Khmer Krom & The Khmer Rouge Tribunal". Singapore Year Book of International Law and Contributorsb. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  7. "Memorandum By Cambodia on Her Territories in South Viet-Nam..." (PDF). caraweb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 9, 2016. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  8. "Reconceptualizing Southern Vietnamese History from the 15th to 18th Centuries Competition along the Coasts from Guangdong to Cambodia by Brian A. Zottoli". University of Michigan. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  9. "Mak Phœun: Histoire du Cambodge de la fin du XVIe au début du XVIIIe siècle - According to Cambodian oral tradition, the marriage was because a weak Cambodian king fell in love..." (PDF). Michael Vickery’s Publications. สืบค้นเมื่อ 30 June 2015.
  10. "Khmer Krom". Unrepresented Nations and Peoples Organisation. Jan 30, 2018. สืบค้นเมื่อ April 26, 2019.
  11. "Khmer Krom in Cambodia Mark Loss of Their Homeland". Radio Free Asia. June 4, 2013. สืบค้นเมื่อ September 16, 2016.
  12. บัญญัติ สาลี (18 พฤษภาคม 2564). กระบวนการให้ความหมายและการปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในอาณาบริเวณชายแดนพนมดงรัก. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์ 6:(2). p. 94.
  13. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ (2564). "องค์ความรู้ รัว รืง มืง สะเร็น เรื่อง "กะโน้ปติงต็อง"". กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2568. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)